For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
School of Agricultural Technology
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
คณบดีผศ.ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ
ที่อยู่
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า[1]
สี  สีเขียว
เว็บไซต์www.agri.kmitl.ac.th

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็น 1 ใน 9 คณะของสถาบัน เดิมเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม" ก่อนจะโอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและยกฐานะเป็น "คณะเทคโนโลยีการเกษตร" ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ปัจจุบันปรับรูปแบบการศึกษาจากเดิม เปลี่ยนเป็นการศึกษาในรูปแบบของโมดูลหลักสูตร มีทั้งสิ้น 7 หลักสูตรในระดับปริญญาตรี

นอกจากนี้ยังมีการเปิดการเรียนการสอนในภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร ในวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ซึ่งมีทั้งในระดับปริญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา[2]

ประวัติ

[แก้]
อนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหารฯ

คณะเทคโนโลยีการเกษตรเดิมเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม" สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐมได้ย้ายมาตั้งที่เขตลาดกระบังกรุงเทพฯและได้มีเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร" โดยคำว่า "เจ้าคุณทหาร" มีไว้เพื่อ เป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เนื่องจากทายาทของท่านเจ้าคุณทหารคือ ท่านเลี่ยมและคุณหลวงพรตพิทยพยัต สามี ได้บริจาคที่ดิน 1,041 ไร่ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งกรมอาชีวศึกษาได้ใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร และได้รับการสถาปนาเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2517 ต่อมาวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารได้โอนจากกรมอาชีวศึกษา[3] กระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทบวงมหาวิทยาลัย ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 และได้รับการยกฐานะเป็น "คณะเทคโนโลยีการเกษตร" เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2524[4] พร้อมกับสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์

สถาปัตยกรรม

[แก้]
โรงอาหารกลางน้ำ ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2559

ในช่วงปี พ.ศ. 2508 - 2513 โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร ได้เป็น 1 ใน 25 แห่งของโรงเรียนและวิทยาลัยในกลุ่มช่างอุตสาหกรรมและกลุ่มเกษตรกรรม ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา จากธนาคารโลก ซึ่งบริษัทออกแบบจุนโซ ซาคาคุระ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ออกแบบอาคารเรียน โดยบริษัทดังกล่าวเป็นของจุนโซ ซาคาคุระซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นในยุคนั้น ทำให้อาคารที่ก่อสร้างในยุคนั้นมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ในรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ คือกลุ่มอาคารเรียนกลางน้ำ (ปัจจุบันถูกรื้อถอน กลายเป็นลานจอดรถ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ "วร บุนนาค") โรงอาหารกลางน้ำ และหอประชุมใหญ่ของสถาบัน ในฝั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ปัจจุบัน[5]

ในปี พ.ศ. 2559 อาคารโรงอาหารกลางน้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สร้างเสร็จ พ.ศ. 2513) ได้รับคัดเลือกให้เป็น "อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์" จาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับอีก 3 อาคารที่ก่อสร้างในช่วงโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวะศึกษา พ.ศ. 2508 - 2513[5]

หน่วยงานและหลักสูตร

[แก้]

ภาควิชาและหลักสูตรก่อนปี พ.ศ. 2564

[แก้]

ภาควิชาและหลักสูตรในการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ลงไป ก่อนปรับเปลี่ยนไปใช้การเรียนการสอนแบบโมดูล (Modular System)

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
เทคโนโลยีการผลิตพืช เก็บถาวร 2017-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์[6]
    • วิชาเอกพืชไร่
    • วิชาเอกพืชสวนและภูมิทัศน์
    • วิชาเอกกีฏวิทยา
    • วิชาเอกโรคพืช
    • วิชาเอกปฐพีวิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์[7]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช[8]
  • สาขาวิชาพืชสวน[8]
  • สาขาวิชาพืชไร่[8]
  • สาขาวิชาปฐพีวิทยา[8]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร[8]

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์[9]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช[10]
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์และการประมง เก็บถาวร 2020-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์[11]
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง[12]
นวัตกรรมการสื่อสารและพัฒนาการเกษตร (เทคนิคเกษตร)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร[13]
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร[14]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร[15]

-

การเรียนการสอนแบบโมดูล (Modular System)

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นรูปแบบโมดูล (Modular System) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของตนตามกลุ่มวิชาในลักษณะโมดูล (Module) โดยลดวิชาบังคับ และเพิ่มวิชาเลือก โดยแต่ละโมดูลจะมีความสมบูรณ์ในตัวของวิชานั้นเอง ไม่ต้องเรียนจากโมดูลอื่นมาก่อน น้ำหนักรายวิชาละ 6-9 หน่วยกิต ซึ่งแต่เดิมจะต้องเรียนหลายวิชา (วิชาละ 3 หน่วยกิต) ต่อเนื่องกันในหลายเทอมจนครบถ้วนเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้เริ่มใช้งานการเรียนการสอนแบบโมดูลกับนักศึกษาที่เข้าศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2564

สำหรับสาขาวิชาที่เริ่มใช้การเรียนการสอนในรูปแบบโมดูลในปี พ.ศ. 2564 ประกอบไปด้วย[16]

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
    • สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรประมง
    • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
    • สาขาวิชาการจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด
    • สาขาวิชาภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท)[17]
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
    • สาขาวิชาสัตวศาสตร์เพื่ออุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากร
    • สาขาวิชาการสื่อสารและวิทยาการสารสนเทศทางการเกษตร
    • สาขาวิชานวัตกรรมพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ระดับปริญญาเอก)
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และการจัดการทรัพยากร[18]

โครงการ 2 ปริญญา Agrinovator (ระดับปริญญาตรี)

เป็นโครงการความร่วมมือกันระหว่างคณะเทคโนโลยีการเกษตร กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในรูปแบบสหวิทยาการทั้งในด้านของเกษตรศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี แต่ได้รับวุฒิถึง 2 วุฒิ คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด และ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ ปัจจุบันอยู่ในช่วงเปิดรับลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร[19]

สัญลักษณ์ประจำคณะ

[แก้]
ดอกบุนนาค ดอกไม้ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.
  • สัญลักษณ์คณะ คือ คันไถ และดอกบุนนาค
  • ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกบุนนาค[20]
  • สีประจำคณะ คือ   สีเขียว และ     สีเขียว ขาว เหลือง

สถานที่

[แก้]

แต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นพื้นที่ของโรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารซึ่งก็คือคณะเทคโนโลยีการเกษตรในปัจจุบัน ทำให้มีอาณาเขตพื้นที่ที่กว้างขวาง ครอบคลุมฝั่งตะวันออกของสถาบันเกือบทั้งหมด และถูกแบ่งคั่นด้วยเส้นทางรถไฟสายตะวันออกทำให้คณะเทคโนโลยีการเกษตรประกอบด้วยฝั่งทิศเหนือและทิศใต้

ปัจจุบันได้มีการแบ่งเนื้อที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและจัดตั้งคณะพร้อมทั้งวิทยาลัยต่าง ๆ[21] ทำให้ปัจจุบันมีสถานที่และกลุ่มอาคารหลัก ประกอบไปด้วย

ปัจจุบัน

[แก้]
  • อาคารเจ้าคุณทหาร อยู่ในพื้นที่ทิศใต้ของคณะ ต่อเนื่องกับคลองประเวศบุรีรมย์เป็นอาคารที่มีลักษณะคล้ายกับรวงผึ้งหากมองจากภายนอก และเมื่อมองจากมุมสูง จะพบว่ามีการแบ่งเป็น 4 โถงอาคาร เชื่อมต่อกันด้วยอาคารหลักที่มีลานสำหรับทำกิจการมอยู่ตรงกลาง
  • โรงอาหารกลางน้ำ เป็นอาคารที่ยื่นออกไปกลางสระน้ำทิศใต้ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยประเทศญี่ปุ่น[5]ตั้งแต่ยุคก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าและยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยถูกใช้งานในรูปแบบอเนกประสงค์ ทั้งเป็นศูนย์อาหาร โรงฝึกงาน และหอประชุมตามโอกาสต่าง ๆ[22]
  • อนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นอนุสรณ์สำหรับท่านเจ้าคุณทหารที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ซึ่งท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต บุตรสาวของท่านเจ้าคุณทหารมอบพื้นที่ให้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเพื่ออุทิศให้กับงานด้านการศึกษา[23] ซึ่งชื่อของท่านได้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถาบัน คือคำว่า เจ้าคุณทหาร โดยอนุสาวรีย์ดังกล่าวสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2517[24]
  • อนุสาวรีย์อาจารย์ ดร.ปิฏฐะ บุนนาค ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารท่านแรก ตั้งอยู่กลางสวนปาล์มพฤษบูชา เพื่ออุทิศให้ท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต้นปาล์ม[25][26]
  • สโมสรนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารเจ้าคุณทหาร ประกอบไปด้วยตัวอาคารของสโมสรนักศึกษา ลานกิจกรรม และสนามบาส ต่อเนื่องกับสวนปาล์มพฤกษบูชาที่เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์อาจารย์ ดร.ปิฏฐะ บุนนาค
  • สตูดิโอริมน้ำ นิเทศศาสตร์เกษตร เป็นอาคารปฏิบัติการด้านนิเทศศาสตร์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร[27] ซึ่งปรับปรุงมาจากตัวอาคารปฏิบัติการเดิมของสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร[28] ซึ่งแต่เดิมสังกัดอยู่กับคณะเทคโนโลยีการเกษตร ภาควิชาเทคนิคเกษตร
  • แปลงปฏิบัติการทางการเกษตร อยู่ในพื้นที่ทิศเหนือของคณะ เป็นพื้นที่แปลงทดลองเกี่ยวกับการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ติดอยู่กับอาคารบุนนาค และวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ
  • ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หลักสูตรสัตวศาสตร์ อยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องจากแปลงปฏิบัติการทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ใช้สำหรับการปฏิบัติการด้านปศุสัตว์ของสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
อนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ในปี พ.ศ. 2566 พร้อมด้วยสวนหย่อมที่ออกแบบโดยสมาคมศิษย์เก่าฯตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

ในอดีต

[แก้]
  • กลุ่มอาคารเรียนกลางน้ำ เป็นอาคารเรียนของคณะเทคโนโลยีการเกษตรที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหลังอนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหารฯ หรือเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ปัจจุบันถูกรื้อถอนและพัฒนาเป็นลานจอดรถของหอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
  • อาคารบุนนาค แต่เดิมถูกใช้เป็นอาคารเรียนรวมและห้องปฏิบัติการทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยมีเนื้อที่ติดกับแปลงปฏิบัติการทางการเกษตร ปัจจุบันอาคารในทิศเหนือ (ติดถนนฉลองกรุง) ถูกปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานและใช้ในการเรียนการสอนของคณะบริหารธุรกิจ

ศิษย์เก่า

[แก้]

สมาคมศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสมาคมที่จดจัดตั้งเป็นสมาคมตามกฎหมายตั้งแต่ พ.ศ. 2529[29] มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ทุกหลักสูตร จะถือว่ามีคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมโดยปริยาย[30]

งานเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์

[แก้]

ในทุก ๆ ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร และสมาคมศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการเกษตร จะร่วมกันจัดงานเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยจะมีการวางพวงมาลาแด่อนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี[31][32] การจัดนิทรรศการทางวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานการวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษา[33] การเสวนา การอบรม การนำเสนอผลงานและการบรรยายทางวิชาการ[34] นอกจากนี้ยังมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งจากนักศึกษาเองและเกษตรกร เพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ทั้งพืช ผัก ผลไม้ สัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เครื่องมือทางการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ[35]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
  2. "หลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาใหม่ – Prince of Chumphon" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 29 2 มีนาคม 2522, พระราชบัญญัติ โอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทบวงมหาวิทยาลัย (ratchakitcha.soc.go.th)
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 70 ฉบับพิเศษ 8 พฤษภาคม 2524, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะเทคโนโลยีการเกษตร และสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2524 (ratchakitcha.soc.go.th)
  5. 5.0 5.1 5.2 แวววิเชียร อภิชาติวรพันธุ์, 2559. "ที่มาแนวคิดโรงเรียนและวิทยาลัยเทคนิค “ต้นแบบ” ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ. 2508-2513", วารสารหน้าจั่ว: ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 13(174-203)
  6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  7. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เก็บถาวร 2017-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "หลักสูตรปริญญาโท ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2017-09-07.
  9. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เก็บถาวร 2017-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. ปรัชญาดุษฏรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2554
  11. หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  12. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  13. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เก็บถาวร 2018-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  15. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  16. ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี แบบ Portfolio รอบที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร ประจำปีการศึกษา 2564
  17. "ปริญญาโท – SCHOOL OF AGRICULTURAL TECHNOLOGY" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  18. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑฺต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และการจัดการทรัพยากร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (kmitl.ac.th)
  19. "Agrinovator – Agricultural X Engineering KMITL" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  20. สีและดอกไม้ประจำคณะ เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  21. "คืบหน้า !! สจล. เผย 'รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร' พร้อมให้บริการประชาชนปี 2567 รุดผนึกพันธมิตร 'ธนาคารกรุงไทย' หนุน ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนงานโรงพยาบาลครบวงจร". mgronline.com. 2021-08-24.
  22. "Docomomo Thailand". www.docomomothailand.org.
  23. "อนุสรณ์"ท่านเจ้าคุณทหาร" ผู้มีประโยชย์กับสถาบันฯเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". www.agri.kmitl.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
  24. "อนุสรณ์"ท่านเจ้าคุณทหาร" ผู้มีประโยชย์กับสถาบันฯเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". www.agri.kmitl.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
  25. "รวมเรื่องเกี่ยวกับปาล์ม หนังสืออนุสรณ์ ดร.ปิฏฐะ บุนนาค". www.su-usedbook.com.
  26. "ชมสวนแสนปาล์ม - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  27. "Nitedkaset KMITL Open House 2017". CAMPHUB. 2017-11-01.
  28. "ภาควิชานวัตกรรมการสื่อสารและพัฒนาการเกษตร – SCHOOL OF AGRICULTURAL TECHNOLOGY" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  29. Agrikmitl, Admin. "ประวัติสมาคมศิษย์เก่า". agrikmitlalumni.com.
  30. Agrikmitl. "ข้อบังคับสมาคมฯ". agrikmitlalumni.com.((cite web)): CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. "09-02-2561-1 พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหาร ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะ เทคโนโลยีการเกษตร สจล. (11 กุมภาพันธ์) ณ บริเวณสวนป่าบุนนาค - ข่าว ประชาสัมพันธ์ คณะเทคโลยีการเกษตร สจล". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  32. Dangintawat, Suchada. "พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหาร(เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์)". School of Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  33. "เที่ยวงาน เกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ 2563". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
  34. "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". chaokhun.crsc.kmitl.ac.th.
  35. "งานเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ 2565". Pantip.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?