For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University
สถาปนา2 มีนาคม พ.ศ. 2527; 40 ปีก่อน (2527-03-02)
สังกัดการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีขำคม พรประสิทธิ์
ที่อยู่
สี  สีแดงเลือดนก
เว็บไซต์www.faa.chula.ac.th
อาคารศิลปกรรม 1 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2527 นับเป็นคณะที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากด้านการสอนแล้ว คณะศิลปกรรมศาสตร์ยังทำหน้าที่วิจัย บุกเบิก และพัฒนาวิชาการด้านศิลปกรรม รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของไทยในสาขาศิลปะและการออกแบบ (อันดับที่ 151 – 200 ของโลก และเป็นแห่งเดียวที่ติดอันดับ) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subject[1]

ประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2514 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอโครงการ "ศิลปกรรมศาสตร์" ครั้งแรกในการสัมมนาหัวหน้าแผนกวิชาเรื่อง "การพัฒนาการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุขุม ศรีธัญญรัตน์ เป็นประธาน ได้เสนอในที่ประชุมให้ทราบในหลักการบางตอนว่า "โครงการที่เป็นโครงการใหม่ก็คือการพิจารณาจัดตั้งหน่วยวิชาการทางศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และการศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะดำเนินการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นในแผนพัฒนาระยะที่ 4 ซึ่งจะเริ่มปีการศึกษา 2519 เป็นต้นไป ทั้งสองเรื่องนี้ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเล็งเห็นการณ์ไกล คำว่าศิลปกรรมศาสตร์ที่ใช้นี้ เราหมายถึง Fine and Applied Arts ซึ่งมีคำแปลแยกกันที่ยังหาคำไทยเหมาะสมมาแปลร่วมกันมิได้ จึงขอใช้คำว่าศิลปกรรมศาสตร์ไปพลางก่อน หน่วยงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์นี้อาจครอบคลุมวิชาการทุกสาขาด้านศิลปะอย่างสมบูรณ์ เช่น วิจิตรศิลป์ เนรมิตศิลป์ ศิลปทฤษฎี หรือ ดุริยางค์ และศิลปการแสดง เป็นต้น ในจุดที่ดูเหมือนจะเป็นช่องว่างของมหาวิทยาลัยของเราตลอดเวลาคือ เรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รสนิยม และสุนทรียะ หน่วยงานใหม่ของเรานี้จะประสานงานและเกื้อกูลซึ่งกันและกันกับหน่วยวิชาการเดิมของเราอย่างไร"
  • พ.ศ. 2517 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นกรรมการที่ปรึกษา โครงการได้รับการพิจารณาให้อยู่ในแผนพัฒนาระยะที่ 4 พ.ศ. 2520–2525 สมัยของศาสตราจารย์ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เป็นอธิการบดี โดยหลักการให้จัดตั้งเป็น "คณะศิลปกรรมศาสตร์" ประกอบด้วย 5 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ศิลปการละคร และวรรณศิลป์ ต่อมาคณะกรรมการได้พิจารณาให้ยุบเหลือเพียง 4 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์
  • พ.ศ. 2526 เปิดทำการเรียนการสอนปีการศึกษา 2526 เป็นปีแรก โดยเปิดเพียง 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาทัศนศิลป์และภาควิชาดุริยางคศิลป์ ต่อมา ปีการศึกษา 2528 เปิดรับนิสิตภาควิชานฤมิตศิลป์ และปีการศึกษา 2531 เปิดรับนิสิตภาควิชานาฏยศิลป์ตามลำดับ[2]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • พระบรมวงศานุวงศ์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]

หน่วยงานและหลักสูตร

[แก้]


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาทัศนศิลป์ เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ภาควิชานฤมิตศิลป์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาเรขศิลป์
  • สาขาวิชาหัตถศิลป์
  • สาขาวิชามัณฑนศิลป์
  • สาขาวิชานิทรรศการศิลป์
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาเรขศิลป์
  • สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ
ภาควิชาดุริยางคศิลป์ เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต[4]
  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก
  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาการประพันธ์เพลง

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย
ภาควิชานาฏยศิลป์ เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชานาฏยศิลป์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.topuniversities.com/university-rankings/university-subject-rankings/2017/art-design
  2. www.faa.chula.ac.th/site/index.php?option=com_content&view=article&id=58&Itemid=61
  3. www.cca.chula.ac.th/protocol/graduation-ceremony/34-graduation2551.html
  4. www.faa.chula.ac.th https://www.faa.chula.ac.th/department/show/56. ((cite web)): |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?