For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อำเภอโขงเจียม.

อำเภอโขงเจียม

อำเภอโขงเจียม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khong Chiam
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
คำขวัญ: 
รวมมัจฉา ภูผางาม น้ำสองสี ศิลป์ดีที่ผาแต้ม
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอโขงเจียม
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอโขงเจียม
พิกัด: 15°19′8″N 105°29′44″E / 15.31889°N 105.49556°E / 15.31889; 105.49556
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด765.0 ตร.กม. (295.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด38,723 คน
 • ความหนาแน่น50.62 คน/ตร.กม. (131.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34220
รหัสภูมิศาสตร์3403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอโขงเจียม หมู่ที่ 1 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 34220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

โขงเจียม เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย โดยมีชื่อเดิมว่า อำเภอบ้านด่าน[1] นับเป็น 1 ใน 5 อำเภอของจังหวัดที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อำเภอโขงเจียม แยกออกจากอำเภอศรีเมืองใหม่ (เดิมชื่ออำเภอโขงเจียม) จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านด่านปากมูลใน พ.ศ. 2502 โดยมีนายจิตร สุวรรณไลละ เป็นนายอำเภอกิ่ง ต่อมายกฐานะเป็นอำเภอบ้านด่าน มีเขตการปกครองแบ่งได้ 6 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลหนองแสงใหญ่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง

ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2514 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า คำว่า "โขงเจียม" เหมาะสมกับประวัติศาสตร์และชุมชนดังเดิมแถบนี้ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโขงเจียม ต่อมาใน พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสิรินธร โดยให้ผนวกเอาตำบลคำเขื่อนแก้วไปอยู่ในเขตอำเภอสิรินธรด้วย จึงทำให้อำเภอโขงเจียมเหลือเขตการปกครองจำนวน 5 ตำบล จนถึงปัจจุบัน

คำว่า " โขง " หมายถึงหัวหน้าช้างหรืออาจจะมาจากคำว่า "โขลง" ที่หมายถึง ฝูงช้างก็ได้ คำว่า "เจียม" คาดว่า เพี้ยนมาจากคำว่า " เจียง " (ส่วย) ซึ่งแปลว่า " ช้าง " ดังนั้นอำเภอโขงเจียมจึงน่าจะหมายถึง "เมืองที่มีช้างมาอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ "

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอโขงเจียมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ สลับกับโนน (เนิน) เตี้ย ๆ โขงเจียมมีเขตแดนทางตะวันออกติดแม่น้ำโขง เป็นที่ซึ่งแม่น้ำมูลไหลลงมาบรรจบบริเวณท้ายวัดโขงเจียม (วัดบ้านด่านเก่า) บริเวณที่แม่น้ำทั้งสองสายมาจดกันทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่า น้ำสองสี โดยน้ำที่ไหลจากน้ำโขงจะมีสีขาวขุ่น ส่วนน้ำที่มาจากลำน้ำมูลมีลักษณะใสหรือสีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย บางครั้งจะเรียกกันว่า "โขงสีปูน มูลสีคราม"

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอโขงเจียมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 54 หมู่บ้าน ได้แก่

1. โขงเจียม (Khong Chiam) 14 หมู่บ้าน
2. ห้วยยาง (Huai Yang) 11 หมู่บ้าน
3. นาโพธิ์กลาง (Na Pho Klang) 10 หมู่บ้าน
4. หนองแสงใหญ่ (Nong Saeng Yai) 9 หมู่บ้าน
5. ห้วยไผ่ (Huai Phai) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอโขงจียมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโขงเจียม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโขงเจียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโขงเจียม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์กลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์กลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแสงใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไผ่ทั้งตำบล

ประชากร

[แก้]

ประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ ทำประมง และรับจ้างทั่วไป ส่วนในด้านการศึกษา โขงเจียมมีโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด สพฐ. หนึ่งแห่ง ได้แก่ โรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม

การขนส่ง

[แก้]

อำเภอโขงเจียมห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีไปทางทิศตะวันออก 75 กิโลเมตร โดยใช้ถนนสถิตนิมานกาล (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217) จากวารินชำราบ-สว่างวีระวงศ์-พิบูลมังสาหาร เลี้ยวซ้ายผ่านสี่แยกธนาคารออมสิน ตรงไป ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมูล แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2222 ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงอำเภอโขงเจียม นอกจากเส้นทางนี้ แล้วยังมีเส้นทางอื่นที่จะเดินทางมาได้ คือ เส้นทางอุบลราชธานี-ตระการพืชผล 50 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่อำเภอตระการพืชผล เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2134 อีก 60 กิโลเมตรถึงอำเภอโขงเจียม และเส้นทางสุดท้าย คือ อุบลราชธานี-ตาลสุม-โขงเจียม ระยะทาง 75 กิโลเมตร แต่สภาพถนนไม่สะดวกต่อการเดินทาง นอกจากนี้ยังมีทางหลวง 2112 เขมราฐ-โขงเจียม ซึ่งเป็นถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดหลายแห่ง

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

อำเภอโขงเจียมมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกลงรู เถาวัลย์ยักษ์ รอยพระพุทธบาทบ้านท่าล้ง เขื่อนปากมูล แก่งตะนะ และแม่น้ำสองสีซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขง

อ้างอิง

[แก้]
  1. พรก. เปลี่ยนชื่ออำเภอบางแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2514
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อำเภอโขงเจียม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?