For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย.

รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย

รัฐมองโกเลียใหญ่

ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ
Монгол улс
Mongol uls
ค.ศ. 1911–1915
ค.ศ. 1921-1924
ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติЗуун лангийн жороо луус
ᠵᠠᠭᠤᠨ ᠯᠠᠩ ᠤᠨ ᠵᠢᠷᠤᠭ᠎ᠠ ᠯᠠᠭᠤᠰᠠ
โซส ลังกีน จอรอ โลส
ศตวรรษประชาชนของสามัญชนสีเงิน
พระราชลัญจกร
มองโกเลียนอกใน ค.ศ. 1914 แสดงเป็นสีแสด
มองโกเลียนอกใน ค.ศ. 1914 แสดงเป็นสีแสด
สถานะ
เมืองหลวงนีสเล็ลฮุเร
ภาษาทั่วไปมองโกเลีย
ศาสนา
ศาสนาพุทธแบบทิเบต (ทางการ)
การปกครองรัฐเดี่ยวภายใต้พระพุทธศาสนา[1] ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข่าน 
• ค.ศ. 1911–1915
ค.ศ. 1921-1924
บ็อกด์ ข่าน
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1912–1915 (คนแรก)
ต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน
• ค.ศ. 1919–1920 (คนสุดท้าย)
กอนชิกจาลซานกิน บาดัมดอร์จ
สภานิติบัญญัติไม่มี (การปกครองโดยคำสั่ง) (ค.ศ. 1911–1914; ค.ศ. 1921–1924)
สภาโฮรัล (ค.ศ. 1914–1919)
ประวัติศาสตร์ 
29 ธันวาคม ค.ศ. 1911
• เขตปกครองตนเองของจีนภายใต้อิทธิพลของรัสเซีย
17 มิถุนายน ค.ศ. 1915
• ยกเลิกการปกครองตนเอง
ค.ศ. 1919–1921
1 มีนาคม ค.ศ. 1921
• โซเวียตยึดครอง
ค.ศ. 1921–1924
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924
สกุลเงินเทล, ดอลลาร์มองโกเลีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
ค.ศ. 1911:
ราชวงศ์ชิง
ค.ศ. 1921:
สาธารณรัฐจีน
ค.ศ. 1919:
สาธารณรัฐจีน
ค.ศ. 1924:
สาธารณรัฐ
ประชาชนมองโกเลีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย (มองโกเลีย: อักษรมองโกเลีย:ᠪᠣᠭᠳᠠ ᠬᠠᠭᠠᠨᠲᠤ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ, Богд хаант Монгол Улс; จีน: 博克多汗國; พินอิน: Bókèduō Hán Guó) เป็นรัฐบาลโดยพฤตินัยของมองโกเลียนอกในระหว่าง ค.ศ. 1911 ถึง ค.ศ. 1915 และดำรงอยู่อีกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1924 โดยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1911 ขุนนางคนสำคัญบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึงเจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหรินได้เชิญให้เจาซันดัมบา โฮตักต์เข้าร่วมการประชุมขุนนางและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสงฆ์เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นอิสรภาพจากราชวงศ์ชิง ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 มองโกเลียได้ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวฮัลฮ์ จากนั้นในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 มองโกเลียจึงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ชิงที่กำลังล่มสลายหลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ โดยมีองค์เทวาธิปัตย์คือ บ็อกด์ เกเกงที่ 8 เป็นผู้นำสูงสุดของศาสนาพุทธแบบทิเบตในมองโกเลีย ซึ่งได้รับนามเรียกขานว่า บ็อกด์ ข่าน หรือ "ผู้ปกครองอันศักดิ์สิทธิ์"[2] บ็อกด์ ข่าน เป็นข่านองค์สุดท้ายของชาวมองโกล โดยรัชสมัยของพระองค์มีชื่อเรียกว่า "สมัยเทวาธิปไตยมองโกเลีย" (Theocratic Mongolia)[3] และอาณาจักรของพระองค์เป็นที่รู้จักกันในนาม "รัฐข่านบ็อกด์"[4]

ในช่วงเวลานี้มีการเกิดขึ้นของสามกระแสการเมืองหลักด้วยกัน โดยกระแสแรกคือความพยายามของชาวมองโกลที่จะสร้างรัฐเทวาธิปไตยที่เป็นเอกราช ซึ่งประกอบด้วยมองโกเลียใน บาร์กา (หรือที่รู้จักกันในชื่อฮูหลุนเป้ย์) มองโกลส่วนบน มองโกเลียตะวันตก และตังนู่อูเหลียงไห ("ลัทธิรวมกลุ่มมองโกล") กระแสที่สองคือความมุ่งมั่นของจักรวรรดิรัสเซียในการสร้างอำนาจเหนือดินแดนมองโกเลีย แต่ในขณะเดียวกันก็รับรองเอกราชของมองโกเลียนอกในการดูแลของสาธารณรัฐจีน และกระแสที่สามคือความสําเร็จสูงสุดของสาธารณรัฐจีนในการลบล้างอำนาจปกครองตนเองของมองโกเลียและสถาปนาอํานาจอธิปไตยเหนือภูมิภาคอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง ค.ศ. 1921

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. May, Timothy Michael (2008). Culture and customs of Mongolia. Greenwood Press. p. 22.
  2. Thomas E. Ewing, Revolution on the Chinese Frontier: Outer Mongolia in 1911, Journal of Asian History (Wiesbaden), v. 12, pp. 101–119 (1978).
  3. Академия наук СССР History of the Mongolian People's Republic, p. 232
  4. Butler, William Elliott. The Mongolian legal system: contemporary legislation and documentation. p. 255.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Ewing, Thomas E. (1980). Between the Hammer and the Anvil. Chinese and Russian Policies in Outer Mongolia, 1911–1921. Bloomington, IN.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?