For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิกิพีเดีย:มารยาท.

วิกิพีเดีย:มารยาท

เนื่องจากชาววิกิพีเดียมาจากหลาย ๆ ที่ หลายสังคม ความเห็นและมุมมองย่อมแตกต่างกัน การเคารพและมีมารยาทต่อกัน เป็นหัวใจสำคัญในการร่วมมือสร้างวิกิพีเดียขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จ บทความในหน้านี้ มารยาทในวิกิพีเดีย เพื่อเป็นแนวทาง และพึงนึกเสมอว่า พื้นฐานของคนส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกภูมิใจ เมื่อได้ทำงานหรือเขียนบทความอะไรลงไป การไปแก้ไขงานคนนั้น ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึก หงุดหงิดขึ้นมาได้ง่าย พึงควรระวัง

พื้นฐานของมารยาทในวิกิพีเดีย

  • เชื่อมั่นว่าบุคคลอื่นมีเจตนาดี ทุกคนที่ร่วมเข้ามาเขียนในวิกิพีเดีย มีใจที่ต้องการสร้างบทความที่ดี และนโยบายของวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นสามารถเขียนและแก้ไขบทความที่ดีได้
  • "จงปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่คุณปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อคุณ"
  • สุภาพ
  • พูดกับคนอื่น เหมือนกับที่อยากให้คนอื่นพูดกับเรา
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาแชต เพราะผู้อื่นอาจถือเป็นการดูถูก หรือไม่เหมาะสม และอาจทำให้น้ำหนักความคิดเห็นของคุณน้อยลง (ยกเว้นกับผู้ใช้ที่ยอมรับภาษาแชตในหน้าคุยกับผู้ใช้)
  • ในหน้าพูดคุยหรืออภิปราย ตามมารยาทควรลงชื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้พูด โดยการใส่เครื่องหมาย ~~~~ (ทิลดา สี่ตัว)
  • หลีกเลี่ยงการย้อนการแก้ไขของผู้ใช้คนอื่น เมื่อสามารถทำได้
  • ทำงานโดยอยู่ภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
  • เวลาโต้เถียง ให้แย้งกันเรื่องข้อเท็จจริงของตัวเนื้อหา อย่าเถียงกันเรื่องความเห็นหรือการแสดงออกส่วนตัวในส่วนเนื้อหา
  • พยายามควบคุมอารมณ์ของตนระหว่างการโต้เถียง
  • แก้ไขหรือสรุปข้อโต้เถียงที่คุณเป็นผู้ตั้งประเด็นไว้
  • อย่าเฉยเมยกับคำถามผู้อื่น ถ้ามีผู้ที่สงสัยและต้องการแก้ไขงานของเรา ควรระบุเหตุผลที่เหมาะสมในการเขียนหรือแก้ไข
  • อย่าลืมขอโทษถ้ากระทำผิดพลาด
  • ให้อภัยการกระทำที่ผิด และลืมมันเสีย
  • อย่าปลุกกระแสให้คนอื่นทะเลาะกัน
  • ช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งระหว่างผู้ใช้คนอื่น
  • ลองดู วิกิพีเดีย:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย และ คำที่มักเขียนผิด (ในวิกิตำรา)
  • ถ้ามีปัญหา ลองเว้นระยะไปสักพัก หรือลองดูบทความอื่น ในวิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความให้คุณตรวจสอบแก้ไขถึง 166,472 บทความ
  • ท้ายสุด อย่าลืมดูว่าวิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และ วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ

ข้อพึงระวัง

  • พยายามอธิบายให้ชัดเจน ว่าต้องการทำอะไร เฉพาะอย่างยิ่งในหน้าพูดคุย
  • ผู้เขียนบทความควรจะพยายามทำความเข้าใจในการแก้ไขและการวิจารณ์ของบุคคลอื่นที่มีต่อบทความของตน
  • ผู้มาใช้ใหม่ อาจผิดพลาดได้ง่าย พูดคุยด้วยคำพูดที่ดี และอธิบายข้อผิดพลาด และที่สำคัญ ต้องไม่ลืม แนะนำวิธีแก้ไขหรือหาทางออกให้
  • อย่าสรุปว่า สิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คือสิ่งที่ผิด หลาย ๆ เรื่อง สามารถหาทางออกได้มากกว่ากำหนดว่า ถูก หรือ ผิด
  • อย่าว่าร้ายผู้อื่น ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ใช้คนนั้นมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าคุณต้องการวิจารณ์ในเรื่องใดก็ตาม คุณควรจะวิจารณ์เขาอย่างสุภาพและติในเชิงก่อ
  • ถึงแม้ว่ามารยาท จะมีเรื่องให้คิดมากมาย แต่อย่าลืมว่า วิกิพีเดียแนะนำให้กล้าแก้ไขบทความ

หลีกเลี่ยงการว่าร้ายในหน้าพูดคุยได้อย่างไร

  • คนส่วนมากภูมิใจในงานเขียนของตนและความคิดของตน การถือตัวเองเป็นสำคัญ (อีโก) มักทำให้เกิดความเจ็บปวดในการแก้ไขบทความ แต่หน้าพูดคุยไม่ใช่หน้าที่ใช้สำหรับการโจมตี หน้าพูดคุยเป็นที่ที่ดีสำหรับการบรรเทาทุกข์หรือการไม่ทำลายการถือตัวเองเป็นสำคัญ หากมีใครไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของคุณ พยายามทำความเข้าใจว่าทำไม และพูดคุยที่หน้าพูดคุย ใช้เวลาในการไตร่ตรอง หาเหตุผลที่ดีว่าทำไมการแก้ไขของคุณดีกว่า
  • ขั้นตอนการพัฒนาปรับปรุงบทความในวิกิพีเดียเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และการวิเคราะห์วิจารณ์งานเดิมเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการ หากคุณไม่ได้เตรียมตัวให้ผลงานของคุณมีการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวิจารณ์แล้ว วิกิพีเดียอาจไม่ใช่สถานที่สำหรับคุณ
  • อย่าว่าร้ายผู้อื่น หรือโจมตีการแก้ไขผู้เขียน
    • การตราหน้าผู้เขียนหรือการแก้ไข อย่างเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ หรือก่อให้เกิดการต่อต้าน ปลุกกระแสให้เกิดการทะเลาะกัน ทำให้การอภิปรายไม่เข้าประเด็นการเขียนบทความ หากคุณจะวิจารณ์การเขียน โปรดใช้คำสุภาพและสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการด่าว่าอย่างรุนแรงและคำหยาบ แม้จะไม่มีเจตนาวิจารณ์ผู้เขียน เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในประเด็นการโจมตีบุคคลและไม่ทำให้เกิดงาน และไม่ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อชุมชนวิกิพีเดีย
  • อธิบายให้ชัดเจนประเด็นที่คุณต้องการสื่อ โดยเฉพาะในการตอบการอภิปราย
    • ในการตอบ การคัดลอกคำพูดมาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่อธิบายให้เข้าใจย่อมดีกว่า จะเหมาะสมหากคุณอธิบายด้วยคำอย่าง "เหมือนกับที่คุณพูดว่า" หรือ "ตามที่ผมเข้าใจ" เพื่อเป็นการตอบรับว่าคุณได้พยายามทำความเข้าใจคำพูดบุคคลที่คุณกำลังสนทนาด้วย ก่อนที่จะพูดอะไรที่ผิดไป หรือเข้าใจอะไรผิดไป
    • การแทรกการโต้แย้งในการวิจารณ์ของผู้อื่นกลางคัน เป็นการขัดการสนทนาไม่ให้ลื่นไหล บางคนอาจรับได้ แต่ก็ไม่ทุกคน

ดูเพิ่ม

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิกิพีเดีย:มารยาท
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?