For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University
ชื่อย่อสวล. / ENV
สถาปนา17 กันยายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีรศ.ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว
ที่อยู่
อาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
สี  สีเขียวอ่อน
มาสคอต
ช่อประดู่ป่า
เว็บไซต์env.msu.ac.th

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นโดยมติสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นคณะลำดับที่ 16 ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) และได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ประวัติ

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์โดยสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดสอนเป็นครั้งแรกใน 3 หลักสูตร ได้แก่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2547 และได้เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา โดยการเรียนการสอนในหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาและส่งเสริมการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคอีสาน และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในขณะเดียวกันการศึกษาวิจัย การให้บริการสังคม และการประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นภารกิจสำคัญของโครงการฯไปพร้อมกันด้วย[1]

ในภาคเรียนต้นปีการศึกษา 2548 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ขยายการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโท ไปที่ศูนย์ฯ อุดรธานีอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการขยายการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ได้รับโอนย้ายสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จากคณะเทคโนโลยี มาเป็นหน่วยงานในสังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์[2]

ปัจจุบัน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานเป็นสำนักเลขานุการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และสำนักวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา และในปีการศึกษา 2560 มีบุคคลากรทั้งหมดรวม 54 คน มีจำนวนนิสิตทั้งหมด 1,011 คน[3]

สัญลักษณ์

[แก้]
  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากรประดับด้วยใบประดู่ป่า ด้านล่างเป็นแถบชื่อคณะภาษาอังกฤษเขียนว่า “Faculty of Environment and Resource studies”

  • สีประจำคณะ

  สีเขียวอ่อน

  • ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ

ต้นประดู่ป่า คือต้นไม้ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยงานภายใน

[แก้]

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้


การบริหารงานภายในคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    • งานบริหารทั่วไป
    • งานวิชาการ
    • งานวิจัยและบริการวิชาการสังคม
    • งานประกันคุณภาพ
    • งานพัฒนานิสิตและกิจการพิเศษ
  • สำนักวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยกรศาสตร์ (เทียบเท่าภาควิชา)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง
  • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน
  • ศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว

หลักสูตร

[แก้]

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โทและเอกใน 4 หลักสูตร 10 สาขาวิชา ดังนี้


หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[4]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาและเกษตรศึกษา[5]
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

ทำเนียบคณบดี

[แก้]

ทำเนียบคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย วีระวัฒนานนท์ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี  นาวานุเคราะห์ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 – 1 เมษายน พ.ศ. 2556
3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ สายกระสุน 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 10 กันยายน พ.ศ. 2556
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง 5 มกราคม พ.ศ. 2558 – 4 มกราคม พ.ศ. 2562
5. รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว 5 มกราคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน

สถานที่ตั้งและพื้นที่

[แก้]
อาคารเรียนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
อาคารปฏิบัติการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพที่แต่เดิมเป็นของคณะสาธารณสุขศาสตร์ (ภายหลังคณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ย้ายไปยังอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปลีคลินิก) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์

อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพ เดิมทีเป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ก่อสร้างอาคารเรียนคณะสาธารณสุขศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 ด้วยงบประมาณเงินแผ่นดินปี พ.ศ. 2546 รวมวงเงินงบประมาณที่ก่อสร้างทั้งสิ้น 32,100,000 บาท เลขที่สัญญาจ้าง จ.34/2546 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2547 บริษัทผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุทัศน์วิศวการ โดยใช้เป็นอาคารเรียนคณะสาธารณสุขศาสตร์ ลักษณะของอาคาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 7,400 ตารางเมตร

จากนั้นได้มีการปรับผังอาคารในมหาวิทยาลัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ย้ายที่ทำการไปอาคารใหม่ข้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ย้ายจากเขตพื้นที่ในเมืองคณาสวัสดิ์ ตำบลตลาด มาเป็นที่ทำการแทน

ปัจจุบันอาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประกอบด้วย

  • ชั้น 1
    • ห้องคณบดี
    • ห้องสำนักงานคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรสาสตร์
    • ติดต่อ สอบถาม
    • สโมสรนิสิต
    • ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา
    • ห้องผลิตสื่อสิ่งแวดล้อมศึกษา/ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
  • ชั้น 2
    • สำนักงานสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
    • สำนักงานสาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรและสาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและการปรับตัว
    • ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
    • ศูนย์วิจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมนานาชาติ
  • ชั้น 3
    • ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
    • ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
  • ชั้น 4
    • สำนักงานสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    • สำนักงานสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
    • ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน
    • ศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความ ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
    • ห้องค้นคว้าด้วยตนเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ประวัติคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ประวัติคณะเทคโนโลยี. 16 มิถุนายน 2564.
  3. "รายงานข้อมูลพื้นฐาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2560" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. หลักสูตร
  5. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. แผนหลักสูตรและแผนการรับนิสิต ปีการศึกษา 2566-2570. 20 มีนาคม 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?