For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สถานีกรุงธนบุรี.

สถานีกรุงธนบุรี

สถานีกรุงธนบุรี (อังกฤษ: Krung Thon Buri station) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมส่วนต่อขยายช่วงตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่) และรถไฟฟ้าสายสีทอง ตัวสถานียกระดับเหนือถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรีใกล้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

[แก้]
กรุงธนบุรี
S7

Krung Thon Buri
สถานีสายสีลม
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′15″N 100°30′9″E / 13.72083°N 100.50250°E / 13.72083; 100.50250
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ กรุงธนบุรี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS7
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552; 15 ปีก่อน (2552-05-15)
ชื่อเดิมเจริญนคร
ผู้โดยสาร
25641,427,802
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สะพานตากสิน สายสีลม วงเวียนใหญ่
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีกรุงธนบุรี (รหัส: S7) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมส่วนต่อขยายช่วงตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่) และเป็นสถานีรถไฟฟ้าสถานีแรกในฝั่งธนบุรี ตัวสถานียกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรีใกล้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินและถนนเจริญนคร ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]
ชานชาลา สถานีกรุงธนบุรี

สถานีกรุงธนบุรี เป็นสถานีที่ก่อสร้างพร้อมกับสถานีวงเวียนใหญ่ ในโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–แยกตากสิน) ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ซึ่งสถานีทั้ง 2 แห่งได้ก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนแล้วเสร็จและมีกำหนดเปิดให้บริการกลาง พ.ศ. 2550 แต่เนื่องจากทางกรุงเทพมหานคร ประสบปัญหาการจัดจ้างบริษัทติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณที่เสนอราคาสูง ประกอบกับทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีได้ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสมาเป็นระบบของบริษัท บอมบาดิเอร์ ทำให้การติดตั้งระบบการเดินรถล่าช้ากว่ากำหนดการไปมาก

จนกระทั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานครได้ลงนามสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ ส่วนที่ 1 (ระบบอาณัติสัญญาณ) กับบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) งบประมาณ 368 ล้านบาท กรอบระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ส่วนที่ 2 (ระบบสื่อสาร, ระบบจ่ายไฟฟ้า, ระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูลและระบบประกอบอาคารในสถานีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้า) กับกลุ่มบริษัท AAT Consortium จำกัด งบประมาณ 675 ล้านบาทและลงนามในสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบประมาณ 300 วัน[1] [2]

เมื่อส่วนต่อขยายนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น กรุงเทพมหานครได้เปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าช่วงสะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก โดยทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2552 และเริ่มทดลองให้บริการโดยไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ต่อมากรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการโดยไม่คิดค่าโดยสารระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่าสถานีกรุงธนบุรีมีผู้ใช้บริการ 12,000 เที่ยวคน/วัน และสถานีวงเวียนใหญ่มีผู้ใช้บริการ 28,800 เที่ยวคน/วัน รวม 40,800 เที่ยวคน/วัน และวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้โดยสารมากขึ้นเป็น 43,500 เที่ยวคน/วัน คาดว่าในอนาคตจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายนี้ถึงวันละ 50,000 เที่ยวคน/วัน[3]

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนกรุงธนบุรี บริเวณปากซอยกรุงธนบุรี 8 หน้าสถานีบริการน้ำมันบางจาก (โรงเรียนเทคนิคสัจจวัฒน์เดิม) และท่าปล่อยรถประจำทางสาย 3, 84, 105 ก่อนถึงเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินฝั่งธนบุรี ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ก่อนหน้าที่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการ ผู้โดยสารจากฝั่งธนบุรีจำนวนมากต้องโดยสารเรือข้ามฟากที่ท่าเรือเป็ปซี่หรือเดินทางข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินเพื่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าที่สถานีสะพานตากสินและสถานีสุรศักดิ์ แต่จากการเปิดให้บริการที่สถานีกรุงธนบุรีทำให้ผู้โดยสารรถประจำทางจากถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรีสามารถเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้โดยตรง ที่ตั้งของสถานีกรุงธนบุรีอยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือเป็ปซี่ประมาณ 900 เมตร ห่างจากสถานีสะพานตากสินประมาณ 1.2 กิโลเมตร และห่างจากสถานีต่อไปคือสถานีวงเวียนใหญ่ประมาณ 640 เมตร นับว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าสถานีแรกที่ระบบรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งธนบุรี

สถานีแห่งนี้ใช้ชื่อในโครงการระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีกรุงธนบุรี" ตามชื่อถนนที่ตั้งสถานี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีเจริญนคร" ตามเส้นทางถนนเจริญนครที่อยู่ใกล้เคียง แต่จุดกึ่งกลางสถานียังห่างจากถนนเจริญนครถึงประมาณ 700 เมตร เนื่องด้วยข้อจำกัดจากโครงสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทำให้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "สถานีกรุงธนบุรี" อีกครั้งในปัจจุบัน

แผนผังของสถานี

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (วงเวียนใหญ่)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (สะพานตากสิน)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, กรุงธนบุรี
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารสินสาธรทาวเวอร์, อาคารไทยศรีประกันภัย, ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

ทางเข้าออกสถานี

[แก้]
  • 1 ซอยกรุงธนบุรี 3, สินสาธรทาวเวอร์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, คิว เฮ้าส์ คอนโด สาทร,ท่ารถประจำทางสาย 84 (บันไดเลื่อน)
  • 2 ไอดีโอ สาทร-ตากสิน, อาคารไทยศรีประกันภัย, ปั๊มน้ำมันบางจาก, ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (ลิฟต์)
  • 3 กรุงธนบุรี
  • 4 ซอยกรุงธนบุรี 8, ร้านอาหารนทีทิพย์ & บ้านหลังที่ 2, เดอะ แบงค็อก สาทร-ตากสิน, ไอดีโอ โมบิ สาทร-ตากสิน, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าคิว เฮ้าส์ คอนโด สาทร และ ทางออก 4 หน้าเดอะ แบงค็อก สาทร-ตากสิน

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟต์สำหรับผู้พิการ จากทางเท้าถนนกรุงธนบุรีทั้ง 2 ฝั่ง บริเวณทางออกที่ 2 และ 3
  • บันไดทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้า 4 จุด (มีบันไดบันไดเลื่อน 2 จุด)
  • ทางเดินยกระดับกลางถนนกรุงธนบุรี จากสถานีทั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก เชื่อมสะพานลอยที่ 1 และ 2 ของถนนกรุงธนบุรีตามลำดับ

สถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง

[แก้]
กรุงธนบุรี
G1

Krung Thon Buri
สถานีสายสีทอง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′16″N 100°30′13″E / 13.7211055°N 100.5037147°E / 13.7211055; 100.5037147
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการกรุงเทพธนาคม
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ กรุงธนบุรี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS7
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ16 มกราคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-01-16)
ผู้โดยสาร
25641,427,802
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
เจริญนคร
มุ่งหน้า คลองสาน
สายสีทอง สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่
รถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีกรุงธนบุรี

สถานีกรุงธนบุรี (รหัส: G1) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองช่วงที่ 1 ระยะที่ 1 (กรุงธนบุรี–คลองสาน) ตัวสถานียกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรีขาออก ใกล้เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนกรุงธนบุรี บริเวณด้านหน้าจุดจอดแล้วจร สถานีกรุงธนบุรี ก่อนถึงเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินฝั่งธนบุรี ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี

[แก้]
U3
ชานชาลา
ส่วนล้างขบวนรถ
ศูนย์ซ่อมบำรุงกรุงธนบุรี
ชานชาลา 2 สายสีทอง มุ่งหน้า คลองสาน (ไม่ได้ใช้งาน)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 1 สายสีทอง มุ่งหน้า คลองสาน
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, กรุงธนบุรี
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารสินสาธรทาวเวอร์, อาคารไทยศรีประกันภัย, ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง และเปิดใช้ชานชาลาที่ 1 เพียงชานชาลาเดียว ขบวนรถที่มาจากสถานีเจริญนครจะสับรางเพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 1 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองสานจะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองสานจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถจะออกจากสถานีไปสถานีเจริญนครและให้บริการต่อ หรือเดินรถเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงต่อไป

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นแบบชานชาลาเกาะกลาง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 31.5 เมตร ระดับชานชาลาสูง 15.20 เมตร ยาว 107 เมตร เนื่องจากสถานีทำหน้าที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงในตัว ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร ชานชาลา และพื้นที่ควบคุมการเดินรถทั้งหมด ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

ทางเข้าออกสถานี

[แก้]
  • 1 ซอยเจริญนคร 14, คิวเฮาส์คอนโด สาทร
  • 2 ซอยกรุงธนบุรี 5, วิลลา สาทร คอนโดมิเนียม
  • 3 กรุงธนบุรี
  • 4 ซอยกรุงธนบุรี 8, ร้านอาหารนทีทิพย์ & บ้านหลังที่ 2, เดอะ แบงค็อก สาทร-ตากสิน, ไอดีโอ โมบิ สาทร-ตากสิน, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (บันไดเลื่อน)

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟต์สำหรับผู้พิการ จากทางเท้าถนนกรุงธนบุรี บริเวณทางออกที่ 3

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[4]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.47 00.31
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.39 23.58
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.44
สายสีทอง[5]
ชานชาลาที่ 1 และ 2
G3 คลองสาน เต็มระยะ 06.00 00.08

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนกรุงธนบุรี

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่กำแพงเพชร คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
76 Handicapped/disabled access (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ ประตูน้ำ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

84 (1) อ้อมใหญ่ BTS กรุงธนบุรี 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง รถบริการตลอดคืน (รถบริการตลอดคืน เดินรถในเส้นทาง วัดไร่ขิง - BTS กรุงธนบุรี แต่เวลา 22.30 น. - 02.30 น. จากต้นทาง)
วัดไร่ขิง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
4-18 (105) Handicapped/disabled access (3) สมุทรสาคร BTS กรุงธนบุรี 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
84 (4-46) Handicapped/disabled access วัดไร่ขิง BTS กรุงธนบุรี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
85 (4-16) Handicapped/disabled access บิ๊กซีพระประแดง การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟธนบุรี บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)

มีรถให้บริการน้อย
108 (4-19) Handicapped/disabled access เดอะมอลล์ท่าพระ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เส้นทางวิ่งเป็นวงกลม
มีรถให้บริการน้อย
120 (4-21) Handicapped/disabled access สมุทรสาคร แยกบ้านแขก บจก.อำไพรุ่งโรจน์
(เครือไทยสมายล์บัส)
163 (4-55) Handicapped/disabled access ศาลายา BTS สนามกีฬาแห่งชาติ บจก.ไทยสมายล์บัส
165 (4-56) Handicapped/disabled access ศาลาธรรมสพน์ BTS กรุงธนบุรี
1-32E Handicapped/disabled access บางเขน ตลาดพลู รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านประชาอุทิศ ลงด่านสุรวงศ์)
มีรถให้บริการน้อย

ถนนกรุงธนบุรี มุ่งหน้าทางแยกตากสิน รถขสมก. สาย 84 76

ถนนกรุงธนบุรี มุ่งหน้าสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รถขสมก. สาย 3 76 84 4-18 (105) รถเอกชน สาย 84 85 108 120 163 165 1-32E

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

[แก้]
  • สินสาธร ทาวเวอร์
  • อาคารไทยศรีประกันภัย
  • อาคารชูยศและบุตร
  • อาคารปริ๊นเซส ทาวเวอร์
  • อาคารเสริมสุข
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา สะพานพระเจ้าตากสิน

โรงแรม

[แก้]
  • โรงแรมฮ็อป อินน์ กรุงเทพ สถานีกรุงธนบุรี
  • โรงแรมไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์
  • โรงแรมคิง รอยัล ทู
  • โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ สาทร กรุงเทพฯ
  • โรงแรมสราสินีออลสวีท

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กลุ่มAATเฉือนอิตาเลียนไทยฯ คว้างานวางระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฝั่งธนฯ เก็บถาวร 2008-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 22 กุมภาพันธ์ 2551
  2. สานฝันคนฝั่งธนฯ อภิรักษ์เดินหน้ารถไฟฟ้า ดันวงเวียนใหญ่ -บางหว้า เปิดใช้ปี 53 เก็บถาวร 2009-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนังสือพิมพ์สวัสดีกรุงเทพ 6 มิถุนายน 2551
  3. วันแรกประชาชนแห่ใช้รถไฟฟ้าส่วนขยายสายสีลมกว่า 40,000 คน[ลิงก์เสีย] สำนักข่าวกรุงเทพมหานคร 19 พฤษภาคม 2552
  4. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  5. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีทอง" (PDF). 2023-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  6. กดปุ่มบีทีเอสต่อสายสีลม กทม.คาดเสร็จธ.ค.ปีหน้า เก็บถาวร 2007-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก 13 ธันวาคม 2548
  7. [1][ลิงก์เสีย]กรุงเทพมหานคร ฉลองความยินดีรถไฟฟ้าสายประวัติศาสตร์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาครั้งแรก[ลิงก์เสีย] สำนักข่าวกรุงเทพมหานคร 23 เมษายน 2552
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สถานีกรุงธนบุรี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?