For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนชลราษฎรอำรุง.

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง

โรงเรียนชลราษฎรอำรุงคอนแวนต์ จังหวัดชลบุรี
Chonradsadornumrung Convent School
ตราประจำโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นช.ร.อ./ CRU
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี
คำขวัญปญฺญาวุโธ ผู้มีปัญญาเป็นอาวุธ
สถาปนาโรงเรียนบุรพการ พ.ศ. 2441-2457
โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2457-2474
โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2474 (92 ปี 285 วัน)
ผู้ก่อตั้งหลวงวรพินิจบุรพการ
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1012200102
ผู้อำนวยการดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
จำนวนนักเรียน3,342 คน
สี  ส้ม
  ฟ้า
เพลง[ https://www.youtube.com/watch?v=ILgHtzv4_2Q มาร์ชชลราษฎรอำรุง] ส้ม-ฟ้า สามัคคี , ส้ม-ฟ้า เรามาชิงชัย
เว็บไซต์http://www.cru.ac.th

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และ เป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดชลบุรี โดยมีผู้อำนวยการชื่อ ดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ โดยมีชื่อที่เรียกกันติดปากของชาวชลบุรีว่า “ชลชาย” โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ตั้งอยู่เลขที่ 215 หมู่ที่ 3 ถนนพระยาสัจจา ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี[2] สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 67 ไร่ 2 งาน 69.7 ตารางวา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3) เฉพาะนักเรียนชาย และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6) เปิดสอนแบบสหศึกษา

ประวัติ

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2457 โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี(บุรพการ) และโรงเรียนอุดมพิทยากรรวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน เรียกว่า โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่บุรพการ และระดับประถมศึกษาที่อุดมพิทยากร ต่อมาชาวชลบุรีได้ร่วมกันบริจาคสมทบทุนสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรีที่โรงเรียนอนุบาลชลบุรีในปัจจุบัน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมาเรียนรวมกันเป็นเอกเทศ เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โรงเรียนได้พัฒนาทั้งทางด้านการจัดการศึกษา ปริมาณนักเรียนและอาคารสถานที่ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการสั่งให้แยกนักเรียนเป็นชายและหญิง เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2474 สหศึกษาจึงเลิกไป แต่โรงเรียนสตรียังไม่มีสถานที่จึงอาศัยเรียนร่วมกันไปก่อน และแยกออกไปเป็น โรงเรียนชลกันยานุกูล เมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2479 โรงเรียนได้เติบโตมาโดยตลอดโดยเฉพาะด้านปริมาณนักเรียนสถานที่โรงเรียนคับแคบไป จึงย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่บริเวณศูนย์การค้าวรพรต

วันที่ 3 มิถุนายน 2484 เป็นวันแรกที่ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมมาตั้งใหม่ที่บริเวณถนนสุขุมวิท บนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ของวัดอรัญญิกาวาส เพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นโรงเรียนได้พัฒนาการสอนโดยเปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษาและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ในปัจจุบัน ชาวส้ม-ฟ้า จึงถือว่า วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน[2]

เมื่อ พ.ศ. 2501 โรงเรียนชลราษฎรอำรุงเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมรุ่นที่ 4 กรมวิสามัญได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจโรงเรียน เพื่อดำเนินการสร้างอาคารเรียนและอารารประกอบ แต่ไม่สามารถขยายโรงเรียนได้ตามโครงการได้ นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้น ได้มองเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา ได้พิจารณาจัดสรรที่ดินของกองทัพอากาศไทยประมาณ 70 ไร่บริเวณสี่แยกบ้านสวนริมถนนสุขุมวิทติดกับถนนวิรัชศิลป์ และแยกวิรัชศิลป์ริมถนนวิรัชศิลป์กับถนนพระยาสัจจา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ถือกำเนิดโดย หลวงวรพินิจบุรพการได้อุทิศเรือนหลังหนึ่งสร้างเป็นโรงเรียนขึ้นที่วัดต้นสนเมื่อปี พ.ศ. 2441 ชื่อโรงเรียนบุรพการ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2443

เมื่อ พ.ศ. 2457 โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี(บุรพการ) และโรงเรียนอุดมพิทยากรรวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน เรียกว่า โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่บุรพการ และระดับประถมศึกษาที่อุดมพิทยากร ต่อมาชาวชลบุรีได้ร่วมกันบริจาคสมทบทุนสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรีที่โรงเรียนอนุบาลชลบุรีในปัจจุบัน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมาเรียนรวมกันเป็นเอกเทศ เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โรงเรียนได้พัฒนาทั้งทางด้านการจัดการศึกษา ปริมาณนักเรียนและอาคารสถานที่ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการสั่งให้แยกนักเรียนเป็นชายและหญิง เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2474 สหศึกษาจึงเลิกไป แต่โรงเรียนสตรียังไม่มีสถานที่จึงอาศัยเรียนร่วมกันไปก่อน และแยกออกไปเป็น โรงเรียนชลกันยานุกูล เมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2479 โรงเรียนได้เติบโตมาโดยตลอดโดยเฉพาะด้านปริมาณนักเรียนสถานที่โรงเรียนคับแคบไป จึงย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่บริเวณศูนย์การค้าวรพรต

วันที่ 3 มิถุนายน 2484 เป็นวันแรกที่ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมมาตั้งใหม่ที่บริเวณถนนสุขุมวิท บนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ของวัดอรัญญิกาวาส เพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นโรงเรียนได้พัฒนาการสอนโดยเปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษาและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ในปัจจุบัน ชาวส้ม-ฟ้า จึงถือว่า วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน[3]

เมื่อ พ.ศ. 2501 โรงเรียนชลราษฎรอำรุงเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมรุ่นที่ 4 กรมวิสามัญได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจโรงเรียน เพื่อดำเนินการสร้างอาคารเรียนและอารารประกอบ แต่ไม่สามารถขยายโรงเรียนได้ตามโครงการได้ นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้น ได้มองเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา ได้พิจารณาจัดสรรที่ดินของกองทัพอากาศไทยประมาณ 70 ไร่บริเวณสี่แยกบ้านสวนริมถนนสุขุมวิทติดกับถนนวิรัชศิลป์ และแยกวิรัชศิลป์ริมถนนวิรัชศิลป์กับถนนพระยาสัจจา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน

ทำเนียบผู้บริหาร[3]

[แก้]
อันดับ รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1 ร.บ. ชม ชมสุนทร ป.ช. , ป.ม. 2458-2463
2 เรืออากาศตรีพันช์ุ อนันตสมบูรณ์ ป.ช. , ป.ม. 2464-2468
3 ร.บ. ไว อุดมวงษ์ 2468
4 เรืออากาศตรีชัน เชาวพันธ์จรัส ป.ม. , ท.ช. 2468-2471
5 นายสงวน โกเศศย์รัตน์ ป.ช. , ป.ม. 2472-2474
6 เรืออากาศตรีย้อย วรสินธุ์ ป.ม. , ท.ช. 2474-2476
7 นายเสงี่ยม เจริญฮวด (เสงี่ยม วัฒนธรรม) 2476
(รักษาการ)
8 นายเกื้อ สุวณิชย์ ป.ม. , ท.ช. 2476-2486
9 นายเทพ เวชพงศ์ ป.ม. , ท.ช. 2486-2491
10 นายเรวัติ ชื่นสำราญ ป.ม. , ท.ช. 2491-2495
11 นายบุญเชียร ศุภจิตรา ป.ม., ท.ช. 2495-2498
12 นายมานะ เอี่ยมสกุล ป.ม., ท.ช. ,กศ.บ. 2498-2402
13 นายสมนึก บำรุง ป.ช. ,ป.ม. ,กศ.บ. 2502
14 นายรวย แก้วจินดา พ.ป. 2502-2503
(รักษาการ)
15 นายสมนึก บำรุง ป.ช. ,ป.ม. , กศ.บ. 2503-2507
16 นายปรีดา แก้วจินดา ป.ช. , ป.ม. , กศ.บ. 2507-2508
(รักษาการ)
17 นายสมนึก บำรุง ป.ช. ,ป.ม. , กศ.บ. 2508-2512
18 นายสนอง มณีภาค ป.ม. , ท.ช. , อ.บ. 2512-2517
19 นายสพัสติ์ พูนผล ป.ช. , ป.ม. , ว.ท. , พ.ม. , ธ.บ. 2517-2522
20 นายทวีวัฒน์ อยู่ทวี กศ.บ. 2522-2526
21 นายเจริญ ลัดดาพงศ์ พ.ป. , กศ.บ. 2526-2530
22 นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ กศ.บ. (เกียรตินิยม), พ.ม. 2530-2535
23 นายชะนะ กมลานนท์ กศ.บ. 2535-2540
24 นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ กศ.บ. (เกียรตินิยม), พ.ม. 2540-2544
25 นายภุชงค์ บุญยรัตนสุนทร กศ.ม. 2544-2551
26 นายอภิสิทธิ์ รื่นจิตร์ ป.ช. , ป.ม. กศ.ม. 2551-2554
27 นายอุทัย สิงห์โตทอง ป.ช. , ป.ม. 2554-2561
28 นายอัมพร อิสสรารักษ์ ป.ช. , ป.ม. 2561-2562
29 ดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ ป.ม. 2562-ปัจจุบัน

แผนผังโรงเรียน

[แก้]
  • อาคาร 1 หลวงวรพินิจบุรพาการ มี 3 ชั้น ชั้นที่1 เป็นอาคารสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องผู้อำนวยการ ห้องฝ่ายบริหารงานบุคคลการเงินและสินทรัพย์ ห้องฝ่ายบริหารงานวิชาการ ห้องธุรการ ห้องนโยบายและแผน ห้องฝ่ายสนับสนุนการศึกษา ส่วนชั้นที่ 2 - 3 เป็นห้องเรียนและห้องพักครูของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร 2 ราษฎรร่วมจิต มี 4 ชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้น 1,2 และ 3 โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับ อาคาร 5 ชั้นล่างเป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยชั้นที่ 2 มีห้องศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ส่วนชั้นที่ 3 มีห้องจริยศึกษา และชั้นที่ 4 มีห้องภูมิปัญญา
  • อาคาร 3 นารถ มนตเสวี มี 3 ชั้น เป็นห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านล่างเป็นอ่างกักเก็บน้ำ
  • อาคาร 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช เป็นอาคารที่ระเบียงมี 6 ชั้น และดาดฟ้า (ปิด) ที่ชั้นสองมีห้องประชุมผกากรองและทองอุไร ชั้น 3 - 5เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ ชั้น6โครงการ English program
  • อาคาร 5 ชมสุนทร มี 4 ชั้น ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส่วนชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 เป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • อาคาร 6 สมาคมศิษย์ชลราษฎรอำรุง และงานแนะแนว มี 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องเรียน ห้องพักครูและให้คำปรึกษางานแนะแนว ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนและห้องสมาคมศิษย์เก่าชลราษฎรอำรุง
  • อาคาร 7 อบจ. อุทิศ (กลุ่มอาคารศูนย์กีฬาและนันทนาการ)

มี 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสารภี

  • อาคาร 8 พระยาสัจจาภิรมย์ มี 3 ชั้น โดยประกอบด้วย หอประชุมยูงทอง ชั้น 3 ,โรงอาหาร ชั้น 1 ,ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ชั้น 2 , ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 และห้องพักครูภาษาอังกฤษ ชั้น 2
  • อาคาร 9 เป็นอาคารเรียนขนาด 7 ชั้น ชั้น 1 เป็นห้องประชุมดร.เสนาะ อุนากูล และที่ทำการห้องเรียนสีขาวและฝ่ายบริหารทั่วไป
  • ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ตั้งอยู่บนอาคาร 8 พระยาสัจจาภิรมย์ เป็นห้องสมุดขนาดกลางมีหนังสือมากกว่า 200,000 เล่ม ภายในจัดในลักษณะตามแบบมาตรฐานมีสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โต๊ะหมู่บูชา และ ของสะสมที่หายากจำพวกเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร หรือ หนังสือจดหมายเหตุ
  • หอพระพุทธมงคลชลประชานาถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นศาลาทรงจตุรมุข ย่อมุมไม้สิบสอง ภายในประดิษฐาน พระพุทธมงคลชลประชานาถ ซึ่งประดิษฐานบนฐานชุกชี 2 ชั้น และมีตู้หนังสือธรรมะ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักเรียน บุคลากร เป็นห้องเรียนพระพุทธศาสนาอีกด้วย
  • ศาลเจ้าพระยาสุรสีห์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 อยู่บริเวณลานธรรม เยื้องกับหอพระฯ โดยศาลหลักปัจจุบันเป็นหลักที่สองตั้งเมื่อ พ.ศ. 2558 ภายในประดิษฐาน เจว็ดจารึกนามเจ้าพระยาสุรสีห์ที่บริจาคโดยนักเรียนชั้น ม.5/13 ปี 2558 บริเวณศาลมีตุ๊กตาช้างม้า ตุ๊กตาคนรับใช้ ตุ๊กตาละครรำ จำนวนหลายร้อยตัว เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักเรียน บุคลากร
  • สำนักงานกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน ฝั่งประตูพระยาสัจจา
  • ห้องประชาสัมพันธ์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน ตรงข้ามสำนักงานบริหารงานกิจการนักเรียน ฝั่งประตูพระยาสัจจา
  • ลานรวมใจส้ม-ฟ้าใช้เป็นลานเอนกประสงค์และใช้เข้าแถวหรือประกอบพิธีทางศาสนา พิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือพิธีสำคัญในวาระต่าง ๆ
  • ลานธรรม ลานใต้ต้นไม้ร่มรื่น อยู่บริเวณหลังธนาคารโรงเรียน
  • ธนาคารโรงเรียน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550

และยังมีอาคารและพื้นที่อื่นๆอีก ได้แก่ อนามัยโรงเรียน ,โรงฝึกงาน 1-4 ,อาคารเกษตร ,โรงยิมเนเซียม ,สนามบาสเกตบอล ,สนามฟุตซอล ,ศาลาจตุรมุข ,สนามฟุตบอล, โดมพละศึกษา และเขตบ้านพักครู-บุคลากร

กลุ่มงานภายใน

[แก้]
  • สำนักผู้อำนวยการ ดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ เป็นผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารงานวิชาการ นางสาวเดือนเพ็ญ ตันเงิน เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารทั่วไป นางศรันย์กร ชัยพิพัฒน์ เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงิน และสินทรัพย์ นางสาววิราภรณ์ ส่งแสง เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน นายพีรเดช พัชรปัญญาพร เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นางสาวรุ่งนภา มั่งคั่ง เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นายรณชัย พลอยเพ็ชร เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายธนายุต จันทราเขต เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นางวสิชา พ้นภัยพาล เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นางนภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์ เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ นางเสาวรัตน์ สายถิ่น เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นายสุรศักดิ์ ดิษฐปาน เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นายศานิต โหนแหย็ม เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มงานคอมพิวเตอร์ นางสาววรนุช แสงจันทร์ เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
  • กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร นายจิตบุณย์ กุลสุวรรณ เป็นหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร
  • กลุ่มงานพัฒนาระบบเครือข่าย ฯ นางปัณณภัสส์ มีวรรณ เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
  • งานประกันคุณภาพการศึกษา นางกุหลาบ สำราญสุข เป็นหัวหน้างาน
  • งานนโยบายและแผน นางสาววันดี แนบเชย เป็นหัวหน้างาน
  • งาน English Program นางสาวเรวดี มีสุข เป็นหัวหน้างาน
  • งานแนะแนว นางสาววิมพ์วิภา ศรีวิชชุทัศนีย์ เป็นหัวหน้างานแนะแนว
  • งานห้องสมุด นางสาวกฤติยาภรณ์ สุริยะ และ นางสาวจารุวรรณ เลี่ยมเปี่ยม เป็นครูบรรณารักษ์ประจำห้องสมุด
  • งานธนาคารโรงเรียน นางกรรณิการ์ หงษ์เจ็ด ร่วมกับ นางวาสนา ดีมิศรี เป็นหัวหน้างาน
  • งานอนามัยโรงเรียน นางสาวพิชชาภรณ์ พรหมศิริ เป็นครูพยาบาลประจำห้องอนามัย

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

โรงเรียนชลราษฏรอำรุงเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามที่กรมสามัญศึกษากำหนด และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตอนปลายสายสามัญ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นดังนี้

  • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
    • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SMTE) ห้องที่ 3 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษ (MEP) ห้องที่ 1 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษเตรียมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ห้องที่ 4 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ห้องที่ 5 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ทั่วไป ห้องที่ 11-16 (จำนวน 6 ห้องเรียน)
  • ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
    • ห้องเรียนพิเศษ (MEP) ภาษา(จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี)-คณิตศาสตร์ ห้องที่ 2 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ ทั่วไป ห้องที่ 6-10 (จำนวน 5 ห้องเรียน)

คณะกรรมการสภานักเรียน

[แก้]

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนขึ้นเป็นการทั่วไปในทุกปีการศึกษา เพื่อดำเนินกิจกรรมนโยบายต่าง ๆ ตามที่หาเสียงไว้และสนองนโยบายจากท่านผู้อำนวยการและคณะครูตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งพรรคที่ดำรงตำแหน่งในตอนนี้คือ NEW WAVE

วันสำคัญเกี่ยวกับโรงเรียน

[แก้]

วันสถาปนาโรงเรียน ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี โดยเป็นวันที่ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นที่ของวัดอรัญญิกาวาส โดยจะมีพิธีสักการะพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ศาลเจ้าพระยาสุรสีห์ และสิ่งศักดิสิทธิ์ทั่วไปและเหล่าบุรพจารย์ที่บริเวณลานกลางแจ้ง และมีพิธีทำบุญโรงเรียนอุทิศแก่เหล่าบุรพจารย์ผู้ก่อตั้ง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แสดงข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม
  2. 2.0 2.1 โรงเรียนชลราษฎรอํารุง. 2565. โรงเรียนชลราษฎรอํารุงสืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  3. 3.0 3.1 โรงเรียนชลราษฎรอํารุง. 2565. โรงเรียนชลราษฎรอํารุงสืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  4. สมเด็จพระวันรัต (นิรันดร์ นิรนฺตโร ป.ธ.๙).sangkhatikan.com.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  5. นายเสนาะ อูนากูล เก็บถาวร 2023-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.ธนาคารแห่งประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  6. โยธิน ณ บางช้าง. กรณีศึกษา ภาวะผู้นำ อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา. สถาบันพระปกเกล้า.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  7. นิวส์มอนิเตอร์. 2561. ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ "ชาตรี ศรีชล" ลูกทุ่งอัจฉริยะจะมีอายุครบ 69 ปี (ชมมิวสิควิดีโอหาดูยาก). ข่าวสด.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  8. ทีมข่าวอาชญากรรม. 2548. “ปราจีน ทรงเผ่า” เสียชีวิตแล้ว. ผู้จัดการออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  9. PR CRU. 2555. สด จิตรลดา แชมปฺโลกมวยสากล ศิษย์เก่าชลชาย. สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนชลราษฎรอำรุง.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  10. 2564. เปิดประวัติ “อ้วน รังสิต”.ทีวีพูล.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนชลราษฎรอำรุง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?