For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น.

จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น

จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น

1895–1945[1]
ธงชาติJapanese
ธงชาติ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ค.ศ. 1942
สถานะจักรวรรดิอาณานิคม
เมืองหลวงโตเกียว
ภาษาทั่วไปญี่ปุ่น
Local:
เกาหลี (เกาหลี), แมนจู (แมนจูกัว), ไต้หวันฮ๊กเกี้ยน (ไต้หวัน), ภาษาฟอร์โมซา (ไต้หวัน)
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
1895
• สิ้นสุด
1945[1]
สกุลเงินJapanese yen,
Japanese military yen,
Korean yen,
Taiwanese yen
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japanese colonial empire) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นได้ครอบครองแปซิฟิกตะวันตกและเอเชียตะวันออก

การจัดหาอาณานิคม

[แก้]

ไต้หวัน

[แก้]

เกาหลี

[แก้]

ในพ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) การลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีอย่างสมบูรณ์ ในสนธิสัญญามีตราตั้งพระราชลัญจกร แต่ไม่มีพระนามของจักรพรรดิยุงฮึย กลับมีลายมือชื่อของลีวานยง นายกรัฐมนตรีเกาหลีแทน ดังนั้นตลอดเวลาและหลังการยึดครองของญี่ปุ่น จึงมีคำถามโดยเฉพาะกับชาวเกาหลีว่าสนธิสัญญาฉบับนี้มีความถูกต้องมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่าชาวเกาหลีในปัจจุบันจะต้องไม่ยอมรับสัญญาฉบับนี้ และประกาศให้สัญญาฉบับนี้เป็นโมฆะในพ.ศ. 2548 แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เกาหลีก็ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นไป 30 กว่าปี จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้

แปซิฟิกใต้ในอาณัติ

[แก้]

หลังจากญี่ปุ่นได้รับมอบหมายการปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติจากสันนิบาติ ในปี ค.ศ. 1914 รัฐบาลกลางญี่ปุ่นได้มอบหมายให้ผู้บัญชาการของกองกำลังป้องกันชั่วคราวทะเลใต้ (South Seas Islands Temporary Garrison) เป็นผู้นำรัฐบาลเของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ โดยผู้บัญชาการจะมีอำนาจในการบังคับบัญชาทหารและพลเรือนในดินแดนแห่งนี้ โดยได้ตั้งศูนย์กลางการบริหารขึ้นที่เกาะซัมเมอร์ (Summer) เกาะแยป (Yap) เกาะยาลูอิต (Jaluit) และเกาะอางาอูร์ (Angaur) (Purcell, 1967: 147) ในปี ค.ศ. 1915 ได้มีการนำที่ปรึกษาและข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้ามาทำงานในแปซิฟิกใต้ในอาณัติมากขึ้น จนกระทั่งในที่สุดในปี ค.ศ. 1918 กองกำลังทหารได้ถ่ายโอนอำนาจทั้งหมดให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือนในการปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติ และย้ายศูนย์กลางการบริหารจากเกาะซัมเมอร์มาสู่คอร์รอในเกาะปาเลาในปี ค.ศ. 1922

ในระยะแรกของการปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 – 1922 ญี่ปุ่นปกครองดินแดนแห่งนี้โดยใช้ระบอบที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีได้วางรากฐานไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 เป็นต้นมา แต่ในช่วงปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อการการเมืองการปกครองของแปซิฟิกใต้ในอาณัติคือในปี ค.ศ. 1929 เมื่อย้ายหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการเมืองการปกครองจากการดูแลโดยตรงโดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสู่กระทรวงกิจการโพ้นทะเล (Ministry of Oversea Affairs) ส่วนกิจการด้านอื่นได้ย้ายเข้าสู่กระทรวงที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเปลี่ยนแปลงจากการแบ่งเขตแบบเดิม ออกเป็นการแบ่งเขตแบบใหม่ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่ ไซปัน (Saipan) (หมู่เกาะมาเรียนาส์) แยป (Yap) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ปาเลา (Palau) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ตรุก (Truk) (หมู่เกาะแคโรไลน์) โปนเปห์ (Ponape) (หมู่เกาะแคโรไลน์) และยาลูอิต (Jaluit) (หมู่เกาะมาร์แชลล์) ซึ่งในแต่ละเขตจะมีข้าหลวงจากส่วนกลางเข้าไปปกครอง ในส่วนท้องถิ่นของแต่ละเขตประกอบไปด้วยหมู่บ้านชาวพื้นเมืองหลายหมู่บ้าน มีหัวหน้าหมู่บ้านและเป็นหัวหน้าชนเผ่าในยุคดั้งเดิมซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมทะเลใต้เป็นผู้ปกครอง ในกรณีของหัวหน้าหมู่บ้านเหล่านี้มักมีหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นในการจัดทำรายงานต่าง ๆ ภายในดินแดนของตน จัดเก็บภาษีชาวพื้นเมืองผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่พิการและแก่ชรา รวมถึงส่งข้อเสนอของชุมชนของตนต่อเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ในทางกฎหมาย ญี่ปุ่นจะมอบอำนาจและหน้าที่ให้หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละแห่งเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติพบว่าอำนาจหน้าที่ในอดีตเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดสถานะที่มีความแตกต่างกันของหัวหน้าหมู่บ้านแต่ละคน ซึ่งญี่ปุ่นใช้การปกครองรูปแบบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อพิจารณาจากสถานะของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ พบว่าสันนิบาติชาติต้องการมอบดินแดนแปซิฟิกใต้ในอาณัติให้กับญี่ปุ่นในสถานะดินแดนในภาวะทรัสตี (ดินแดนในอาณัติ) แม้ว่าสภาวะของแปซิฟิกใต้ในอาณัติในขณะนั้นจะเป็นดินแดนที่ไม่สามารถปกครองตนเองได้และยังมีโครงสร้างทางการเมืองไม่แน่ชัด จึงต้องใช้หลักกฎหมายและการบริหารจัดการเสมือนเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ แต่พฤตการณ์ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการปกครองพบว่ามักไม่เปิดโอกาสให้ชาวพื้นเมืองเข้ามามีบทบาททางด้านการเมืองการปกครองมากนัก รวมไปถึงการพยายามทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่น ซึ่งพฤตการณ์ของญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะของการยึดครอง มากกว่าจะปกครองในฐานะดินแดนในอานัติ

กรณีการขอลาออกจากสันนิบาติชาติ ส่งผลให้สถานะของแปซิฟิกใต้ในอาณัติเริ่มไม่แน่ชัด เนื่องจากดินแดนแมนเดตเป็นดินแดนของสันนิบาติชาติที่มอบให้ประเทศสมาชิกดูแล การลาออดจากสมาชิกภาพย่อมเป็นผลให้การดูแลแมนเดตสิ้นสุดลง ในช่วงเวลานี้พบว่าเยอรมนีได้พยายามเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่นหรือให้สันนิบาติชาติหาประเทศสมาชิกอื่นเข้ามาดูแลดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามสันนิบาติชาติไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่าสันนิบาติชาติไม่อยากดำเนินมาตรการรุนแรงกับญี่ปุ่นและคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติอีกครั้ง

เมื่อศึกษาระบบการศาลและกระบวนการยุติธรรมในแปซิฟิกใต้ในอาณัติพบว่า รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ มีการจัดตั้ง หน่วยงานด้านศาลครอบคลุมทุกหมู่เกาะสำคัญของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ ข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมมีอำนาจในการพิจารณีคดีความ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอำนาจบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการในแปซิฟิกใต้ในอาณัติ การพิจารณาคดีของชาวญี่ปุ่นและชาวพื้นเมืองดำเนินในลักษณะเดียวกัน ซึ่งผู้พิพากษาของศาลมักได้รับการแต่งตั้งโดยข้าหลวงใหญ่ของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ ในส่วนของเจ้าหน้าที่รักษาความสงบในแปซิฟิกใต้ในอาณัติ ในระยะแรกเป็นหน่วยงานทหารในพื้นที่ เมื่อหน่วยงานทหารโอนอำนาจให้ฝ่ายพลเรือนแล้ว หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่คือตำรวจ โดยนายตำรวจระดับสูงมักเป็นชาวญี่ปุ่น และตำรวจระดับปฏิบัติการเป็นชาวพื้นเมืองผสมผสานกับชาวญี่ปุ่น

แมนจูเรีย

[แก้]

หลังจากการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่นได้มุ่งหน้าสู่การแบ่งแยกภูมิภาคแมนจูเรียออกจากการควบคุมจีนและสร้างรัฐหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นขึ้น และเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความชอบธรรมขึ้น อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ จักรพรรดิของจีนองค์สุดท้ายจึงได้รับเชิญจากญี่ปุ่นพร้อมกับอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ยพระอนุชาและบรรดาผู้ติดตาม เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐแมนจูเรียที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หนึ่งในผู้ติดตามผู้ซื่อสัตย์ของเขาคือ เจิ้ง เซี่ยวซือ นักปฏิรูปและผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 ได้มีการประกาศสถาปนา "รัฐแมนจู" หรือ "แมนจูกัว"[2] ญี่ปุ่นได้ให้การรับรองแมนจูกัวผ่านการลงนามในพิธีสารญี่ปุ่น-แมนจูกัว เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1932 เมืองฉางชุนซึ่งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ซิงกิง" ("เมืองหลวงใหม่") มีฐานะเป็นเมืองหลวงของรัฐใหม่แห่งนี้ ชาวฮั่นในแมนจูเรียได้รวมตัวกันเป็นกองทัพอาสาสมัครเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้รัฐใหม่ดังกล่าวจำเป็นต้องทำสงครามอันยื้ดเยื้ออีกหลายปีเพื่อสร้างความสงบภายในประเทศ

ในขั้นต่อมา ญี่ปุ่นได้ดำเนินการแต่งตั้งให้ผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐเป็นในปี ค.ศ. 1932 และอีกสองปีให้หลังจึงได้มีการสถาปนาให้เขาดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว โดยใช้ชื่อศักราชประจำรัชกาลตามแบบจีนว่า "คังเต๋อ" (หมายถึง "ความสงบและคุณธรรม") ประเทศแมนจูกัวจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "จักรวรรดิแมนจู" หรือในชื่อเต็ม "จักรวรรดิแมนจูเรียอันยิ่งใหญ่" เจิ้ง เซี่ยวซือได้ดำรงตำแหน่งเป็นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของแมนจูกัวจนถึง ค.ศ. 1935 โดยมีจาง จิงหุยขึ้นดำรงตำแหน่งแทน สำหรับจักรพรรดิผู่อี๋นั้น พระองค์มีฐานะดุจเดียวกับเจว็ด เพราะอำนาจการปกครองประเทศที่แท้จริงนั้นล้วนอยู่ในกำมือของทหารญี่ปุ่นทั้งสิ้น พระราชวังได้ถูกสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับควบคุมจักรพรรดิ รัฐมนตรีของแมนจูกัวทั้งหมดรับบทเป็นเพียงร่างทรงของรองรัฐมนตรีที่เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจในทุกเรื่องอย่างแท้จริง


อ้างอิง

[แก้]
  1. Peattie 1988, p. 217.
  2. "Between World Wars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-31. สืบค้นเมื่อ 2017-07-15.

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?