For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ป็อนติอุส ปีลาตุส.

ป็อนติอุส ปีลาตุส

ป็อนติอุส ปีลาตุส
เอ็กเซโฮโม ("จงดูชายผู้นั้น") ภาพโดยAntonio Ciseri
เจ้าเมืองยูเดียคนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
ประมาณ ค.ศ. 26 – ค.ศ. 36
แต่งตั้งโดยจักรพรรดิติแบริอุส
ก่อนหน้าวาเลรีอุส กราตุส
ถัดไปมาร์เซลลุส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
จักรวรรดิโรมัน
เสียชีวิตไม่ทราบ, หลัง ค.ศ. 37
จักรวรรดิโรมัน
คู่สมรสไม่ทราบ[a]
ไฟล์:Biggus.jpg
นี่คือตัวอย่างของผู้ที่มารับบทปีลาตุสในภาพยนตร์ แสดงโดยไมเคิล พาลิน

ป็อนติอุส ปีลาตุส (ละติน: Pontivs Pilatvs) เป็นข้าหลวงชาวโรมันผู้ว่าการมณฑลจูดีอา (ค.ศ. ๒๖–๓๖ ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลถึงเลบานอน) ในสมัยจักรพรรดิติแบริอุส และเป็นผู้สั่งประหารพระเยซูเพราะถูกเสียงกดดันจากฝูงชนชาวยิวที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้าที่มาเรียกร้องให้ออกหมายสั่งประหารพระเยซู คริสต์ศาสนานิกายเอธิโอเปียและนิกายโบสถ์ตะวันออกนับถือปีลาตุสเป็นนักบุญ

ชื่อ​ของ​ปอนติอุส​ปีลาต​ปรากฏ​อยู่​กับ​ชื่อ​ทิเบริอุส​ใน​บันทึก​ที่​เขียน​โดย​นัก​ประวัติศาสตร์​ชาว​โรมัน​ชื่อ​ทาซิทุส​ไม่​นาน​หลัง​จาก​คัมภีร์​ไบเบิล​เขียน​เสร็จ เมื่อ​พูด​ถึง​คำ​ว่า “คริสเตียน” ทาซิทุส​เขียน​ว่า “คริสทุส ผู้​เป็น​ที่​มา​ของ​ชื่อ​คริสเตียน​นี้ ได้​รับ​โทษ​ประหาร​ชีวิต​ใน​ระหว่าง​รัชกาล​ของ​ทิเบริอุส โดย​น้ำ​มือ​ของ​ปอนติอุส ปีลาตุส เจ้าเมือง​คน​หนึ่ง​ของ​เรา”

ในปี ค.ศ. 1961 นักโบราณคดีได้ขุดค้นซากโรงละครของโรมันสมัยโบราณในซีซาเรียประเทศอิสราเอล พวกเขาพบแผ่นหินแผ่นหนึ่งซึ่งเคยใช้ในอาคารหลังอื่นมาก่อน แผ่นหินนั้นมีชื่อของปีลาตสลักไว้อย่างชัดเจนในภาษาละติน ข้อความนั้นเขียนว่า “ปอนติอุส ปีลาต ผู้สำเร็จราชการของยูเดียขออุทิศทิเบริอุม (อาคารหลังนี้) ให้เป็นเกียรติแก่พระเจ้าต่าง ๆ”

“ปีลาต​ผู้​ช่าง​สงสัย​และ​ชอบ​ถากถาง เป็น​บุคคล​ใน​ประวัติศาสตร์​ที่​ยัง​คง​อยู่​ใน​ความ​สนใจ​ของ​ผู้​คน​จวบ​จน​บัด​นี้ บาง​คน​ถือ​ว่า​เขา​เป็น​นัก​บุญ ส่วน​คน​อื่น ๆ มอง​ว่า​เขา​เป็น​ตัว​อย่าง​ของ​ความ​อ่อนแอ​ของ​มนุษย์ เป็น​ต้น​แบบ​ของ​นัก​การ​เมือง​ที่​เต็ม​ใจ​จะ​แลก​ชีวิต​ของ​ใคร​คน​หนึ่ง​กับ​ความ​มี​เสถียรภาพ​ทาง​การ​เมือง.”—ปนเตียว ปีลาต (ภาษา​อังกฤษ) โดย​แอน โร.

ทิเบริอุส จักรพรรดิ​โรมัน​แต่ง​ตั้ง​ปีลาต​เป็น​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​มณฑล​จูเดีย​ใน​ปี​สากล​ศักราช 26 คน​ที่​จะ​ได้​รับ​การ​แต่ง​ตั้ง​ใน​ตำแหน่ง​สูง​นี้​คือ​คน​ที่​เป็น​ทหาร​ม้า—ขุนนาง​ระดับ​ล่าง ซึ่ง​ต่าง​จาก​ขุนนาง​ชั้น​สูง​ที่​มี​ตำแหน่ง​ใน​สภา ดู​เหมือน​ว่า ปีลาต​เคย​เข้า​รับ​ราชการ​ทหาร​ใน​ตำแหน่ง​นาย​พัน​หรือ​หัวหน้า​ระดับ​ล่าง และ​ไต่​เต้า​ขึ้น​สู่​ตำแหน่ง​ที่​สูง​ขึ้น​ตาม​ลำดับ​ตลอด​ระยะ​เวลา​ใน​การ​ปฏิบัติ​หน้า​ที่ และ​ได้​รับ​การ​แต่ง​ตั้ง​เป็น​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​ขณะ​ที่​เขา​อายุ​ไม่​ถึง 30 ปี

เมื่อ​สวม​เครื่อง​แบบ​ทหาร ปีลาต​คง​จะ​ใส่​เสื้อ​หนัง​และ​สวม​เกราะ เมื่อ​ปรากฏ​ตัว​ใน​ที่​สาธารณะ เขา​สวม​ชุด​ยาว​สี​ขาว​ที่​มี​ชาย​เสื้อ​สี​ม่วง เขา​คง​จะ​ตัด​ผม​สั้น​และ​โกน​หนวด​เครา​เรียบร้อย แม้​บาง​คน​เชื่อ​ว่า​เขา​มา​จาก​สเปน แต่​ชื่อ​ของ​เขา​บ่ง​บอก​ว่า​มา​จาก​ตระกูล​ปอน​ติ ซึ่ง​เป็น​ชาว​แซมไนต์ ชน​ชั้น​สูง​ที่​อาศัย​อยู่​ทาง​ตอน​ใต้​ของ​อิตาลี

ตาม​ปกติ​แล้ว ตำแหน่ง​นี้​ทำ​ให้​ปีลาต​ต้อง​ถูก​ส่ง​ไป​ยัง​เขต​ที่​ห่าง​ไกล​ความ​เจริญ โรม​ถือ​ว่า​จูเดีย​เป็น​เขต​แบบ​นั้น นอก​จาก​จะ​ดู​แล​ความ​สงบ​เรียบร้อย​แล้ว ปีลาต​ต้อง​ดู​แล​การ​เก็บ​ภาษี​ทาง​อ้อม​และ​ภาษี​ราย​หัว ศาล​ของ​ชาว​ยิว​จะ​ดู​แล​การ​ตัดสิน​คดี​ทั่ว ๆ ไป แต่​ถ้า​เป็น​คดี​ที่​มี​โทษ​ถึง​ขั้น​ประหาร​ชีวิต​จะ​ต้อง​อยู่​ใน​ความ​ดู​แล​ของ​ผู้​สำเร็จ​ราชการ ซึ่ง​เป็น​ผู้​มี​อำนาจ​สูง​สุด​ใน​การ​พิพากษา

ปีลาต​และ​ภรรยา​อาศัย​อยู่​ใน​ซีซาเรีย​ซึ่ง​เป็น​เมือง​ท่า โดย​มี​เพื่อน​ฝูง, เจ้าหน้าที่​อาลักษณ์, และ​ผู้​ส่ง​สาร​อยู่​ไม่​กี่​คน ปีลาต​เป็น​ผู้​บัญชา​การ​ทหาร​ห้า​กองพัน​ที่​ประกอบ​ด้วย​ทหาร​ราบ 500 ถึง 1,000 นาย รวม​ทั้ง​ทหาร​ม้า​ซึ่ง​ดู​เหมือน​ว่า​มี​จำนวน 500 นาย ตาม​ปกติ​แล้ว ทหาร​ของ​ปีลาต​มี​หน้า​ที่​ประหาร​พวก​ที่​กระทำ​ผิด​กฎหมาย ใน​ยาม​สงบ การ​ประหาร​ชีวิต​จะ​เกิด​ขึ้น​หลัง​จาก​มี​การ​ไต่สวน​คร่าว ๆ แต่​ใน​ยาม​ที่​เกิด​การ​จลาจล ผู้​ก่อ​การ​กบฏ​จะ​ถูก​ฆ่า​ทิ้ง​ทันที​และ​เป็น​การ​สังหาร​หมู่ ตัว​อย่าง​เช่น ทหาร​โรมัน​ได้​ประหาร​ทาส​ถึง 6,000 คน​เพื่อ​จะ​ยุติ​การ​กบฏ​ที่​นำ​โดย​สปาร์ตาคุส หาก​เกิด​ความ​วุ่นวาย​ใน​จูเดีย ตาม​ปกติ​แล้ว​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​จะ​ขอ​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​ตัว​แทน​ของ​จักรพรรดิ​ซึ่ง​เป็น​ผู้​บัญชา​การ​กองทัพ​ทหาร​ขนาด​ใหญ่​ที่​ประจำ​อยู่​ใน​ซีเรีย อย่าง​ไร​ก็​ตาม ช่วง​เวลา​ส่วน​ใหญ่​ที่​ปีลาต​ปกครอง​จูเดีย ตัว​แทน​ของ​จักรพรรดิ​ไม่​ค่อย​อยู่​ที่​ซีเรีย และ​ปีลาต​ก็​ต้อง​ยุติ​ความ​วุ่นวาย​โดย​เร็ว

ผู้​สำเร็จ​ราชการ​จะ​ต้อง​รายงาน​สภาพการณ์​ต่าง ๆ ให้​จักรพรรดิ​ทราบ​เป็น​ประจำ เรื่อง​ที่​มี​ผล​กระทบ​ต่อ​พระ​เกียรติ​ของ​จักรพรรดิ​หรือ​เป็น​ภัย​ต่อ​การ​ปกครอง​ของ​โรม​จะ​ต้อง​มี​การ​รายงาน​ให้​จักรพรรดิ​ทราบ​และ​พระองค์​ก็​จะ​ออก​คำ​สั่ง ผู้​สำเร็จ​ราชการ​อาจ​รีบ​รายงาน​เหตุ​การณ์​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​มณฑล​ของ​ตน​ก่อน​ที่​คน​อื่น​จะ​ร้อง​เรียน​เรื่อง​นี้​กับ​จักรพรรดิ ฉะนั้น เมื่อ​เกิด​ความ​วุ่นวาย​ขึ้น​ใน​จูเดีย ปีลาต​จึง​รู้สึก​หนัก​ใจ​อย่าง​ยิ่ง

นอก​จาก​เรื่อง​ราว​ใน​กิตติคุณ​แล้ว นัก​ประวัติศาสตร์​ฟลาวิอุส โยเซฟุส​และ​ฟิโล​ก็​เป็น​ผู้​ที่​บันทึก​เรื่อง​ราว​ที่​เป็น​แหล่ง​ข้อมูล​สำคัญ​เกี่ยว​กับ​ปีลาต นอก​จาก​นี้ ทาซิทุส นัก​ประวัติศาสตร์​ชาว​โรมัน​กล่าว​ว่า​ปีลาต​เป็น​ผู้​สั่ง​ประหาร​พระ​คริสต์ ซึ่ง​คริสเตียน​ได้​ชื่อ​มา​จาก​พระ​คริสต์​ผู้​นี้

ตาม​ที่​โยเซฟุส​กล่าว​ไว้ เนื่อง​จาก​ชาว​โรมัน​ทราบ​ดี​ว่า​ชาว​ยิว​ไม่​ใช้​รูป​เคารพ ผู้​สำเร็จ​ราชการ​โรมัน​คน​อื่น ๆ เคย​หลีก​เลี่ยง​การ​นำ​ธง​สัญลักษณ์​ประจำ​กองทัพ​ที่​มี​รูป​จักรพรรดิ​เข้า​มา​ใน​กรุง​เยรูซาเลม เนื่อง​จาก​ปีลาต​ไม่​สนใจ​เรื่อง​นี้ ชาว​ยิว​ที่​โกรธ​แค้น​จึง​รีบ​ไป​ที่​ซีซาเรีย​เพื่อ​ร้อง​เรียน ปีลาต​ปล่อย​ให้​เวลา​ผ่าน​ไป​ประมาณ​ห้า​วัน วัน​ที่​หก เขา​สั่ง​ให้​ทหาร​ล้อม​พวก​ผู้​ต่อ​ต้าน​และ​ขู่​ว่า​จะ​ประหาร​ชีวิต​ถ้า​ไม่​ยอม​สลาย​การ​ชุมนุม เมื่อ​พวก​ยิว​กล่าว​ว่า​พวก​เขา​ยอม​ตาย​ดี​กว่า​ยอม​ให้​พระ​บัญญัติ​ถูก​ละเมิด ปีลาต​จึง​ยอม​และ​สั่ง​ให้​นำ​รูป​เคารพ​ออก​ไป

ปีลาต​ชอบ​ใช้​กำลัง ใน​เหตุ​การณ์​หนึ่ง​ที่​โยเซฟุส​บันทึก​ไว้ ปีลาต​เริ่ม​โครงการ​ทำ​ท่อ​ส่ง​น้ำ​เพื่อ​ลำเลียง​น้ำ​เข้า​ไป​ใช้​ใน​กรุง​เยรูซาเลม และ​ต้องการ​ใช้​เงิน​จาก​ตู้​เก็บ​เงิน​ถวาย​ใน​พระ​วิหาร​เพื่อ​เป็น​เงิน​ทุน​สำหรับ​โครงการ​นี้ ปีลาต​ไม่​ได้​ยึด​เงิน​จาก​พระ​วิหาร เพราะ​เขา​รู้​ว่า​การ​ปล้น​พระ​วิหาร​เป็น​การ​ลบหลู่​สิ่ง​ศักดิ์สิทธิ์​และ​อาจ​เป็น​เหตุ​ให้​ชาว​ยิว​ที่​โกรธ​แค้น​ไป​ฟ้องร้อง​ต่อ​ทิเบริอุส​เพื่อ​ขอ​ให้​ส่ง​เขา​กลับ​โรม ดัง​นั้น จึง​ดู​เหมือน​ว่า​ปีลาต​ได้​รับ​ความ​ร่วม​มือ​จาก​เจ้าหน้าที่​ใน​พระ​วิหาร เนื่อง​จาก​เป็น​เรื่อง​สม​เหตุ​ผล​ที่​จะ​นำ “โกระบัน” หรือ​เงิน​ถวาย​ไป​ใช้​เพื่อ​สร้าง​สิ่ง​สาธารณูปโภค​ต่าง ๆ เพื่อ​ประโยชน์​ของ​เมือง แต่​ชาว​ยิว​หลาย​พัน​คน​ที่​โกรธ​แค้น​ได้​รวม​ตัว​กัน​เพื่อ​ประท้วง

ปีลาต​ส่ง​กอง​ทหาร​เข้า​ไป​เดิน​ปะปน​กับ​ฝูง​ชน​โดย​มี​คำ​สั่ง​ไม่​ให้​พวก​ทหาร​ใช้​ดาบ แต่​ให้​ใช้​กระบอง​ตี​พวก​ผู้​ต่อ​ต้าน​แทน ดู​เหมือน​ว่า เขา​ต้องการ​ควบคุม​ฝูง​ชน​ที่​ก่อ​ความ​วุ่นวาย​โดย​ไม่​ต้องการ​ยั่ว​ยุ​ให้​เกิด​การ​สังหาร​หมู่ นี่​ดู​เหมือน​ได้​ผล​ตาม​ที่​ต้องการ​แม้​มี​บาง​คน​เสีย​ชีวิต บาง​คน​ที่​เล่า​ให้​พระ​เยซู​ฟัง​ว่า ปีลาต​เอา​เลือด​ของ​ชาว​แกลิลี (ฆาลิลาย) บาง​คน​ระคน​กับ​เครื่อง​บูชา​ของ​เขา อาจ​พาด​พิง​ถึง​เหตุ​การณ์​นี้—ลูกา 13:1

เหตุ​การณ์​ที่​ทำ​ให้​ชื่อ​ของ​ปีลาต​เสื่อม​เสีย คือ​คราว​ที่​เขา​สอบสวน​พระ​เยซู​เนื่อง​จาก​พวก​ปุโรหิต​ใหญ่​และ​ผู้​เฒ่า​ผู้​แก่​กล่าวหา​ว่า​พระองค์​อ้าง​ตน​เป็น​กษัตริย์ เมื่อ​ได้​ฟัง​ว่า​พระ​เยซู​มา​เพื่อ​เป็น​พยาน​ถึง​ความ​จริง ปีลาต​จึง​เห็น​ว่า​นัก​โทษ​ผู้​นี้​ไม่​เป็น​ภัย​คุกคาม​ต่อ​โรม คำ​ถาม​ที่​ปีลาต​ถาม​ว่า “ความ​จริง​คือ​อะไร​เล่า?” แสดง​ให้​เห็น​ว่า​เขา​คิด​ว่า​ความ​จริง​เป็น​แนว​คิด​ที่​หา​ข้อ​สรุป​ไม่​ได้​และ​ไม่​น่า​จะ​มา​เสีย​เวลา​กับ​เรื่อง​นี้ เขา​สรุป​อย่าง​ไร? “เรา​ไม่​เห็น​ว่า​คน​นั้น​มี​ความ​ผิด”—โยฮัน 18:37, 38; ลูกา 23:4

การ​พิจารณา​คดี​พระ​เยซู​น่า​จะ​จบ​ลง​ตรง​นั้น แต่​พวก​ยิว​ยืนกราน​ว่า​พระองค์​กำลัง​บ่อน​ทำลาย​ชาติ ความ​อิจฉา​เป็น​เหตุ​ให้​พวก​ปุโรหิต​ใหญ่​มอบ​พระ​เยซู​ให้​กับ​เจ้าหน้าที่​โรมัน และ​ปีลาต​ก็​รู้​เรื่อง​นี้​ดี เขา​ยัง​รู้​ด้วย​ว่า การ​ปล่อย​พระ​เยซู​ไป​จะ​ยิ่ง​สร้าง​ความ​วุ่นวาย ซึ่ง​เป็น​สิ่ง​ที่​เขา​ต้องการ​หลีก​เลี่ยง ที่​จูเดีย​ก็​มี​ความ​วุ่นวาย​มาก​พอ​อยู่​แล้ว​เนื่อง​จาก​บาระบา​และ​คน​อื่น ๆ ถูก​จำ​คุก​เพราะ​การ​ก่อ​กบฏ​และ​ฆาตกรรม (มาระโก 15:7, 10; ลูกา 23:2) ยิ่ง​กว่า​นั้น เรื่อง​ที่​ปีลาต​มี​ข้อ​ขัด​แย้ง​กับ​ชาว​ยิว​ก่อน​หน้า​นี้​ทำ​ให้​ชื่อเสียง​ของ​ปีลาต​มัวหมอง​เฉพาะ​พระ​พักตร์​ทิเบริอุส ซึ่ง​เป็น​ที่​รู้​จัก​กัน​ว่า​ชอบ​ใช้​มาตรการ​รุนแรง​จัด​การ​กับ​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​ที่​ไม่​ดี กระนั้น การ​ยอม​ทำ​ตาม​ที่​พวก​ยิว​ขอ​ก็​แสดง​ให้​เห็น​ความ​อ่อนแอ ดัง​นั้น ปีลาต​จึง​เผชิญ​กับ​ภาวะ​กลืน​ไม่​เข้า​คาย​ไม่​ออก

เมื่อ​ได้​ยิน​ว่า​พระ​เยซู​มา​จาก​มณฑล​ใด ปีลาต​จึง​พยายาม​ส่ง​เรื่อง​ไป​ให้​เฮโรด อันติปา ซึ่ง​เป็น​ผู้​ปกครอง​แคว้น​แกลิลี เมื่อ​ไม่​เป็น​ผล ปีลาต​จึง​พยายาม​โน้ม​น้าว​คน​ที่​รวม​ตัว​กัน​อยู่​ข้าง​นอก​เพื่อ​ขอ​ให้​ปล่อย​พระ​เยซู​ไป โดย​อาศัย​ธรรมเนียม​การ​ปล่อย​นัก​โทษ​ใน​วัน​ปัศคา ฝูง​ชน​ตะโกน​ออก​มา​ว่า​ให้​ปล่อย​บาระบา—ลูกา 23:5-19

ปีลาต​อาจ​ต้องการ​ทำ​สิ่ง​ที่​ถูก​ต้อง แต่​เขา​ก็​ต้องการ​ปก​ป้อง​ตำแหน่ง​ของ​ตน​และ​ต้องการ​ทำ​ให้​ฝูง​ชน​พอ​ใจ​ด้วย ใน​ที่​สุด เขา​ถือ​ว่า​ตำแหน่ง​ของ​ตน​สำคัญ​กว่า​สติ​รู้สึก​ผิด​ชอบ​และ​ความ​ยุติธรรม ปีลาต​ขอ​น้ำ​ล้าง​มือ​และ​อ้าง​ว่า​เขา​ไม่​มี​ส่วน​ใน​ความ​ผิด​เกี่ยว​กับ​ความ​ตาย​ที่​ตอน​นี้​เขา​ได้​อนุมัติ​ไป* แม้​ปีลาต​เชื่อ​ว่า​พระ​เยซู​ไม่​มี​ความ​ผิด แต่​เขา​ก็​สั่ง​ให้​เฆี่ยน​พระ​เยซู​และ​ปล่อย​ให้​พวก​ทหาร​เยาะเย้ย, โบย​ตี, และ​ถ่ม​น้ำลาย​รด​พระองค์—มัดธาย 27:24-31

ปีลาต​ใช้​ความ​พยายาม​เป็น​ครั้ง​สุด​ท้าย​ที่​จะ​ปล่อย​พระ​เยซู แต่​ฝูง​ชน​ตะโกน​ว่า​ถ้า​ทำ​อย่าง​นั้น​ปีลาต​ก็​เป็น​ศัตรู​กับ​ซีซาร์ (โยฮัน 19:12) เมื่อ​ได้​ยิน​เช่น​นั้น ปีลาต​จึง​ยอม​ทำ​ตาม​ที่​พวก​ยิว​เรียก​ร้อง ผู้​คง​แก่​เรียน​คน​หนึ่ง​กล่าว​เกี่ยว​กับ​การ​ตัดสิน​ใจ​ของ​ปีลาต​ว่า “การ​แก้​ปัญหา​นั้น​ทำ​อย่าง​ง่าย ๆ นั่น​คือ​ประหาร​ชีวิต​ชาย​คน​นั้น อย่าง​มาก​ที่​สุด​ก็​แค่​เสีย​ชาว​ยิว​คน​หนึ่ง​ที่​ไม่​ใช่​คน​สำคัญ​อะไร ซึ่ง​คง​เป็น​เรื่อง​โง่​เขลา​หาก​จะ​ยอม​ให้​เกิด​ความ​วุ่นวาย​ขึ้น​เพราะ​ชาย​คน​นั้น”

เหตุ​การณ์​สุด​ท้าย​ที่​มี​บันทึก​ไว้​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ราว​ชีวิต​ของ​ปีลาต​นั้น​เกี่ยว​ข้อง​กับ​ความ​ขัด​แย้ง​อีก​เรื่อง​หนึ่ง โยเซฟุส​กล่าว​ว่า ชาว​ซะมาเรีย​หลาย​คน​พร้อม​อาวุธ​ได้​มา​รวม​ตัว​กัน​บน​ภูเขา​เก​ริ​ซิม (ฆะรีซีม) โดย​หวัง​จะ​พบ​สมบัติ​ที่​คิด​กัน​ว่า​โมเซ​ฝัง​ไว้​ที่​นั่น ปีลาต​เข้า​แทรกแซง​และ​ทหาร​ของ​เขา​ก็​สังหาร​คน​เป็น​อัน​มาก ชาว​ซะมาเรีย​ได้​ฟ้องร้อง​เรื่อง​นี้​ต่อ​ผู้​ที่​มี​อำนาจ​สูง​กว่า​ปีลาต นั่น​คือ​ลูคิอุส วิเทลลิอุส ซึ่ง​เป็น​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​ของ​ซีเรีย ไม่​มี​บันทึก​ที่​ช่วย​ให้​เรา​รู้​ว่า วิเทลลิอุส​คิด​อย่าง​ไร​ที่​ปีลาต​ทำ​เกิน​กว่า​เหตุ ไม่​ว่า​จะ​อย่าง​ไร วิเทลลิอุส​สั่ง​ให้​ปีลาต​กลับ​ไป​กรุง​โรม​เพื่อ​ให้​การ​ต่อ​จักรพรรดิ​เกี่ยว​กับ​การ​กระทำ​ของ​เขา อย่าง​ไร​ก็​ตาม ก่อน​ที่​ปีลาต​จะ​มา​ถึง​โรม ทิเบริอุส​ก็​เสีย​ชีวิต​แล้ว

แหล่ง​อ้างอิง​หนึ่ง​กล่าว​ว่า “ตั้ง​แต่​นั้น​มา เอกสาร​ทาง​ประวัติศาสตร์​ก็​ไม่​ได้​กล่าว​ถึง​ปีลาต​อีก​เลย แต่​มี​เรื่อง​เล่า​มาก​มาย​ที่​กล่าว​ถึง​ตัว​เขา” หลาย​คน​พยายาม​จะ​แต่ง​เติม​ราย​ละเอียด​ที่​ขาด​หาย​ไป บาง​คน​อ้าง​ว่า​ปีลาต​เข้า​มา​เป็น​คริสเตียน “คริสเตียน” ออร์โทด็อกซ์​ใน​เอธิโอเปีย​ยก​ให้​เขา​เป็น “นัก​บุญ” ยูเซบิอุส ซึ่ง​เป็น​ผู้​บันทึก​เหตุ​การณ์​ช่วง​ปลาย​ศตวรรษ​ที่​สาม​และ​ต้น​ศตวรรษ​ที่​สี่​สากล​ศักราช เป็น​คน​แรก​ใน​หลาย ๆ คน​ที่​กล่าว​ว่า ปีลาต​ฆ่า​ตัว​ตาย​เช่น​เดียว​กับ​ยูดา​อิศการิโอด อย่าง​ไร​ก็​ตาม ไม่​มี​ใคร​รู้​ว่า​จริง ๆ แล้ว​เกิด​อะไร​ขึ้น​กับ​ปีลาต

ปีลาต​อาจ​เป็น​คน​ดันทุรัง, ไม่​จริงจัง, และ​ชอบ​กดขี่ แต่​เขา​ก็​เป็น​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​ใน​จูเดีย​ราว ๆ สิบ​ปี ใน​ขณะ​ที่​ข้าหลวง​ใน​จูเดีย​ส่วน​ใหญ่​อยู่​ไม่​นาน​เท่า​เขา ด้วย​เหตุ​นั้น สำหรับ​ทัศนะ​ของ​ชาว​โรมัน​แล้ว ปีลาต​ทำ​งาน​ได้​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ เขา​ถูก​เรียก​ว่า​คน​ขี้ขลาด​เพราะ​ต้องการ​ปก​ป้อง​ตัว​เอง​อย่าง​น่า​ตำหนิ​โดย​ยอม​ให้​พระ​เยซู​ถูก​ตรึง​บน​หลัก​ทรมาน​จน​สิ้น​พระ​ชนม์ ส่วน​คน​อื่น ๆ แย้ง​ว่า ปีลาต​ไม่​มี​หน้า​ที่​รักษา​ความ​ยุติธรรม แต่​เขา​มี​หน้า​ที่​ส่ง​เสริม​สันติ​สุข​และ​ผล​ประโยชน์​ของ​โรม

สมัย​ของ​ปีลาต​ต่าง​จาก​สมัย​ของ​เรา​มาก กระนั้น คง​ไม่​มี​ผู้​พิพากษา​คน​ใด​มี​เหตุ​ผล​สม​ควร​ที่​จะ​พิพากษา​โทษ​ชาย​ที่​ไม่​ได้​กระทำ​ผิด ถ้า​ปีลาต​ไม่​ได้​พบ​พระ​เยซู เขา​อาจ​ไม่ได้เป็น​อีก​บุคคล​หนึ่ง​ที่​ถูก​บันทึก​ชื่อ​ไว้​ใน​หนังสือ​ประวัติศาสตร์​ก็​ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Demandt 1999, p. 162.
  2. Grüll 2010, p. 168.
  3. Hourihane 2009, p. 415.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ป็อนติอุส ปีลาตุส
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?