For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ล้ง 1919.

ล้ง 1919

ล้ง 1919
แผนที่
ที่ตั้งถนนเชียงใหม่ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′03″N 100°30′27″E / 13.7342904°N 100.5076298°E / 13.7342904; 100.5076298
เปิดให้บริการ2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (6 ปี)
ผู้พัฒนาตระกูลหวั่งหลี
ผู้บริหารงานหวั่งหลี
พื้นที่ชั้นขายปลีก6 ไร่
จำนวนชั้นสูงสุด 2 ชั้น
ขนส่งมวลชน สถานีคลองสาน
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนฮ่วยจุ่งโล่ง
ขึ้นเมื่อ23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0008882
ภาพพาโนรามาของโครงการ

ล้ง 1919 (จีน: 廊 1919; อังกฤษ: Lhong 1919) เป็นศูนย์การค้าแนวราบริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านฝั่งธนบุรี ตั้งอยู่ที่ปลายสุดของถนนเชียงใหม่ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ดำเนินกิจการโดย ตระกูลหวั่งหลี ตั้งอยู่ติดกับบ้านหวั่งหลี มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ และพื้นที่อาคาร 6,800 ตารางเมตร โดยอยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ในฝั่งพระนคร[1] เปิดตัวเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ล้ง 1919 เกิดขึ้นจากการบูรณะอาคารเก่าทั้งหมด มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมจีน ก่ออิฐถือปูนและการใช้โครงสร้างไม้ที่ยังคงเก็บรูปแบบอย่างเดิมไว้ ลักษณะของโครงการนี้คล้ายคลึงกับ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ ที่ตั้งอยู่ไม่ห่างกันมากนัก ภายใน ล้ง 1919 ประกอบด้วย โกดังเก่าของตระกูลหวั่งหลี ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว ศาลเจ้าจีนเก่าแก่ในเขตคลองสาน ท่าเรือหวั่งหลี ลานกิจกรรมกลางแจ้ง และ Co-Working Space[2]

ประวัติ

[แก้]

เดิมบริเวณนี้เป็นท่าเรือของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูลพิศาลบุตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2393 โดยมีชื่อว่า "ฮวยจุ่งล้ง" (火船廊; แปลว่า ท่าเรือกลไฟ[3]) เป็นท่าเรือกลไฟและโกดังสินค้าสำหรับรองรับเรือสินค้าจากหัวเมืองประเทศต่าง ๆ เช่น มลายู สิงคโปร์ จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี ในปี พ.ศ. 2462 จนกระทั่งภายหลังบริษัทหวั่งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเข้ามาเป็นผู้บริหารดูแล

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ตระกูลหวั่งหลี ได้มีโครงการที่จะเปลี่ยนที่นี่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดหมายตาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเริ่มเข้ามาพัฒนาพื้นที่และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ จุดถ่ายรูป ร้านจำหน่ายสินค้าศิลปะและหัตถกรรม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ความสัมพันธ์ไทย-จีน และสถานที่พักผ่อน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Decor (2017-11-03). "ล้ง 1919 โบราณสถาน สถาปัตยกรรมจีน ยุค ร.๔ อายุกว่า 167 ปี มรดกหวั่งหลี มรดกแผ่นดิน". สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  2. เปิดแล้ว!! ล้ง 1919 (LHONG 1919) ที่เที่ยวใหม่ ใจกลางกรุงเทพฯ, Website:www.govivigo.com/ .สืบค้นเมื่อ 30/09/2561
  3. กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. "กรุงธนบุรี ในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์." วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555, หน้า 93

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ล้ง 1919
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?