For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิธีใช้:ลิงก์.

วิธีใช้:ลิงก์

นี่เป็นหน้าช่วยเหลือสำหรับการใส่ลิงก์ในหน้าต่าง ๆ ของวิกิพีเดีย การใช้งานต้องทำการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ หากมีปัญหาสามารถถามหรือปรึกษาได้ที่ วิกิพีเดีย:แผนกช่วยเหลือ

สำหรับแนวทางการสร้างลิงก์ให้ดูที่หน้า วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/การสร้างลิงก์

ลิงก์ภายใน

[แก้]

ลิงก์ไปยังหน้าต่าง ๆ ในวิกิพีเดียภาษาไทยด้วยกันเอง ให้ใช้วงเล็บเหลี่ยมซ้อนสองคู่ [[ ]]

ใช้ขีดตั้ง "|" (สัญลักษณ์ "ไพป์") เพื่อสร้างลิงก์แต่ระบุข้อความเป็นชื่ออื่นทางหน้าต้นทาง คำแรกที่อยู่ในวงเล็บเป็นลิงก์ (คือหน้าที่คุณต้องการให้นำไป) ขณะที่ข้อความที่อยู่หลังขีดตั้งเป็นข้อความที่คุณตั้งใจให้ปรากฏในหน้าต้นทาง

โค้ด ผลที่แสดงออก หมายเหตุ
[[ประเทศไทย]] ประเทศไทย เชื่อมโยงบทความปลายทาง "ประเทศไทย"
[[ประเทศไทย|ไทย]] ไทย เชื่อมโยงบทความปลายทาง "ประเทศไทย" โดยแสดงข้อความเป็น "ไทย"
[[#ประวัติศาสตร์]] #ประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงไปยังหัวข้อ "ประวัติศาสตร์" ในบทความตัวเองที่มีลิงก์นี้อยู่ (ถ้ามี)
[[ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์]] ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงไปยังหัวข้อ "ประวัติศาสตร์" ในบทความ "ประเทศไทย" (ถ้ามี)
[[ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์|ไทย]] ไทย เหมือนข้างบน แต่แสดงข้อความเป็น "ไทย"
[[ไทย (แก้ความกำกวม)|]] ไทย ใส่ขีดตั้งโดยไม่ใส่ข้อความ เป็นทางลัดเพื่อตัดวงเล็บออก เหลือข้อความแค่ "ไทย"
อย่างไรก็ตามเมื่อแก้ไขอีกครั้งลิงก์นี้จะกลายเป็นลิงก์เต็ม ดังเช่นตัวอย่างที่สอง
[[:หมวดหมู่:ภาษา]] หมวดหมู่:ภาษา ถ้าไม่มีตัว : (colon) นำหน้า แทนที่จะเป็นลิงก์ไปที่หมวดหมู่ จะกลายเป็นลิงก์เพื่อการจัดหมวดหมู่
[[:ภาพ:Example.jpg]] ภาพ:Example.jpg ถ้าไม่มีตัว : (colon) นำหน้า แทนที่จะเป็นลิงก์ไปที่ภาพ จะกลายเป็นลิงก์เพื่อการใส่ภาพ

เป้าหมายลิงก์ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก (case sensitive) ยกเว้นอักขระตัวแรก (เช่น [[atom]] ลิงก์ไป "Atom" แต่ไม่ใช่ [[ATom]])

หลังจากใส่ลิงก์แล้วท่านไม่ต้องกังวลว่ามันจะเป็นสีน้ำเงินหรือสีแดง สีน้ำเงินหมายถึงมีบทความปลายทางแล้ว ส่วนสีแดงหมายถึงยังไม่มีบทความ ซึ่งผู้ใช้อื่นสามารถคลิกลิงก์สีแดงเพื่อสร้างบทความใหม่ได้ทันที มิใช่เป็นการเน้นคำด้วยสีสัน ดูเพิ่มที่ วิธีใช้:สีลิงก์ ระหว่างอยู่ในหน้าว่างนั้น ลิงก์แดงอื่นที่ชี้ไปยังชื่อเรื่องของหน้าที่ยังไม่มีนี้สามารถดูได้โดยใช้คุณลักษณะ "หน้าที่ลิงก์มา"

หากเป้าหมายของลิงก์เป็นหน้าเดียวกับหน้าที่ปรากฏ (ลิงก์ตัวเอง) ลิงก์จะแสดงผลเป็นอักษรตัวเส้นหนา เช่น วิธีใช้:ลิงก์

เมื่อพยายามลิงก์ตามปกติไปยังหน้าภาพ หน้าหมวดหมู่หรือลิงก์ข้ามภาษาจะได้ผลต่างออกไป คือ จะเป็นการเพิ่มภาพในหน้านั้น เพิ่มหน้าเข้าหมวดหมู่หรือสร้างลิงก์ข้ามภาษาที่ขอบซ้ายของหน้าแทน หากต้องการทำลิงก์ ให้ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายทวิภาค ":" เช่น ไฟล์:Mediawiki.png, หมวดหมู่:วิธีใช้วิกิพีเดีย, fr:Help:Link

เว็บไซต์ภายนอก

[แก้]

ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับวิกิพีเดีย หรือไม่ใช่เว็บโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย ให้ใช้วงเล็บเหลี่ยมคู่เดียว [ ]

ตัวอย่างนี้จะสาธิตกับการลิงก์ไปเว็บกูเกิล

โค้ด ผลที่แสดงออก หมายเหตุ
[http://www.google.com กูเกิล] กูเกิล ข้อความจะแสดงเพียงแค่ "กูเกิล" เท่านั้น
[http://www.google.com] [1] ไม่แสดงข้อความ แสดงเฉพาะลำดับเลข
http://www.google.com http://www.google.com แสดงยูอาร์แอลเต็ม
<span class="plainlinks">http://www.google.com</span> http://www.google.com ซ่อนลูกศรสีฟ้าจากลิงก์

โครงการพี่น้อง

[แก้]

ลิงก์ไปยังเว็บโครงการพี่น้องและเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิวิกิมีเดีย และ วิกิพีเดีย ช่องที่ถูกเว้นว่างไว้ คือ มีเฉพาะ รูปแบบเต็ม หรือ รูปแบบย่อเท่านั้น

การใช้งานส่วนนี้ยังค่อนข้างซับซ้อน และยากสำหรับผู้ใช้ใหม่ แนะนำว่าให้แก้ไขไปเรื่อย ๆ ก่อน และดูตัวอย่างการใช้งานไปจนเข้าใจ

การเชื่อมโยงส่วน (หลักยึด)

[แก้]

หากต้องการเชื่อมโยงส่วนหรือส่วนย่อยในอีกหน้าหนึ่ง ให้ผนวกเครื่องหมาย # และชื่อส่วนต่อท้ายชื่อหน้า ดังนี้

[[ชื่อหน้า#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]]

หากเชื่อมโยงในหน้าเดียวกัน คุณสามารถละชื่อหน้าและใช้

[[#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]]

สังเกตว่า ชื่อส่วน ไวต่ออักษรใหญ่เล็กทั้งหมด ซึ่งต่างจากการเชื่อมโยงบทความ ที่อักษรตัวแรกไม่ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก

แม่แบบ

ในการเชื่อมโยงไปยังส่วนเพื่อให้จัดรูปแบบด้วยสัญลักษณ์ส่วนแทน (คือ ชื่อหน้า § ชื่อส่วน ไม่ใช่ ชื่อหน้า#ชื่อส่วน) ให้ใช้แม่แบบ ((Section link)) (หรือ ((slink))) ดังนี้

((Section link|ชื่อหน้า|ชื่อส่วน))

เมื่อใช้แม่แบบ จำเป็นต้องเข้ารหัสอักขระบางตัว [ ] { | } เมื่อเชื่อมโยงไปยังส่วน

[ ] { | }
.5B .5D .7B .7C .7D

ตัวอย่างเช่น ส่วน "คำร้องทุกข์[ที่ปิดรับแล้ว]" สามารถเชื่อมโยงได้ด้วย [[#คำร้องทุกข์.5Bที่ปิดรับแล้ว.5D]] ลิงก์ในสารบัญจะเข้ารหัสเช่นนี้อัตโนมัติฉะนั้นสามารถคัดลอกยูอาร์แอลจากลิงก์สารบัญได้ อย่างไรก็ดี ยูอาร์แอลจะยังเข้ารหัสอักขระอื่นซึ่งไม่ขัดขวางแม่แบบหรือรหัสวิกิด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจดูน่าเกลียดบ้าง

การนิยาม

[แก้]

ที่จริงแล้วชื่อเรื่องส่วนชี้ไปยัง "หลักยึด" ในหน้าเป้าหมาย ในคู่มือการเขียน การนิยามหลักยึดอาจน่าใช้มากกว่าชื่อเรื่องส่วนที่ระบุไว้ โดยใช้ ((Anchor|ชื่อหลักยึด)) หรืออีกทางหนึ่งใช้รหัสเอชทีเอ็มแอล <span id="anchor_name">...</span> (ดูวากยสัมพันธ์ ((Anchor))) การเชื่อมโยงไปยังหลักยึดสามารถเพิ่มเข้ายูอาร์แอลภายนอกและลิงก์ข้ามโครงการได้โดยใช้วากยสัมพันธ์ # เช่นกัน

การเชื่อมโยงส่วนจะยังใช้การได้ผ่านชื่อหน้าซึ่งเป็นหน้าเปลี่ยนทาง ตัวอย่างเช่น ถ้าดันซิกเปลี่ยนทางไปยังกดัญสก์แล้ว ดันซิก#เมืองพี่น้อง จะเชื่อมโยงไปยังส่วน "เมืองพี่น้อง" ของบทความกดัญสก์ด้วย ในทางกลับกัน ยังเป็นไปได้ที่จะใส่ลิงก์ส่วนเป็นเป้าหมายของหน้าเปลี่ยนทาง (แต่จะใช้การได้เฉพาะทางเปิดใช้งานจาวาสคริปต์) เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า [[วิกิพีเดีย:ลิงก์ส่วน]] เปลี่ยนทางมายังส่วน [[วิธีใช้:ลิงก์#การเชื่อมโยงส่วน (หลักยึด)]] ในหน้านี้ แต่เมื่อเพิ่มส่วนเข้าลิงก์ที่เปลี่ยนทาง ส่วนที่ระบุชื่อจะเขียนทับส่วนดั้งเดิมในการเปลี่ยนทาง ผลคือ [[วิกิพีเดีย:ลิงก์ส่วน#ลิงก์ข้ามโครงการ]] จะเชื่อมโยงไปยังส่วน "ลิงก์ข้ามโครงการ" ของหน้านี้แทน

ชื่อส่วนซ้ำกัน

[แก้]

หากในหน้าปลายทางมีมากกว่าหนึ่งส่วนใช้ชื่อเดียวกนั ลิงก์ไปยังชื่อส่วนนั้นจะไปยังส่วนแรกที่ใช้ชื่อดังกล่าว หากต้องการเชื่อมโยงไปยังอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ชื่อเดียวกันนั้น หรือชื่อที่ใช้อักษรใหญ่เล็กต่างกัน (เช่น Example และ EXAMPLE) ให้ผนวก _2, _3 ฯลฯ เข้ากับชื่อเรื่องที่เชื่อมโยง โดยนับจากบนสุดของหน้าปลายทาง โดยไม่คำนึงว่าส่วนนั้นเป็นส่วนหรือส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น สำหรับหลายส่วนที่ใช้ชื่อว่า "ประวัติศาสตร์" อาจเชื่อมโยงเป็น "ประวัติศาสตร์", "ประวัติศาสตร์_2" (หรือ "ประวัติศาสตร์ 2") เป็นต้น

การเชื่อมโยงไปยังส่วนหนึ่งของส่วน

[แก้]

สามารถใช้หลักยึดเชื่อมโยงไปยังส่วนใดของส่วนหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเชื่อมโยงไปยังประโยคที่ห้าของส่วนหนึ่ง คุณสามารถใส่หลักยึดไว้ต้นประโยคดังกล่าว แล้วคุณสามารถเชื่อมโยงไปยังหลักยึดในทางเดียวกับที่คุณจะเชื่อมโยงไปหลักยึดอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องเลือกชื่อหลักยึดที่ไม่ซ้ำกันในหน้านั้น (ทั้งในบทความและหน้าคุย) และคิดว่าไม่น่าจะมีผู้ใช้ซ้ำ การเชื่อมโยงจะชี้ไปยังยังหลักยึดแรกเท่านั้น

นอกจากนี้ยังจัดวางหลักยึดไว้ที่ใดก็ได้ในประโยค และในหมายเหตุและอ้างอิง แต่ควรทดสอบในกระบะทรายก่อนลองใส่ในตำแหน่งแปลก ๆ เป็นครั้งแรก

ลิงก์หน้าย่อย

[แก้]

วิกิลิงก์จำเป็นต้องมี [[ชื่อหน้าเต็ม]] ยกเว้นกรณีที่เชื่อมโยงไปหรือมาจากหน้าย่อย วิกิลิงก์ไปยังหน้าพ่อแม่ คือ [[../]] และแม้ไม่ระบุชื่อหน้าใดก็ตาม แต่จะเรนเดอร์ "ชื่อหน้าเต็ม" ในหน้าพ่อแม่ วิกิลิงก์ไปยังหน้าย่อยสามารถใช้ [[/ชื่อหน้าย่อย]] เพื่อเรนเดอร์ชื่อหน้าย่อยแทน

แต่แม้มีการสร้างหน้าย่อยในเนมสเปซบทความ แต่การเชื่อมโยงหน้าย่อยจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์

การเชื่อมโยงหน้าย่อยทำงานได้ตามคาดหมายในการเชื่อมโยงหน้าใด ๆ ภายใต้หน้าพ่อแม้ราก

  • การเชื่อมโยงส่วน: [[../#ส่วน]]
  • การเชื่อมโยงหน้าย่อยไปหน้าย่อย: [[../ชื่อหน้าย่อย]]
  • หน้าพ่อแม่ของหน้าพ่อแม่ [[../../]]
  • รวมทั้ง [[../|ไพพ์ทริก]]
  • และรวมการรวมข้าม (transclusion): ((../)) และ ((/subpagename))

ตัวอย่างหน้า Manual of style ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ สมมติว่าคุณกำลังแก้ไขหน้าที่มีชื่อคล้ายกันดังนี้

en:Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Signatures
en:Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Data tables tutorial
en:Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Data tables tutorial/Internal guidelines
ในชื่อหน้าย่อย สิ่งที่คุณพิมพ์ สิ่งที่คุณได้ เชื่อมโยงไปยัง
Data tables tutorial [[../]] Wikipedia:Manual of Style/Accessibility หน้าพ่อแม่
Internal​guidelines [[../../]] Wikipedia:Manual of Style/Accessibility หน้าพ่อแม่ของหน้าพ่อแม่
Accessibility [[/Signatures]] /Signatures หน้าย่อย
Accessibility [[/Signatures/]] Signatures หน้าย่อย
Data tables tutorial [[../Signatures]] Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Signatures หน้าระดับเดียวกัน
Data tables tutorial [[../Signatures/]] Signatures ระดับเดียวกัน
Internal​guidelines [[../../Signatures]] Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Signatures หน้าระดับพ่อแม่
Signatures [[../Data tables tutorial/Internal guidelines]] Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Data tables tutorial/Internal guidelines หน้าระดับหน้าย่อย

ดูเพิ่ม

[แก้]


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิธีใช้:ลิงก์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?