For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Walairukhavej Botanical Research Institute, Mahasarakham University
ชื่อย่อวลย. / WRBRI
คติพจน์ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
สถาปนา22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (31 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีผศ.ดร.สุดารัตน์ ถนนแก้ว
ที่อยู่
อาคารวิจัยและปฏิบัติการ ชั้น 2
· เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
สถานีปฏิบัติการนาดูน
· ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 44180
วารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สี   สีน้ำตาล-สีเหลือง
เว็บไซต์http://walai.msu.ac.th/th/

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Walairukhavej Botanical Research Institute, Mahasarakham University) เป็นสถาบันที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีสถานะเทียบเท่าคณะวิชา เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานนามหน่วยงานนี้ว่า “สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช” และประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536[1]

ประวัติ

[แก้]
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช

ในปีพ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม และ จังหวัดมหาสารคามได้ร่วมกันจัดทำโครงการสวนพฤกษชาติและศูนย์สนเทศพรรณไม้อีสานขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการอนุรักษ์ และขยายพรรณไม้พื้นเมือง นอกจากนี้ยังได้จัดเอกสารเผยแพร่และฝึกอบรมเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับประชาชนและเยาวชนด้วย ในระยะเริ่มต้นพื้นที่ดำเนินการจัดการ จัดทำสวนพฤกษชาติ ได้รับความอนุเคราะห์จากสภาตำบลเกิ้ง ให้ใช้ที่สาธารณะประโยชน์กุดแดง บ้านเกิ้ง ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 270 ไร่ ตารางวาเป็นแหล่งสะสมพรรณไม้โดยใช้ชื่อว่า “สวนพฤกษชาติและศูนย์สนเทศพรรณไม้อีสาน”

ต่อมาได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานนาม สวนแห่งนี้ว่า “สวนวลัยรุกขเวช” ในวันที่ 28 กันยายน 2531 จากความสำเร็จของโครงการ นี้ทางจังหวัดมหาสารคามจึงได้ขอ ให้ทางมหาวิทยาลัยขยายพื้นที่โครงการโดยมอบพื้นที่สาธารณะ ประโยชน์ โคกดงเค็ง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 650 ไร่ ตารางวา การดำเนินงานระยะแรกได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการอีสานเขียว เป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ 2532-2535 รวมงบประมาณ ทั้งสิ้น 20,689,520 บาท ต่อมาทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินการขอจัดตั้งโครงการ นี้ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย[2] ซึ่งได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานนามหน่วยงานนี้ว่า “สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช” เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 และประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536

หลักสูตร[3]

[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ไม่มีการเรียนการสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)[4]

  • สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)[5]

  • สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน

[แก้]

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสานก่อตั้งขึ้นจากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงหรือโครงการอีสานเขียว เมื่อปี พ.ศ. 2531[6] บนเนื้อที่ 150 ไร่ หนึ่งในโครงการของสถาบันวิจัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อศึกษาปฏิบัติการด้านสังคมศาสตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิต สังคมวัฒนธรรมอีสาน ในรูปแบบวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กับการศึกษาปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เรื่องพืชสมุนไพรและพันธุ์ไม่ไผ่ในเอเชีย โดยจำรองวิถีต่างๆ ของชาวอีสานตั้งแต่เรือนเย้า เรือนภูไท และเรือนอีสาน[7]

ภายในบ้านจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ประจำวันของชาวอีสาน นำเสนอภาพชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ดำรงอยู่ด้วยข้าวและน้ำ ด้วยเหตุผลที่อีสานเป็นสังคม เกษตรกรรมทำนา ที่จำเป็นต้องอาศัยน้ำเป็นหลัก และยังเชื่อมโยงไปสัมพันธุ์กับวิถีชีวิตการดำรงชีวิตที่ผู้คนจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องปลา ป่าไม้ ป่า เกลือ ด้วย โดยแบ่งออกเป็นบริเวณต่างๆ ได้แก่ โรงเกวียน หมู่บ้านอีสาน เถียงนา กองฟาง โรงแสดงกลางแจ้ง และบริเวณที่พักผ่อน ภายในบริเวณหมู่บ้านอีสาน จัดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของเรือนกับวิถีชีวิตระบบ ครอบครัว เครือญาติ เศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ภายในเรือนอีสานแต่ละหลังได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวอีสาน รวมทั้งข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ และความเชื่อในการใช้พันธุ์ไม้ของชาวอีสาน

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับพระบรมธาตุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โดยจะอยู่ทางซ้ายมือของถนนทางเข้าก่อนถึงพระบรมธาตุนาดูน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เข้าชมฟรี ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.30 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีปฏิบัติการนาดูน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ลานมอส

[แก้]

ลานมอส อีกหนึ่งจุดน่าสนใจในบริเวณของพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นั่นก็คือลานมอสที่ขึ้นบนอิฐปูพื้น เป็นมอสที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากปัจจัยที่เหมาะสมทั้งความชื้นและสภาพแสงที่พอเหมาะ แต่ลานมอสนี้จะมีให้ชมความงามเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น โดยลานมอสจะอยู่ใต้ร่มไม้บริเวณทางเข้าชมด้านข้างของพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน มีพื้นที่ไม่กว้างมากนัก แต่ถ้าเลือกมุมดีๆก็ถ่ายรูปออกมาได้สวยงามเช่นกัน

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย

[แก้]

รายนามผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)


ทำเนียบผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[8]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
ไม่มีการบันทึก พ.ศ. 2535 - 2549
1. รศ.ปรีชา เทพา พ.ศ. 2550 - 2551
2. รศ.โรจน์ชัย ศัตรวาหา พ.ศ. 2551 - 2559 (สองวาระ)
3. รศ.วีระชัย สายจันทา พ.ศ. 2559 - 2559
4. รศ.ไพโรจน์ ประมวล พ.ศ. 2559 - 2563
5. ผศ.ดร.สุดารัตน์ ถนนแก้ว พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านาม เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช : พระราชทานนามสถาบันวิจัย เก็บถาวร 2020-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 1 กันยายน 2564.
  3. "หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มมส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  4. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช : หลักสูตรมหาบัณฑิต เก็บถาวร 2021-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 กันยายน 2564.
  5. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช : หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต เก็บถาวร 2021-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 กันยายน 2564.
  6. สาร MSU Online. พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน. 10 พฤษภาคม 2565.
  7. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Walai Rukhavej Botanical Research Institute. พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน. เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10 พฤษภาคม 2565.
  8. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : รายนามผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช, 1 กันยายน 2564

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?