For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Science,
Chulalongkorn University
ชื่อเดิมคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สถาปนา26 มีนาคม พ.ศ. 2460; 107 ปีก่อน (2460-03-26)
คณบดีศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช
ที่อยู่
สี███ สีเหลืองไดโครเมตไอออน
มาสคอต
อะตอมล้อมพระเกี้ยว
เว็บไซต์www.sc.chula.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่ง 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมใช้ชื่อว่า "คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" ปัจจุบันประกอบด้วย 14 ภาควิชา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และกลุ่มเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้านตะวันออกของถนนพญาไท ด้านข้างสระน้ำ

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่มีอาจารย์ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติมากที่สุดของประเทศไทย การจัดอันดับในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจาก QS world university ranking by subject[1] พบว่า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 258 ของโลก และเป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ

ประวัติ

[แก้]
ตึกขาว ปัจจุบันคือตึกชีววิทยา 1
ตึกขาวหรือศาลาวิทยาศาสตร์ อาคารหลังที่สองของจุฬาฯ
อาคารมหามกุฎ
อาคารมหาวชิรุณหิศ

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในสี่คณะแรกเริ่มที่ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในชื่อ "คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อสอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปประยุกต์ในการศึกษาขั้นสูงต่อไป ให้กับนิสิตคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นคือคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ยังคงทำหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เช่นเดิม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานนามใหม่แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" และพระราชทานนามใหม่ให้กับคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลว่า "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล" หน้าที่การสอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงยุติลง แต่ในเวลานั้นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว หน้าที่สอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับคณะแพทยศาสตร์จึงดำเนินต่อไปจนมีการปรับปรุงหลักสูตรและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมเพียงพอที่จะดำเนินการสอนภายในคณะ คณะวิทยาศาสตร์จึงยุติการทำหน้าที่นี้ลงเช่นในปัจจุบัน

นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์ ยังสอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังมีแผนกฝึกหัดครู (ต่อมาเป็นคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ที่เป็นแหล่งผลิตครูวิทยาศาสตร์ เพื่อสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมและมัธยมศึกษาและยังคงทำหน้าที่นี้จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสมัยนั้น อาจารย์ที่สอนวิทยาศาสตร์ คือ แพทย์สามัญ ซึ่งไม่สามารถสอนวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้นิสิตที่จบการศึกษามีความรู้ค่อนข้างจำกัด อีกทั้งการเรียนการสอนยังมีอุปสรรค เช่น นิสิตไม่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ จึงไม่สามารถนำตำราต่างประเทศมาใช้ในการสอนได้

ดังนั้น ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ให้ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ดำเนินการขอความอนุเคราะห์จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ในการปรับปรุงการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ โดยความร่วมมือนี้มีกำหนด 5 ปี ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลไทยจะต้องสร้างศาลาวิทยาศาสตร์หนึ่งหลัง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ นับเป็นอาคารวิทยาศาสตร์หลังแรกที่รู้จักกันในนาม "ตึกขาว" ซึ่งเป็นตึกที่เก่าแก่ที่สุดในคณะ และจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในอนาคตซึ่งห้ามมิให้ทำการรื้อถอนใดๆ นอกจากการก่อสร้างศาลาวิทยาศาสตร์แล้ว รัฐบาลไทยต้องตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา โดยที่ทางมูลนิธิฯ จะออกเงินจ้างอาจารย์ภาษาอังกฤษให้ 1 คนเป็นเวลา 3 ปี และมูลนิธิฯจะให้ทุนนิสิตและอาจารย์ไปศึกษาวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ณ ต่างประเทศ เพื่อให้กลับมารับตำแหน่งแทนศาสตราจารย์ของมูลนิธิฯ จากความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น สามารถผลิตอาจารย์วิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถในการสอนวิชาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และคณะก็มีสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้งนิสิตเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกา วางระเบียบกรมต่างๆในกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) และมีการประกาศแยกคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ออกเป็นสองคณะ แต่ในวันที่ 29 มกราคม ปีเดียวกัน (ในสมัยนั้น พ.ศ.ของไทยเริ่มนับจากเดือนเมษายน) ก็มีประกาศให้คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์รวมกันอีกครั้ง จนในที่สุด ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีประกาศแยกคณะอักษรศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ออกเป็นสองคณะอีกครั้งหนึ่ง

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงนับเป็นคณะแรกในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในขณะนั้นคณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 4 ภาควิชา คือ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา หลังจากนั้น คณะวิทยาศาสตร์ก็ได้เติบโตขึ้น และเพื่อให้ทันต่อกระแสความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ จึงมีการก่อตั้งภาควิชาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมา ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเทคโนโลยี เพื่อผลิตบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาประเทศ

ภาควิชา

[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่มีจำนวนสาขาวิชา โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีมากที่สุดในประเทศไทย โดยประกอบด้วย 14 ภาควิชา ได้แก่

หลักสูตร

[แก้]
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
  • สาขาวิชาธรณีวิทยา
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสัตววิทยา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีเทคนิค
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์
  • สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเชื้อเพลิง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิก
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาธรณีวิทยา
  • สาขาวิชาธรณีศาสตร์ปิโตรเลียม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชามาตรวิทยา (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาโลกศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสัตววิทยา

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีเทคนิค
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์
  • สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (สหสาขาวิชา), (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
  • สาขาวิชาธรณีวิทยา
  • สาขาวิชาปิโตรเคมี (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์มหโมเลกุล (สหสาขาวิชา)
  • สาขาวิชาสัตววิทยา

อันดับและมาตรฐานของคณะ

[แก้]

ผลการจัดอันดับในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจาก QS world university ranking by subject[1] จาก Quacquarelli Symonds (QS) พบว่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 258 ของโลก และเป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ นอกจากนั้นยังมีผลการจัดอันดับแยกตามรายวิชาซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สาขา อันดับโลก อันดับในประเทศ
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 101 – 150 1
ภูมิศาสตร์* 101 – 150 1
เคมี 151 – 200 1
วัสดุศาสตร์* 151 – 200 1
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 201 – 250 1 (ร่วม)
วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ 201 – 250 1
ฟิสิกส์และดาราศาสตร์* 301 – 350 1

หมายเหตุ *เป็นแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ

พิพิธภัณฑ์ภายในคณะ

[แก้]
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

นอกจากจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว คณะวิทยาศาสตร์ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ซึ่งรับผิดชอบโดยภาควิชาต่าง ๆ ของคณะ ได้แก่

  • พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ตึกชีววิทยา 1 ภาควิชาชีววิทยา จัดแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม[2]
  • พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา ตั้งอยู่ที่ตึกธรณีวิทยา ชั้น 1 ภาควิชาธรณีวิทยาจัดแสดงตัวอย่างหินชนิดต่าง ๆ ลักษณะชั้นหินและฟอสซิลที่ภาควิชาเก็บตัวอย่างมาจากการสำรวจ[3]
  • พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ตั้งอยู่ชั้น 3 และชั้น 6 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ จัดแสดงประวัติศาสตร์เทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ในประเทศไทย และความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน[4]
  • พิพิธภัณฑสถานพืชศาสตราจารย์กสิน สุวะตะพันธุ์ ตั้งอยู่ที่ตึกพฤกษศาสตร์ ชั้น 4 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์[5] จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์ไม้ ทั้งตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างรักษาสภาพโดยการดอง ตัวอย่างผล เมล็ด ละอองเรณู และสปอร์ ภาพถ่าย ภาพวาดสไลด์สีโปร่งแสง ตัวอย่างเนื้อไม้ ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) เป็นที่ตั้งของฐานข้อมูล เฟิร์น กล้วยไม้เมืองไทยและพืชมีพิษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ห้อง 218 ตึกชีววิทยา 1 (ตึกขาว) คณะวิทยาศาสตร์[6]จัดแสดงนิทรรศการหอยทากที่พบในประเทศไทย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในรายการบันทึกของพิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยาแห่งหนึ่งของโลก

คณาจารย์และศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคณาจารย์ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการสอนและการวิจัยทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นจำนวนมาก เช่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 7 ท่าน รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 17 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นจำนวน 1 ท่าน รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 10 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จำนวน 1 ท่าน และมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง เช่น

  • ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้ก่อตั้งและคณบดีท่านแรกคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เสน่ห์ ศรีสุวรรณ นักพูดในรายการโทรทัศน์ และอดีตที่ปรึกษาการตลาดและฝ่ายขาย บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ ไอดอลสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ติเอ็ต นิสิตสาขาเคมีประยุกต์
  • อณิพรรณ เฉลิมบูรณะวงศ์ นักแสดงสังกัดช่องวัน 31 ศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์
  • ชัชชญา ส่งเจริญ อดีตศิลปินวงทรีทูวันสังกัดกามิกาเซ่ ศิษย์เก่าสาขาเคมีประยุกต์
  • พิชญาภา นาถา ไอดอลสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ติเอ็ต นิสิตสาขาเทคโนโลยีทางอาหาร

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ เป็นสถาบันสมทบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรอนุปริญญาเคมีปฏิบัติ ปัจจุบันไม่เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาแล้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3601 เก็บถาวร 2018-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3609 เก็บถาวร 2018-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ. 2558. http://museum.stkc.go.th/cu/photo.php เก็บถาวร 2017-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานพืชศาสตราจารย์กสิน สุวะตะพันธุ์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3594 เก็บถาวร 2017-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  6. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3587 เก็บถาวร 2017-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′10″N 100°31′49″E / 13.736131°N 100.530314°E / 13.736131; 100.530314

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?