For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิกิพีเดีย:รายชื่อนโยบายทั้งหมด.

วิกิพีเดีย:รายชื่อนโยบายทั้งหมด

อ่านหน้า วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมว่านโยบายต่าง ๆ คืออะไร จุดประสงค์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร และทำไมต้องมีนโยบายเหล่านี้ นอกจากนั้นคุณยังสามารถดูนโยบายทั้งหมดของวิกิพีเดียในหน้า หมวดหมู่:นโยบายวิกิพีเดีย

ในหน้านี้ จะแบ่งนโยบายเป็นกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • พฤติกรรม: กล่าวถึงพฤติกรรมพื้นฐานในวิกิพีเดียเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและอยู่ในสังคมนี้อย่างเป็นสุข
  • เนื้อหา: กล่าวถึงนิยามว่าบทความหรือข้อความประเภทใดที่วิกิพีเดียรับไว้ได้ และมาตรฐานของรูปแบบและชื่อบทความ
  • การลบ: กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับการลบหน้าในวิกิพีเดีย
  • กฎข้อบังคับ: กล่าวถึงข้อบังคับให้ผู้แก้ไขปฏิบัติตามนโยบายของวิกิพีเดีย
  • กฎหมายและลิขสิทธิ์: กล่าวถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าเนื้อหาประเภทใดที่สามารถนำมาเพิ่มในนี้ และเนื้อหาใดที่ไม่สามารถเพิ่มได้
  • วิธีพิจารณาความ นโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระเบียบขั้นตอนต่าง รวมทั้งการตัดสินข้อขัดแย้ง

หมายเหตุ: อย่าลืมว่าคุณสามารถ "ปล่อยวางกฎทั้งหมด" หมายถึง คุณสามารถปล่อยวางนโยบาย แนวปฏิบัติ หรือกฎอื่นใดก็ตามที่ขัดขวางการพัฒนาของวิกิพีเดีย

พฤติกรรม

พฤติกรรมหยาบคาย ต่ำช้า หรือเพิกเฉยก่อปัญหาแก่ทั้งผู้ใช้งานคนอื่นและทำให้วิกิพีเดียทำงานได้ช้าลง ลองพยายามเตือนผู้ใช้ที่ปฏิบัติตนไม่สุภาพและหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นโกรธทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ การเดินทางสายกลางอาจช่วยท่านได้ในหลายสถานการณ์ความขัดแย้ง
คุณสามารถปรับปรุง จัดรูปแบบหน้าต่าง ๆ ของวิกิพีเดียได้ตามต้องการโดยไม่ต้องกังวลว่าอาจทำได้ไม่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตามหากการแก้ไขของคุณมีมากคุณควรอธิบายเหตุผลในหน้าอภิปราย
หากมีผู้ใดแก้ไขหรือย้อนการแก้ไขของคุณ พยายามพูดคุยหรืออภิปรายเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ได้รับการยอมรับทั้งสองฝ่าย อย่าเริ่มแข่งกันย้อนการแก้ไขเพื่อหวังเอาชนะ การย้อนการแก้ไขของผู้ใช้รายอื่นในหน้าหนึ่ง ๆ มากกว่าสามครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือยังมีพฤติการณ์ดังกล่าวอาจทำให้บัญชีผู้ใช้ของคุณถูกบล็อกได้
ผู้เขียนไม่ใช่เจ้าของบทความ บทความที่คุณสร้างในวิกิพีเดียเป็นสมบัติของชุมชนวิกิพีเดีย หากคุณสร้างหรือแก้ไขบทความในวิกิพีเดีย พึงทราบว่าผู้อื่นก็สามารถแก้ไขได้ ด้วยเหตุนี้คุณไม่ควรห้ามผู้อื่นแก้ไขบทความที่คุณสร้างขึ้น
ห้ามว่าร้ายผู้อื่นไม่ว่าที่ใดก็ตามในวิกิพีเดีย จงออกความคิดเห็นต่อส่วนเนื้อหาบทความ มิใช่ความคิดเห็นต่อผู้เขียน การว่าร้ายผู้อื่นเป็นการทำลายสังคมวิกิพีเดียและขัดขวางการทำงานของชาววิกิพีเดีย พึงระลึกไว้ว่าไม่มีใครต้องการโดนว่า

เนื้อหา

โดยทั่วไปชื่อบทความในวิกิพีเดียควรให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจ กระชับ มีความหมายกำกวมน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามอาจมีหลักการตั้งชื่อที่เฉพาะออกไปตามแต่ละหลักการหรือสาขาวิชา
บทความเกี่ยวกับบุคคลที่มีชีวิตอยู่ต้องการการใส่ใจเป็นพิเศษ ดังนั้นควรมีแหล่งอ้างอิงที่ครบถ้วนและคุณภาพสูงโดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ข้อความซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งอ้างอิงเชื่อถือไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก แง่ลบ หรือเป็นเพียงข้อสงสัย เกี่ยวกับบุคคลที่มีชีวิตอยู่นั้นควรถูกลบออกไปจากบทความ รวมทั้งหน้าอภิปรายของบทความนั้นทันที
เนื้อหาทุกอย่างที่ผู้อ่านมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นตัวบทความ แม่แบบที่ใช้ หมวดหมู่ หรือสถานีย่อย ต้องเขียนจากมุมมองที่เป็นกลาง
บทความในวิกิพีเดียต้องไม่ใช่ทฤษฎี ข้อมูล ข้อความ แนวความคิด การโต้แย้ง หรือความคิดที่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่หรือตีพิมพ์มาก่อน หรือแม้แต่การตีความ การวิเคราะห์ หรือการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ๆ จากข้อมูล ข้อความ แนวความคิด การโต้แย้ง หรือความคิดที่ถูกตีพิมพ์แล้วซึ่งเป็นเรื่องเล่าใหม่หรือการแปลความหมายในประวัติศาสตร์
แม้เราไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลต่างๆ ได้ แต่เราสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ หมายความว่าผู้อ่านสามารถที่จะตรวจสอบว่าข้อความในวิกิพีเดียนั้นได้เคยเผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาก่อน เนื้อหาในบทความควรมีแหล่งอ้างอิงทุกที่ที่พึงมี มิฉะนั้นมันจะถูกลบออกไป
วิกิพีเดียคือสารานุกรมออนไลน์ กรุณาหลีกเลี่ยงการใช้วิกิพีเดียในวัตถุประสงค์อื่น ๆ

การลบ

การดำเนินการลบหน้าโดยผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดีย ซึ่งส่วนใหญ่มีกระบวนการอยู่สามขั้นตอน
หากหน้าบทความ รูปภาพ หมวดหมู่ หรือหน้าอื่นใดที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขในหน้าดังกล่าวนี้ จะถูกลบโดยทันที เช่น หน้าที่ไม่มีเนื้อหาหรือหน้าก่อกวนชัดเจน สำหรับกรณีอื่นๆ ที่มีข้อถกเถียงควรจะเข้าสู่กระบวนการเสนอลบแทน

กฎข้อบังคับ

ผู้ดูแลระบบก็เป็นมนุษย์เหมือนกับผู้เขียนคนอื่นซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดได้ แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ดูแลควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีภายในสังคมนี้ ทั้งด้านมารยาท ความยุติธรรม และพฤติกรรมที่ดี เมื่อคุณได้เป็นผู้ดูแลระบบก็ควรมีพฤติกรรมเหมาะสม มีความยุติธรรม ให้คำแนะนำและมีมนุษยสัมพันธ์
สำหรับผู้ใช้ที่ก่อกวนเนื้อหาในวิกิพีเดีย ซึ่งอาจถูกบล็อกเป็นปริมาณเวลาที่แตกต่างกันออกไป
บอตคือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แก้ไขบทความโดยอัตโนมัติอาจสร้างคุณอนันต์หรือโทษมหันต์แก่วิกิพีเดีย แม้ว่าผู้ใช้บอตจะต้องขออนุญาตและได้รับการรับรองสถานะบอต และผู้ใช้บอตจะต้องดูแลไม่ให้บอตเกิดบ้าคลั่งทำงานผิดพลาดหรือใช้ทรัพยากรอย่างเปล่าประโยชน์
หน้าบทความใดก็ตามในวิกิพีเดีย สามารถถูกล็อกเพื่อป้องกันการก่อกวนหรือกำลังอยู่ในระหว่างการโต้เถียงกัน ซึ่งการล็อกสามารถดำเนินการโดยผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดีย
ไม่ควรสร้างบัญชีผู้ใช้มากกว่าหนึ่งชื่อเพื่อไม่ว่าเพื่อใช้ในการโหวตหรือสนับสนุนของความเห็นของตนเอง โน้มน้าวชักนำผู้อื่น หรือหลบเลี่ยงการถูกบล็อกบัญชีผู้ใช้ รวมทั้งไม่ควรขอให้เพื่อนของคุณสร้างบัญชีผู้ใช้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความเห็นของคุณหรือของใครคนอื่น
การตั้งชื่อผู้ใช้ควรเลือกชื่อที่เหมาะสมและคุณพึงพอใจ คุณสามารถขอเปลี่ยนชื่อได้แต่คุณไม่สามารถขอลบบัญชีผู้ใช้ได้
การก่อกวนคือการเพิ่มเติมเนื้อหา ลบเนื้อหา หรือเปลี่ยนแปลงข้อความโดยเจตนาทำให้เกิดความเสียหายกับบทความ พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรมออนไลน์

กฎหมายและลิขสิทธิ์

วิกิพีเดียไม่อาจยอมรับเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้
หลีกเลี่ยงการอัปโหลดรูปภาพที่เป็นลิขสิทธิ์ แต่ถ้าหากคุณทำเช่นนั้น กรุณาระบุแหล่งที่มาและสัญญาอนุญาตให้ชัดเจน
แนวทางในการใช้ภาพ คลิปเสียง วิดีโอคลิปที่มีลิขสิทธิ์ ในลักษณะการใช้งานโดยชอบธรรมต้องมีการอธิบายถึงลิขสิทธิ์ของภาพ รวมถึงที่มา และเหตุผลการใช้งานของภาพ โดยภาพที่อัปโหลดทำหน้าที่ช่วยอธิบายให้บทความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น

วิธีพิจารณาความ

อนุญาโตตุลาการเป็นกลุ่มบุคคลทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทต่างๆ ในวิกิพีเดีย โดยเฉพาะข้อพิพาทอันรุนแรงถึงขนาดที่ประชาคมวิกิพีเดียไม่สามารถระงับได้เอง
นโยบายสำหรับคณะอนุญาโตตุลาการในการตัดสินข้อขัดแย้งที่ได้รับการร้องเรียน
การตรวจสอบผู้ใช้เป็นเครื่องมือที่ให้ผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบข้อมูลไอพี และบันทึกของเซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขของผู้ใช้ในบางสถานการณ์ เพื่อป้องกันวิกิพีเดียจากการก่อกวนหรือการแก้ไขอันไม่พึงประสงค์
ผู้เขียนที่มีเจตนาดีที่มีปัญหาจากการถูกบล็อกไอพีหรือไฟร์วอลล์สามารถขอสิทธิยกเว้นการบล็อกไอพีได้ ช่วยให้ผู้เขียนสามารถแก้ไขวิกิพีเดียได้แม้ไอพีที่ใช้จะกำลังถูกบล็อกจากการแก้ไขอยู่

ดูเพิ่ม

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิกิพีเดีย:รายชื่อนโยบายทั้งหมด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?