For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ราชอาณาจักรอิรัก.

ราชอาณาจักรอิรัก

ราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก (1932–1941; 1947-1958)
المملكة العراقية الهاشمية
ราชอาณาจักรอิรัก (1941–1947)
المملكة العراقية

1932–1958
เพลงชาติอัสซาลาม อัลมาลากี السلام الملكي
Es Salaam al-Malaky
สันติภาพแด่กษัตริย์
ที่ตั้งของอิรัก
เมืองหลวงแบกแดด
ภาษาทั่วไปอาหรับ
เคิร์ด
แอราเมอิก
เปอร์เซีย
ศาสนา
ซุนนีย์
ศาสนาคริสต์
ศาสนายูดาห์
Yazdânism
Mandaeism
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1]
พระมหากษัตริย์ 
• 1932-1933
ฟัยศ็อลที่ 1
• 1933-1939
ฆอซี
• 1939-1958
ฟัยศ็อลที่ 2
นายกรัฐมนตรี 
• 1920-1922
Abd Al-Rahman Al-Gillani (คนแรก)
• 1958
Ahmad Mukhtar Baban (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม, สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเย็น[2]
• การครองราชย์ของพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1
1932
• เป็นเอกราช
3 ตุลาคม 1932[3]
• รัฐประหาร
1 เมษายน 1941
• สนธิสัญญาแบกแดด
24 กุมภาพันธ์ 1955
• การรวมตัวของสหพันธรัฐอาหรับ[4]
14 กุมภาพันธ์ 1958
• ระบอบกษัตริย์ถูกล้มเลิก
14 กรกฎาคม 1958
พื้นที่
1958[5]438,317 ตารางกิโลเมตร (169,235 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1958[5]
6488000
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐอารักขาเมโสโปเตเมีย
สหพันธรัฐอาหรับ

ราชอาณาจักรอิรัก (อาหรับ: المملكة العراقية; อังกฤษ: Kingdom of Iraq) เป็นรัฐที่ดำรงอยู่ในตะวันออกกลางระหว่างค.ศ. 1932–1958 ราชอาณาจักรอิรักสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1922 หลังจักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้ในการทัพเมโสโปเตเมียในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากนั้นสันนิบาตชาติมอบหมายให้ดินแดนเมโสโปเตเมียอยู่ใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร แต่การลุกฮือในอิรักในปีค.ศ. 1920 ทำให้สหราชอาณาจักรต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเพื่อมอบอำนาจการปกครองตนเองให้แก่อิรัก ในช่วงแรกราชอาณาจักรอิรักภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮัชไมต์ประสบปัญหาด้านศาสนาและเชื้อชาติ นำไปสู่รัฐประหารในปี ค.ศ. 1936 ที่ทำให้การปกครองยิ่งไม่มีเสถียรภาพ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลอิรักนำโดยมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์แห่งอิรักถูกล้มล้างโดยกลุ่มนายทหารนิยมฟาสซิสต์ แต่ไม่นานก็พ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามอังกฤษ-อิรัก จากนั้นอิรักกลายเป็นฐานของฝ่ายสัมพันธมิตรในการโจมตีซีเรียใต้อาณัติของฝรั่งเศสวิชีและรุกรานอิหร่าน ช่วงปลายสงคราม อิรักเป็นสมาชิกสหประชาชาติและสมาชิกก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในปี ค.ศ. 1948 อิรักเป็นชาติหนึ่งที่ทำสงครามกับอิสราเอล ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดนกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ตกลงที่จะจัดตั้งสหภาพชื่อสหพันธรัฐอาหรับ เพื่อตอบโต้ฝ่ายอียิปต์กับซีเรียที่รวมตัวเป็นสหสาธารณรัฐอาหรับที่มีแนวคิดแบบนาสเซอร์ แต่สหพันธรัฐนี้คงอยู่ได้ไม่นานเนื่องจากระบอบกษัตริย์ถูกโค่นล้มโดยอิบด์ อัล-คะริม กอซิมในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน

พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิรัก

[แก้]
  พระปรมาภิไธย พระบรมราชสมภพ สวรรคต สมเด็จพระบรมราชินี
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก 23 สิงหาคม พ.ศ. 246423 สิงหาคม พ.ศ. 2464 8 กันยายน พ.ศ. 24768 กันยายน พ.ศ. 2476 สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก
พระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก 8 กันยายน พ.ศ. 24768 กันยายน พ.ศ. 2476 4 เมษายน พ.ศ. 24824 เมษายน พ.ศ. 2482 สมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก 4 เมษายน พ.ศ. 24824 เมษายน พ.ศ. 2482 14 กรกฎาคม พ.ศ. 250114 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่านแห่งอิรัก

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ข้อตกลงซานเรโม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ghareeb, Edmund A.; Dougherty, Beth K. Historical Dictionary of Iraq. Lanham, Maryland and Oxford: The Scarecrow Press, Ltd., 2004. Pp. lvii.
  2. Duiker, William J; Spielvogel, Jackson J. World History: From 1500. 5th edition. Belmont, California, USA: Thomson Wadsworth, 2007. Pp. 839.
  3. Ghareeb; Dougherty. Pp lvii
  4. Gareth Stansfield; Anderson, Liam D. (2004). The Future of Iraq : Dictatorship, Democracy or Division?. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 1-4039-6354-1.((cite book)): CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Ghareeb; Dougherty. Pp lviii

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ราชอาณาจักรอิรัก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?