For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา.

โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา

บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง
โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา
Muangsamsip Amphawanwittaya School
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.อ.ว.
คำขวัญศึกษาดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม
สถาปนา9 สิงหาคม 2519
สีม่วง-ขาว
เพลงมาร์ชอัมพวัน
เว็บไซต์http://www.amphawanwit.ac.th/

โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยาเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 และเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอม่วงสามสิบ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 โดยปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 1,700 คน มีบุคลากรในสถานศึกษาประมาณ 65 คน และมีเนื้อที่ 151 ไร่ 68 ตารางวา

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลตำบลม่วงสามสิบ 800 เมตร โดยตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 บ้านม่วงสามสิบ ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ดังนี้

  • พ.ศ. 2516 เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.) โดยร่วมใช้อาคารเรียนที่โรงเรียนม่วงสามสิบ(อำนวยปัญญา) รับนักเรียนแบบสหศึกษา มีนักเรียน 70 คน มีครูอาจารย์จากหมวดการศึกษาอำเภอม่วงสามสิบ จำนวน 3 คน มาทำการสอน นายสัมพันธ์ แก้วอ่อน รักษาการตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2517 ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2517 และยังคงร่วมใช้อาคารเรียนกับโรงเรียนม่วงสามสิบ (อำนวยปัญญา) เช่นเดิม มีนักเรียน 188 คน ครู-อาจารย์ 6 คน นายวิเชียร วรรณพงศ์ ดำรงดำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2518 โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยาได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก ห้องน้ำห้องส้วม 1 หลัง โดยใช้พื้นที่ที่ราชพัสดุ (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) จำนวน 151 ไร่ 68 ตารางวา มีนักเรียน 340 คน ครู-อาจารย์ 14 คน นายวิเชียร วรรณพงศ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณก่อสร้างต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 ก และงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง ปัจจุบันโรงเรียนดงยางวิทยาคมนำไปปลูกสร้างเพื่อใช้สอย) บ้านพักครู 2 หลัง บ้านพักนักการภารโรง 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วม 1 หลัง มีนักเรียน 12 ห้องเรียน นักเรียน 440 คน ครู-อาจารย์ 14 คน นักการภารโรง 2 คน นายวิเชียร วรรณพงศ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง (ปัจจุบันปรับปรุงใช้เป็นโรงอาหาร) มีจำนวน 15 ห้องเรียน นักเรียน 496 คน ครู-อาจารย์ 25 คน นักการภารโรง 2 คน นายธำรงค์ แพรนิมิตร ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
  • ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันปีการศึกษา ผ่านการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพ จากสำนักงานมาตรฐานการศึกษา (สมศ.) การก่อสร้างอาคารไอซีทีพระมงคลกิตติธาดา แล้วเสร็จ มีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และขยายเครือข่าย (Network) จากอาคารไอซีทีไปยังอาคารเรียนถาวรอื่นๆด้วยสายไฟเบอร์ออพติกเมื่อปลายปีการศึกษา 2549 (ยังไม่เปิดทำการเรียนการสอน) ในปีการศึกษา 2549 มีนักเรียน 1,762 คน ห้องเรียนตามจัด 39 ห้องเรียน ครู 66 คน ครูพิเศษ 9 คน พนักงานราชการ 4 คน นักการภารโรง 8 คน คนขับรถ 1 คน ยาม 2 คน คนสวน 1 คน นายวีระพล เวชพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา
  • ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐาน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) โรงเรียนได้รับรางวัลระบบต้านยาเสพติดจากสภากาชาดไทย โล่เกียรติคุณการสวนมนต์ทำนองสรภัญญะและการบรรยายธรรม จากกรมการศาสนา และได้รับรางวัลห้องน้ำห้องส้วมดีเด่นระดับจังหวัด โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานระบบต้านยาเสพติดของสภากาชาดไทย โรงเรียนได้เป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าแข่งขันโครงงานสุขภาพระดับชาติได้รับรางวัลเหรียญเงิน นายชลวิทย์ ธรรมานุชิต ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
  • ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร
  • ปีการศึกษา 2553 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 สหวิทยาเขต ที่ 1 ส่งเสริมนักเรียนเข้าแข่งทักษะทางวิชาการ เป็นตัวแทนเขตพื้นที่เข้าแข่งขัน ในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศิลปศึกษา และการงานอาชีพ ทีมฟุตบอลหญิงยังได้รางวัลชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?