For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for รัฐเมืองพาน.

รัฐเมืองพาน

เมืองพาน
မိုင်းပန်နယ်
รัฐเจ้าฟ้าของสหพันธรัฐชาน
พ.ศ. 2180 – พ.ศ. 2502

รัฐเมืองพาน (สีน้ำตาล) ทางใต้ติดชายแดนไทย
เมืองหลวงเมืองปั่น
พื้นที่ 
• พ.ศ. 2444
3,703 ตารางกิโลเมตร (1,430 ตารางไมล์)
ประชากร 
• พ.ศ. 2444
16,629 คน
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
พ.ศ. 2180
• สิ้นสุดระบอบเจ้าฟ้า
พ.ศ. 2502
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐแสนหวี
รัฐชาน

เมืองปั่น (พม่า: မိုင်းပန်; ไทใหญ่: မိူင်းပၼ်ႇ) หรือเอกสารไทยเรียก เมืองพาน เป็นรัฐเจ้าฟ้าแห่งหนึ่งในกลุ่มสหพันธรัฐชาน มีราชธานีคือเมืองปั่น ตั้งอยู่กลางที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ รอบนอกเมืองหลวงรายล้อมด้วยภูเขาสูงที่เต็มไปด้วยป่าสัก และมีดอยขี้เหล็กเป็นภูเขาสูงที่สุด[1] ปัจจุบันอดีตรัฐเมืองพานตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐชานในเขตประเทศพม่า[2]

ประวัติ

[แก้]

ช่วงต้นและรัฐในอารักขา

[แก้]

รัฐเมืองปั่นก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2180[1] มีราชธานีอยู่ที่เมืองปั่น ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ส่วนเขตการปกครองทั้งหมดสี่เมือง ได้แก่ เมืองต่วน/โต๋น (Mongton) เมืองหาง (Monghang) เมืองจวด/จวาด/ชวาด (Mongkyawt) และเมืองทา (Monghta) ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน[2] มีเจ้าฟ้าเป็นผู้ปกครอง ใช้พระนามว่า กัมโพชมหาวังสะ สิริธรรมราชา (ကမ္ဘောဇမဟာဝံသသီရိဓမ္မရာဇာ Kambawsa Mahawuntha Thirdamaraza)[3] ซึ่งสหราชอาณาจักรมองว่าเป็นเขตปกครองของเจ้าฟ้า แต่ทางสยามอ้างสิทธิเหนือดินแดนแถบนี้มาตลอด

พ.ศ. 2005 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา ได้ยกทัพมาตีเมืองนายและหัวเมืองไทใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2013 พระเจ้าติโลกราชกับแม่ท้าวหอมุกเสด็จมาเมืองปั่น เมืองนาย เงินป่องฟ้าเจ้าเมืองนาย ให้ลูกนำเครื่องบรรณาการมาถวาย หมื่นบุญเรือง เจ้าเมืองเชียงรายได้เสียชีวิตในระหว่างที่ตามเสด็จ ดังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า

ในปลีกดยี สกราช ๘๓๒ ตัว พระเปนเจ้ากับแม่ท้าวหอมุกไพเมืองปั่นเมืองนายเล่า เจ้าเมืองนายชื่อเงินปล่องฟ้าหื้อลูกมันมาไหว้พระเปนเจ้าแลถวายปัณณาการ หมื่นบุญเรืองผู้กินเมืองเชียงรายได้ไพตายเสียยังเมืองเยี้ยวปางนั้นแล

— ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

[4]


พ.ศ. 2502 หมื่นจ่าบ้านล้องนำกองทัพมาตีเมืองปั่น แต่ไม่สามารถตีเมืองปั่นได้และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับเมืองปั่น

สกราช ๘๗๑ ตัว จ่าบ้านล้องได้เปนขุนหมื่น ทือพลไพรบเยี้ยวเมืองปั่น จักปล่นเอาเมือง บ่ได้ พ่ายแก่เยี้ยว

— ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

[5]

พ.ศ. 2321 เจ้ากาวิละ ให้เจ้ารัตนหัวเมืองแก้ว (พระยาคำฟั่น) ทำการโจมตีเมืองปั่น ได้ตัวเจ้าฟ้าหน่อคำและกวาดต้อนผู้คนของเมืองปั่นและตองกายลงมาเมืองลำปาง เมืองป่าซาง ดังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า

เถิงสกราช ๑๑๔๘ ตัว ปลีรวายสะง้า... ...เถิงเดือน ๘ ออก ๒ ฅ่ำ วัน ๕ พระเปนเจ้าแต่งเจ้ารัตตนะหัวเมืองแก้วพระราชชะวังหลัง คุมริพล ๕๐๐ ขึ้นไปยุทธกัมม์เอาเมืองปั่น คราวทาง ๒๕ วัน เข้าครอบงำเอาได้เจ้าฟ้าหน่อฅำและลูกเมียครอบครัว แลกวาดเอาเมืองปั่นเมืองตองคายลงมาใส่บ้านเมือง

— ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

[6][7]

พ.ศ. 2361 พระยาธรรมลังกา ให้เจ้าสุวรรณคำมูลยกทัพไปตีเมืองปั่น กวาดต้อนชาวเมืองปั่นลงมาเมืองเชียงใหม่ ดังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า

ในสกราช ๑๑๘๐ ตัว ปลีเปิกยี เดือน ๔ ออก ๖ ฅ่ำ วัน ๖ พระเปนเจ้าช้างเผือกแต่งเจ้าสุวัณณะฅำมูลตนเปนหลาน คุมริพลพันฅน ยกไปตีเมืองปั่น ได้อุพพยุครอบครัวมาใส่บ้านเมืองครั้งนึ่ง

— ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

[8]

ต่อมาใน พ.ศ. 2431 รัฐบาลสยามส่งทหารมาประจำการในสี่หัวเมืองติดแม่น้ำสาละวินด้านตะวันออก และอ้างสิทธิเหนือเมืองสาดแต่ไม่ได้ตั้งกองทหารรักษาการ[9]

พ.ศ. 2432 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนแองโกล-สยาม พ.ศ. 2432–2433 เพื่อแก้ปัญหาเขตแดนของรัฐหมอกใหม่ รัฐเมืองปั่น (เมืองพาน) และกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง ซึ่งเป็นรัฐในแถบลุ่มน้ำสาละวิน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะทางสยามไม่ตกลงด้วย ด้วยเหตุนี้ทางสหราชอาณาจักรจึงรวบเขตแดนรัฐขนาดน้อยเหล่านี้เข้ากับอาณานิคมพม่าของบริติช ทางสหราชอาณาจักรจึงให้สยามถอนกองกำลังทหารออกจากแถบลุ่มน้ำสาละวิน และจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนแองโกล-สยาม พ.ศ. 2435–2436 ขึ้นเพื่อหาข้อตกลงครั้งใหม่ร่วมกันกับสยาม[10]

อำเภอเมืองพานของไทย

[แก้]
อำเภอเมืองพาน
อำเภอ
พ.ศ. 2485–2488
ยุคทางประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2
• ผนวกดินแดน
25 มกราคม พ.ศ. 2485
• ยกเป็นอำเภอ
18 ตุลาคม พ.ศ. 2486
• ยุบเลิก
22 กันยายน พ.ศ. 2488
ก่อนหน้า
ถัดไป
พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธงของประเทศพม่า พม่า

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จักรวรรดิญี่ปุ่นขอให้รัฐบาลไทยสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารขึ้นไปยึดสหพันธรัฐชานจากทหารจีนก๊กมินตั๋งของจอมพลเจียงไคเช็ก และกองทัพอังกฤษเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ต่อมาพลเอก ฮิเดกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้พบจอมพล แปลก พิบูลสงครามเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เพื่อมอบพื้นที่จำนวน 12 เมืองของรัฐชานแก่ไทย รัฐบาลไทยจึงผนวกดินแดนแคว้นสหรัฐไทยใหญ่และรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย[11] ก่อนทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2486 หลังการประกาศมอบดินแดนทั้งหมดให้แก่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ราชกิจจานุเบกษาระบุว่า "ฉะนั้น กลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส และบันดาเกาะที่ขึ้นหยู่ กับทั้งเชียงตุงและเมืองพาน จึงเปนอันรวมเข้าไนราชอานาจักรไทยตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พุทธสักราช 2486 เปนต้นไป"[12]

รัฐเมืองพานได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมืองพาน ต่างหาก ไม่ขึ้นกับจังหวัดใด มีการปกครองแบบทหารเช่นเดียวกับสหรัฐไทยเดิม[13] โดยให้หัวหน้าสถานีตำรวจปฏิบัติหน้าที่เป็นนายอำเภออยู่ในบังคับบัญชาของตำรวจสนามเชียงใหม่และทัพพายัพ ส่วนทางอรรถคดีให้ขึ้นกับศาลเมืองหางของสหรัฐไทยเดิมซึ่งอยู่ใกล้กัน[14] หลังจากที่ไทยที่เข้าครอบครองดินแดนของพม่าตามที่ได้วางเป้าหมายไว้แล้ว ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นทุกอำเภอ[15]

ทว่าหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง จักรวรรดิญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยจำต้องส่งมอบรัฐเชียงตุงและรัฐเมืองพานคืนให้กับกองพลอินเดียที่ 7 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2488

สิ้นสุด

[แก้]

รัฐเมืองพานสิ้นสุดการปกครองลงใน พ.ศ. 2502 และถูกยุบรวมขึ้นกับจังหวัดลางเคอ ดอยแหลม และเมืองสาต รัฐชาน ของประเทศพม่า จนถึงปัจจุบัน[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Imperial Gazetteer of India, v. 17, p. 407
  2. 2.0 2.1  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Mōng Pan" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 18 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 722.
  3. Ben Cahoon (2000). "World Statesmen.org: Shan and Karenni States of Burma". สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  4. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
  5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
  6. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
  7. รัตนาพร เศรษฐกุล, รองศาสตราจารย์ ดร. (2556). ศึกเชียงตุง : การเปิดแนวรบเหนือสุดแดนสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (PDF). Northern Illinois University. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
  8. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
  9. The Pacification of Burma, by Sir Charles Haukes Todd Crosthwaite
  10. Imperial Gazetteer of India, v. 22, p. 254.
  11. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 574
  12. "ประกาส รวมกลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส เชียงตุง และเมืองพาน เข้าไนราชอาณาจักรไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ก): 1532–1533. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 575
  14. "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องการจัดการปกครองรัถเมืองพาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ง): 3272. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. บ. บุญค้ำ. เที่ยวเมืองเชียงตุง และแคว้นสาละวิน. 2499. มปถ., หน้า 175
  16. บ. บุญค้ำ. เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2555, หน้า 27
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
รัฐเมืองพาน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?