For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนปทุมคงคา.

โรงเรียนปทุมคงคา

โรงเรียนปทุมคงคา
Patumkongka School
ตราประจำโรงเรียนปทุมคงคา
ที่ตั้ง
แผนที่
920 ตำบลพระโขนง อำเภอเขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110

พิกัด13°43′09″N 100°34′53″E / 13.719103°N 100.581272°E / 13.719103; 100.581272
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ค. (PK)
ประเภทรัฐบาล สังกัด สพฐ.
คำขวัญคติพจน์
ศึกษาดี มีวินัย ใจนักกีฬา
ปรัชญา
รกฺเขยยฺ อตฺต โนสาธํ ลวนํ โลนตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตน ดั่งเกลือรักษาความเค็ม
สถาปนา16 สิงหาคม พ.ศ. 2443 (124 ปี 22 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระครูใบฎีกาเหลียน (พระยาสีมานนทปริญญา)[1]
เขตการศึกษาคลองเตย
รหัส1010720125
ผู้อำนวยการนายสมศักดิ์ สนกนก
สีน้ำเงิน - ฟ้า
เพลงน้ำเงิน-ฟ้า
ดอกไม้ดอกบัว
เว็บไซต์www.patumkongka.ac.th

โรงเรียนปทุมคงคา (อังกฤษ: Patumkongka School, ย่อ: ป.ค., PK) เป็นโรงเรียนชายล้วนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำวัดปทุมคงคา ก่อตั้งขึ้นใน 16 สิงหาคม พ.ศ. 2443 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนปทุมคงคาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2443 โดยพระครูใบฎีกาเหลียน โดยใช้กุฏิของท่านเป็นสถานที่สอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 ได้ย้ายไปสอนที่เรือนท่านพร ซึ่งเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น และใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา”

ในปี พ.ศ. 2445 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลขึ้นในวัดตามโครงการการศึกษา ท่านเจ้าอาวาสและคณะครูจึงได้มอบโรงเรียนวัดให้แก่รัฐบาล พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์การสอนทั้งหมด ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา” ครูใหญ่คนแรกคือ นายสนธิ์

ต่อมาโรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา แต่ในปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบการสอนชั้นประถมศึกษา และเปิดสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2490 นายสกล สิงหไพศาล ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้พยายามพัฒนาโรงเรียนให้เติบโตขึ้น โดยขอขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น และในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

เนื่องจากที่ทางโรงเรียนแคบมากและมีความลำบากยิ่ง จึงได้มีการย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่แห่งใหม่ เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2508

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งมีผลทำให้โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จนถึงปัจจุบัน อยุ่ติดกับวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ทำเนียบผู้บริหาร[2]

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระครูใบฎีกาเหลียน (พระยาสีมานนทปริญญา)
พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2445
2 ครูสนธิ์
พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2451
3 พระยาศึกษาสมบูรณ์ (หม่อมหลวงแหยม อินทรางกูร)
พ.ศ. 2451 - พ.ศ. 2454
4 นอร์แมน ซัตตัน (Norman Sutton)
พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2458
5 เย.ซี. เซดชวิค (J.C. Sedgewick)
พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2462
6 เอ.ซี. เชิชชิล (Arthor C. Churchill)
พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2475
7 หลวงบุญปาลิตวิชชาสาสก์ (บุญเลี้ยง บุญญปกรณ์)
พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2482
8 อำมาตย์ตรี หลวงบรรสบวิชาฉาน (เจน นิยมวิภาต)
พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2485
9 นายสวัสดิ์ ภูมิรัตน์
พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2486
10 ขุนจรรยาวิจัย (สารี มะกรสาร)
พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2487
11 นายสนอง สุขสมาน
พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2490
12 นายสกล สิงหไพศาล
พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2507
13 นายวินัย เกษมเศรษฐ
พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2509
14 นายมนตรี ชุติเนตร
พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2523
15 นายประยูร ธีระพงษ์
พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526
16 นายเจตน์ แก้วโชติ
พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528
17 นายอุดม วัชรสกุณี
พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530
18 นายอดิเรก รัตนธัญญา
พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2533
19 นายอัศวิน วรรณวินเวศร์
พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
20 นายนพคุณ ทรงชาติ
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537
21 นายดำรง อโนภาส
พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2540
22 นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
23 นายวิวัฒน์ พวงมะลิต
พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
24 นายปัญญา คล้ายจันทร์
พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
25 นายวิเชียร อนันต์มหพงศ์
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2544
26 นายประกาศิต ยังคง
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546
27 นายสุนันทวิทย์ พลอยขาว
พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551
28 นายนาวี ยั่งยืน
พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554
29 นายสำรวย ไชยยศ
พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557
30 นางสุภัทร เงินดี
พ.ศ. 2557 - พ.ศ.2562
31 นายดาวหยาด ขันธ์เพชร พ.ศ.2563 - พ.ศ.2565
32 นายคมศักดิ์ หาญสิงห์ พ.ศ.2565 - พ.ศ.2566
33 นายสมศักดิ์ สนกนก พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]
นักวิชาการ
นักการเมือง
นักเขียน
นักแสดง และบุคคลในวงการบันเทิง
นักกีฬา
อื่นๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระยาสีมานนทปริญญา พระครูใบฎีกา เหลียน บิดาปทุมคงคา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-27.
  2. "ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-15. สืบค้นเมื่อ 2013-10-23.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "เทพขาสั้น : 6 วอนเดอร์คิดส์ ร.ร ปทุมคงคา ที่อาจแจ้งเกิดในไทยลีกเร็วๆนี้ - FourFourTwo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2018-06-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′09″N 100°34′53″E / 13.719103°N 100.581272°E / 13.719103; 100.581272((#coordinates:)): ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนปทุมคงคา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?