For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม.

โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (ธันวาคม 2565) (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม
Phichit Pittayakom School
ไฟล์:ตราโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม.png
ตราโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม
ที่ตั้ง
โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ถนนพิจิตร-กำแพงเพชรอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.พ.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญเรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม กิจกรรมนำหน้า พัฒนาสิ่งแวดล้อม
สถาปนาพ.ศ. 2441
ผู้อำนวยการผู้อำนวยการ
ดร. ชุมพล สุวิเชียร
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6
สี  สีน้ำเงิน ,   สีชมพู
เพลงมาร์ชพิจิตรพิทยาคม
เว็บไซต์http://www.phichitpittayakom.ac.th/

โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม (อังกฤษ: Phichit Pittayakom School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลในอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนหนึ่งของจังหวัดพิจิตร ได้เปิดสอนมานานกว่า 125 ปีแล้ว มีนักเรียนตั้งแต่เริ่มเปิดสอน จนถึงปัจจุบันมากกว่า 33,300 คน ปัจจุบันได้เปิดสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 และยังเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐประจำจังหวัด ของจังหวัดพิจิตรอีกด้วยโดยมี ดร. ชุมพล สุวิเชียร เป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม หรือ พิจิตรวิทยาคม พิจิตรกัลยาณี แต่เดิมนั้นเปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ถึงชั้นมัธยมศึกษา โดยในตอนแรกได้เปิดการสอนที่ศาลาการเปรียญ วัดฆะมัง ตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ต่อมาในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ได้มีการย้ายโรงเรียนจากตำบลฆะมัง ไปเปิดสอนที่วัดท่าหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร แต่เดิมนั้นเป็นเพียงโรงเรียนวัดเล็ก ๆแห่งหนึ่ง โดยใช้โรงทำกระเบื้องเป็นห้องเรียนที่ทำการสอนให้กับนักเรียน นักเรียนยังคงนั่งเรียนกับพื้น อาศัยม้านั่งเป็นที่เขียนหนังสือ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ในช่วงที่พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้มีการปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นมาครั้งแรก ในเขตวัดท่าหลวง เป็นอาคารชั้นเดียวทรงปั้นหยาไม่มีมุข มีฝารอบแต่ไม่กั้นเป็นห้อง ขนาดกว้าง 6.5 เมตร ยาว 30 เมตร ยกพื้นสูง 1.5 เมตร เสาไม้เต็ง เครื่องบนไม้พลวง พื้นและฝาไม้ตะแบกหลังคามุงสังกะสี ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 นับเป็นอาคารเรียนแห่งแรกของโรงเรียน จากเดิมที่เป็นเพียงห้องเรียนในโรงทำกระเบื้อง โดยมีพระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เป็นประธานพิธี ต่อมามีการสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกหลัง ซึ่งทางด้านใต้ของอาคารทั้งสองมีต้นพิกุลขนาดใหญ่อยู่ ในตอนแรกจึงเรียกโรงเรียนนี้กันว่า โรงเรียนร่มพิกุล

จนกระทั่ง พ.ศ. 2473 ขุนคุรุการพิจิตร (เทียม พฤกษะวัน) ศึกษาธิการจังหวัดในสมัยนั้น ได้เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้ทรุดโทรมมาก จึงมีการเรี่ยรายเงินมาสร้างอาคารเรียนใหม่ เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ มี 5 ห้องเรียน ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2474 ทำพิธีเปิดเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2474

ต่อมามีการแยกโรงเรียนจากเดิมที่เป็นโรงเรียนเรียนรวมชายและหญิง มาเป็นโรงเรียนชาย กับโรงเรียนหญิงในปี พ.ศ. 2475 โดยแบ่งเป็นโรงเรียนพิจิตรวิทยาคม และโรงเรียนพิจิตรกัลยาณี มี ร.อ.ท.ขุนศึกษากิจพิสัณห์ ศึกษาธิการจังหวัด เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนพิจิตรกัลยาณีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งที่ตั้งของโรงเรียนพิจิตรกัลยาณี คือที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลพิจิตรในปัจจุบัน

การแยกโรงเรียนได้ดำเนินมาถึงปี พ.ศ. 2515 โรงเรียนพิจิตรวิทยาคม และโรงเรียนพิจิตรกัลยาณี ก็ได้กลับมารวมกันเป็นโรงเรียนเดียวกันอีกครั้งในชื่อ โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ตามแนวคิดรวมโรงเรียนของกรมสามัญศึกษา ได้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนมายังตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และได้อยู่ในโครงการ สคศ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521[1]

ปัจจุบัน โรงเรียนพิจิตรพิทยาคมได้เข้าโครงการ คมภ.2 รุ่นที่ 5 ได้มีการสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมจากเดิม และพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก ได้เปิดสอนเฉพาะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีอาจารย์ผู้สอนมากกว่า 135 คน นักเรียนที่ยังเรียนอยู่ไม่ต่ำกว่า 2,800 คน โดยมี ดร.ชุมพล สุวิเชียร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน

การจัดการศึกษา

[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติโรงเรียน". www.phichitpittayakom.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-21. สืบค้นเมื่อ 2023-11-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?