For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงพยาบาลร้อยเอ็ด.

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
Roi Et Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
ที่ตั้ง111 ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง5 กันยายน พ.ศ. 2483 (83 ปี)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้อำนวยการนพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล
จำนวนเตียง977[1]
แพทย์121 คน[2]
เว็บไซต์http://www.reh.go.th/

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ขนาด 820 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 111 ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประวัติ

[แก้]

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ก่อตั้งครั้งแรกในวันที่ 5 กันยายน 2483 บริเวณที่ดินสโมสรเสือป่า เนื้อที่ 45 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากรและผู้ป่วย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ยกฐานะโรงพยาบาลร้อยเอ็ดขึ้นเป็น โรงพยาบาลศูนย์ร้อยเอ็ด เพื่อสกัดกั้นผู้ป่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดมิให้ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในการขอรับบริการที่มีคุณภาพจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และเพื่อรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจังหวัดอื่นๆ ที่มีอยู่โดยรอบ ตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุข[3]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา

ระยะเวลาในการศึกษา

[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 โดยใช้ระบบรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ทั้งสิ้น 1 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) คณะแพทยศาสตร์[4]

โดยคณะเปิดรับเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม และสกลนคร

อ้างอิง

[แก้]
  1. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, สถานที่และเครื่องมือแพทย์ ร้อยเอ็ด 22 สิงหาคม 2564.
  2. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 22 สิงหาคม 2564.
  3. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, ประวัติสถานพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เก็บถาวร 2021-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 22 สิงหาคม 2564.
  4. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?