For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนผดุงนารี.

โรงเรียนผดุงนารี

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
โรงเรียนผดุงนารี
Phadungnaree school

Phadungnaree school
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นผ.น. / P.N.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญค.ม.ส.3
ความรู้ดี มีมารยาท สะอาด สามัคคี มีสุขภาพ
สถาปนา9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 (97 ปี 305 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส10440102
ผู้อำนวยการนายพีรนนท์ เหล่าสมบัติ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
สี   กรมท่า - ฟ้า
เพลงมาร์ชผดุงนารี
เว็บไซต์phadungnaree.ac.th

โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดมหาสารคามซึ่งแต่เดิมเคยรับเฉพาะนักเรียนหญิง แต่ในปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา เช่นเดียวกับโรงเรียนชายประจำจังหวัดคือ โรงเรียนสารคามพิทยาคม โรงเรียนผดุงนารีตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ถนนนาควิชัย ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2469 ซึ่งมีประวัติยาวนานกว่า 90 ปี ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนมากกว่า 4500 คน และบุคลากรทางการศึกษากว่า 250 คน

ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนผดุงนารีมีแผนชั้นเรียนเป็น 18-18-18/15-15-15 รวม99 ห้องเรียนและห้องGifted ตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6

ประวัติ

[แก้]

การกำเนิดโรงเรียน (พ.ศ. 2449-พ.ศ. 2469)

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2449 พระพิทักษ์นรากร หรือพระเจริญราชเดช (อุ่น  ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)  เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก  ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองมหาสารคามที่วัดโพธิ์ศรีวรารามและวัดนาควิชัย แล้วอาราธนาพระภิกษุมาเป็นครูสอน มีนักเรียนเฉพาะชายล้วน ๆ ต่อมาได้ช่วยกันบำรุง ส่งเสริมโรงเรียนที่วัดโพธิ์ศรีให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ

การศึกษาของเด็กหญิงในเมืองมหาสารคามในสมัยนั้นก็เช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ คือ จัดให้เรียน  ตามบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คหบดี โดยมีการ

รวบรวมบุตรข้าราชการผู้ใหญ่และบุตรคหบดีแล้วหาครูมาสอนให้ ดังนั้นการศึกษาของเด็กผู้หญิงจึงอยูในวงจำกัดและส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเหมือนเด็กทั่วไป  วิชาที่เรียนส่วนมากเป็นวิชาการเรือน (เย็บปักถักร้อย การทำครัว การจัดดอกไม้) อันเป็นกิจจำเป็นของสตรีในสมัยนั้นเป็นส่วนใหญ่และเรียนหนังสือบ้างพอให้อ่านออกเขียนได้เท่านั้น

ในสมัยของพระประชากรบริรักษ์ (สาย  ปาลนันท์) ผู้ว่าราชการเมือง (เจ้าเมือง) คนที่ 7 ของมหาสารคามเห็นว่าโรงเรียนประจำจังหวัดต้องอาศัยเรียนที่ศาลาวัดโพธิ์ศรี (ชื่อโรงเรียนวัดโพธิ์ศรีสามัคคี) เป็นการไม่สะดวกแก่การศึกษาจึงขออนุญาตให้จ่ายเงินเรี่ยไรบำรุงการศึกษาจำนวน 15,500 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) เมื่อมณฑลร้อยเอ็ดอนุญาตมาแล้วก็เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2468 เป็นอาคารไม้ชั้นครึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังสถานีตำรวจ (ในปัจจุบัน) และเป็นเป็นสถานศึกษาเรียกว่าโรงเรียนประจำจังหวัดมหาสารคาม “สารคามพิทยาคม” มีนักเรียนรวมกันทั้งชาย-หญิง

ต่อมา การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสตรี จึงมีผู้นิยมส่งบุตรหลานให้ได้เล่าเรียนในโรงเรียนมากขึ้น 

ครั้นถึงสมัยของผู้ว่าราชการเมือง (เจ้าเมือง) คนที่ 8 อำมาตย์โทพระเริงนฤปการ (อนงพยัคฆันต์)   ซึ่งภายหลังได้เลื่อนเป็นพระยาสารคามคณาภิบาล ดำริได้ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดมีการสอนเด็กชายหญิงเรียนกะปนกัน ต่อไปการศึกษาคงจะไม่เจริญเต็มที่ได้เพราะผู้ปกครองเด็กหญิงรังเกียจที่จะให้บุตรหลานของตนเรียนรวมกับเด็กชาย จึงจัดสร้างโรงเรียนสตรีขึ้นหลังหนึ่งเป็นโรงเรียนชั่วคราวในบริเวณเดียวกัน  พอแบ่งนักเรียนแยกออกอาศัยเรียนไปพลางก่อนและทำพิธีเปิดโรงเรียนเป็นโรงเรียนสำหรับสตรี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469  ศึกษาธิการจังหวัดสมัยนั้นคือ อำมาตย์ตรีขุนประสาทวิทยากิจ

ความก้าวหน้าของผดุงนารีจากอดีตถึงปัจจุบัน

[แก้]

นับจากวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469  เป็นต้นมา การศึกษาเล่าเรียนของเด็กชาย-หญิง ในเมืองมหาสารคามแยกจากกันโดยเด็ดขาด เด็กหญิงมีโรงเรียนเฉพาะผู้หญิง มีครูใหญ่คนแรก นางสาวทองคำ  ศรีสารคาม (พรชัย) มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนนักเรียนในโรงเรียนเมื่อเปิดครั้งแรกมีจำนวนนักเรียน  33  คน มีครู 3 คน (รวมทั้งครูใหญ่ด้วย)

ปี พ.ศ. 2470  ได้มีการจัดสร้างอาหารเรียนถาวรขึ้น ตามแบบกระทรวงธรรมการ หลังคามุงกระเบื้อง ได้จ่ายเงินค่าศึกษาพลีไปเป็นค่าเหล็ก ค่าแรงและค่ากระเบี้ยง  เป็นจำนวนเงิน 2,016.70 บาท (สอนพันสิบหกบาทเจ็ดสิบสตางค์) โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 และแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2470 โดยที่ไม่ต้องซื้อเพราะของบริจาคจากราษฎร เมื่อสร้างเสร็จได้ให้นามโรงเรียนเสียใหม่ว่า “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดมหาสารคาม” (ส่วนคำว่า “ผดุงนารี” มาเพิ่มเข้าภายหลัง)

ในปี พ.ศ. 2482' ได้ขยายโอกาสการศึกษาโดยเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รุ่นแรก จำนวน 7 คน

ปีการศึกษา 2506 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนกศิลปะ จำนวน 1 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2516 ได้เปิดสอนแผนกทั่วไปชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน 2 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2518 ได้เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 6 โปรแกรมการเรียน

ปีการศึกษา 2521 ได้เปิดสอนในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521

ปีการศึกษา 2524 ได้เปิดสอนโดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524

ปีการศึกษา 2533 เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและเปิดสอนโดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา ฉบับปรังปรุงพุทธศักราช 2533 ตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6

ปีการศึกษา 2551 เปิดสอนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศส มีแนการจัดชั้นเรียนเป็น 12-10-10/10-10-10  รวม 62 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้เปิดสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  ในระดับชั้น ม.1 และ ม.4  มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 12-12-10/10-10-10  รวม  64  ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (ม.4  จำนวน 1 ห้อง) โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา  มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 12-12-12/11-10-10  รวม  67 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนจัดโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (ม.1  จำนวน 2 ห้อง ม.4 จำนวน 1 ห้อง) ดำเนินการก่อสร้างอาหารเรียน แบบ 324 ล (ตอกเข็ม) เปิดสอนแผนการเรียนศิลป์-ธุรกิจ  มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 16-12-12/12-11-10  รวม 73 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนได้ปรับปรุงถนนลาดยางในบริเวณโรงเรียน  เปิดสอนแผนการเรียนศิลป์-จีน มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 16-16-12/13-12-11  รวม 80 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2556 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 16-16-16/13-13-12  รวม 86 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2557 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 18-16-16/15-13-13  รวม 91 ห้องเรียน  เปิดสอนแผนการเรียนทั่วไป (ศิลป์-การงานฯ) และภาษาเวียดนาม

ปีการศึกษา 2558 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 18-18-16/15-15-13  รวม 95 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2559 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 18-18-18/15-15-15  รวม 99 ห้องเรียน[1]

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

โรงเรียนผดุงนารีเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายสายสามัญ

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
  1. วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  2. ศิลป์ - คำนวณ
  3. ศิลป์ - ภาษา
  4. ศิลป์ - ฝรั่งเศส
  5. ศิลป์ - จีน
  6. ศิลป์ - เวียดนาม
  7. ศิลป์ - ญี่ปุน
  8. ศิลป์ - เกาหลี
  9. คอมพิวเตอร์ - ธุรกิจ
  10. ศิลป์ - ดนตรี
  11. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนผดุงนารี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?