For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บาบิโลเนีย.

บาบิโลเนีย

บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล คุณสามารถดู การแปลด้วยคอมพิวเตอร์จากบทความในภาษาอังกฤษ เครื่องมือช่วยแปลอย่าง ดีพแอล หรือ กูเกิลทรานส์เลท เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการแปล อย่างไรก็ตาม ผู้แปลจะต้องตรวจสอบข้อผิดพลาดจากการแปลด้วยคอมพิวเตอร์และยืนยันว่าการแปลนั้นถูกต้อง เราขอปฏิเสธเนื้อหาที่คัดลอกจากเครื่องมือแปลที่ไม่มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ กรุณาอย่าแปลส่วนของข้อความที่ดูแล้วเชื่อถือไม่ได้หรือมีคุณภาพต่ำ ถ้าเป็นไปได้ โปรดช่วยยืนยันด้วยการตรวจสอบแหล่งอ้างอิงที่ปรากฏในบทความภาษานั้น ๆ โปรดระบุไว้ในความย่อการแก้ไขว่าคุณแปลเนื้อหามาจากภาษาใด คุณควรเพิ่มแม่แบบ ((Translated|en|Babylonia)) ไว้ในหน้าพูดคุย สำหรับคำแนะนำและแนวทางเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้ที่ วิกิพีเดีย:การแปล
อาณาจักรกรุงบาบิโลน

(บาบิโลเนีย)
1895 ก่อนค.ศ. – 539 ก่อนค.ศ.
อาณาเขตของอาณาจักรกรุงบาบิโลนในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี
อาณาเขตของอาณาจักรกรุงบาบิโลนในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี
เมืองหลวงบาบิโลน
ภาษาทั่วไปแอกแคด, ซูเมอร์
ศาสนา
ศาสนาบาบิโลน
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
1895 ก่อนค.ศ. 
• สิ้นสุด
 539 ก่อนค.ศ.
ก่อนหน้า
ถัดไป
ซูเมอร์
จักรวรรดิแอกแคด
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

บาบิโลเนีย (อังกฤษ: Babylonia) หรือ อาณาจักรกรุงบาบิโลน หรือ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ชินาร์ ที่มีบันทึกในพระคัมภีร์ ปฐก. 10:10-11,14:1,9 (อังกฤษ: Kingdom of Babylon) เป็นอาณาจักรที่พูดภาษาแอกแคดโบราณในภาคกลางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย เดิมทีบาบิโลนเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในสมัยจักรวรรดิแอกแคด (2335–2154 BC) แต่แล้วอำนาจของเมืองบาบิโลนก็แผ่ไปอย่างไพศาลในรัชสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบีในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาล จนกลายเป็นนครหลวงที่สำคัญ ซึ่งในรัชสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบี อาณาจักรกรุงบาบิโลนถูกเรียกว่า ประเทศแอกแคด (Māt Akkadī) เพื่อสื่อว่าเป็นอาณาจักรที่รับช่วงต่อจากจักรวรรดิแอกแคดอันรุ่งโรจน์ก่อนหน้า[1][2]

บาบิโลเนียเก่า

[แก้]

หลังจากที่พวกสุเมเรียนเสื่อมอำนาจลงเพราะการทำสงครามกับชนเผ่าอื่น ๆ ที่เข้ามารุกรานและแย่งชิงความเป็นใหญ่ในระหว่างพวกสุเมเรียนด้วยกันเอง ต่อมาพวกอามอไรต์ (Amorite) ได้ตั้งอาณาจักรกรุงบาบิโลนขึ้นมา มีเมืองหลวงที่บาบิโลนริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส อาณาจักรกรุงบาบิโลนเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองแบบรวมศูนย์ มีการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์ทหาร รัฐควบคุมการค้าต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ผลงานที่สำคัญของอาณาจักรกรุงบาบิโลน ได้แก่ การประมวลกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งมีชื่อเรียกว่าประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) จารึกอยู่บนแผ่นศิลา หลักการของกฎหมายมีรากฐานมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียน แต่ได้จัดให้เป็นระบบ และให้อำนาจหน้าที่ในการลงโทษผู้กระทำผิดแก่ชนชั้นปกครองยิ่งขึ้น ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (an eye for eye, a tooth for a tooth) ในการลงโทษ กล่าวคือ ให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายปกครองมีอำนาจได้ไม่นาน เพราะพวกพระกลับมีอิทธิพลเช่นเดิม อาณาจักรกรุงบาบิโลนจึงเริ่มอ่อนแอและถูกพวกฮิตไทต์ (Hittite) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและใต้ (ซึ่งมาจากเทือกเขาซากรอส) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1,590 ปีคริสตกาล ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์และเข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี

บาบิโลเนียใหม่

[แก้]

เมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล พวกคาลเดียน (Chaldean) ซึ่งเป็นชนเผ่าฮีบรูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสก็สามารถเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ได้สำเร็จ และสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง และจัดตั้งเป็นอาณาจักรกรุงบาบิโลนขึ้นมา อาณาจักรกรุงบาบิโลนใหม่เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาก ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 พวกคาลเดียนสามารถยกกองทัพไปตีได้เมืองเยรูซาเลม และกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรุงบาบิโลนได้เป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการสร้างสวนขนาดใหญ่เรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณเพราะสามารถใช้ความรู้ในการชลประทาน ทำให้สวนลอยนี้เขียวขจีได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นพวกคาลเดียนในบาบิโลเนียใหม่ยังปรับปรุงด้านเกษตรกรรม และเริ่มต้นงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางดาราศาสตร์ มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน แบ่งวันออกเป็น 12 คาบ คาบละ 120 นาที และยังสามารถพยากรณ์สุริยุปราคาตลอดจนคำนวณเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำความรู้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์

เมื่อ 539 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรกรุงบาบิโลนใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียโดยการนำของ พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great, 559-530 ปีก่อนคริสตกาล) เข้ายึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียที่เรืองอำนาจอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันตก จึงนับได้ว่าประวัติศาสตร์ของดินแดนแถบเมโสโปเตเมียในยุคโบราณได้สิ้นสุดลงไปด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Aliraqi - Babylonian Empire". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
  2. Babylonian Empire - Livius
  • เอกสารประกอบการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ หัวข้อประวัติศาสตร์ตะวันตก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บาบิโลเนีย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?