For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มณฑลพิษณุโลก.

มณฑลพิษณุโลก

มณฑลพิษณุโลก
มณฑล
พ.ศ. 2437 – 2476
Flag of มณฑลพิษณุโลก
ธง

แผนที่มณฑลพิษณุโลก
เมืองหลวงพิษณุโลก
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2437–2445
พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (เชย กัลยาณมิตร) (คนแรก)
• พ.ศ. 2449
พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา)
• พ.ศ. 2449–2465
เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา)
• พ.ศ. 2465–2468
พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร)
• พ.ศ. 2471–2476
พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้ง
พ.ศ. 2437
• รวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าไว้ในการปกครอง
27 กันยายน พ.ศ. 2446
• แยกพื้นที่จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
• รวมมณฑลเพชรบูรณ์ไว้ในการปกครองอีกครั้ง
1 เมษายน พ.ศ. 2459
• รับจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตาก จากมณฑลนครสวรรค์ไว้ในการปกครอง
1 เมษายน พ.ศ. 2475
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองพิษณุโลก
เมืองสุโขทัย
เมืองสวรรคโลก
เมืองพิชัย
เมืองพิจิตร
มณฑลเพชรบูรณ์
มณฑลเพชรบูรณ์
มณฑลนครสวรรค์
มณฑลเพชรบูรณ์
จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดสวรรคโลก
จังหวัดพิจิตร
จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดตาก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลพิษณุโลก[1] บ้างสะกดว่า พิศณุโลกย์[2][3] หรือ พิศณุโลก[4] เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 และถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2476

ประวัติ

[แก้]

การเกิดมณฑลพิษณุโลกเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินนโยบายขยายอำนาจควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ให้ทั่วถึง โดยการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานสาขาของรัฐบาลกลางกรุงเทพฯ โดยส่งตัวแทนของรัฐบาลกลางไปดูแลอย่างใกล้ชิด มีหลักการสำคัญก็คือ การมอบอำนาจในการบริหารงานให้แก่สมุหเทศาภิบาล โดยการมอบอำนาจดังกล่าวคือการแบ่งเบาภาระในการช่วยกันป้องกัน กำจัด และกลั่นกรองให้แก่รัฐบาล ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยข้าหลวงส่วนกลางที่รัฐบาลจัดให้ไปบริหารราชการในส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ แทนระบบการกินเมือง

การเริ่มต้นในการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลครั้งแรกเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2437 มี 4 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และมณฑลราชบุรี ดังนั้นมณฑลพิษณุโลกจึงเป็นมณฑลกลุ่มแรกที่ได้รับการโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งขึ้น โดยให้รวมหัวเมืองเหนือ 5 หัวเมืองในลุ่มแม่น้ำยมและลุ่มแม่น้ำน่าน ซึ่งได้แก่ เมืองพิษณุโลก, เมืองพิไชย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอุตรดิฐ), เมืองพิจิตร, เมืองศุโขไทย และเมืองสวรรคโลก จัดตั้งเป็นมณฑลพิษณุโลก มีเมืองพิษณุโลกเป็นที่บัญชาการมณฑลเทศาภิบาล โดยมีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (เชย กัลยาณมิตร) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นคนแรก

เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์และรวมเข้ากับมณฑลพิษณุโลก[5] แต่ต่อมาได้จัดตั้งมณฑลเพ็ชร์บูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2450 (ร.ศ. 126)[6] และได้ประกาศยกเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์และรวมเข้ากับมณฑลพิษณุโลกเป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ในขณะนั้นมณฑลเพชรบูรณ์มีอยู่ 2 เมือง (จังหวัด) ได้แก่ เมืองเพ็ชร์บูรณ์ และเมืองหล่มศักดิ์ ทำให้ทั้งสองเมืองย้ายไปขึ้นอยู่ในความปกครองของมณฑลพิษณุโลก[7] และในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่าเมืองมาเป็นจังหวัด[8]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบเลิกมณฑลนครสวรรค์ จังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครสวรรค์จึงรวมเข้าไว้ในความปกครองของมณฑลอยุธยา ยกเว้นจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพ็ชรให้ยกไปขึ้นอยู่ในปกครองของมณฑลพิษณุโลก[9] จนกระทั่งมณฑลทั้งหมดรวมถึงมณฑลพิษณุโลกได้ถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เขตการปกครอง

[แก้]

จากข้อมูลรายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกเมื่อ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ในราชกิจจานุเบกษา มณฑลพิษณุโลกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง ดังนี้[10]

  • เมืองพิษณุโลก (เมืองเอก) มีเมืองขึ้น 15 เมือง ได้แก่ เมืองศรีภิรมย์ เมืองพรหมพิราม เมืองเทพบุรี เมืองตะนม เมืองชาติตะการ เมืองนครชุม เมืองนครไทย เมืองด่านซ้าย เมืองไชยนาม เมืองนครป่าหมาก เมืองคำ เมืองชุมศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมืองไทยบุรี และเมืองภูครั่ง
  • เมืองพิไชย (เมืองโท) มีเมืองขึ้น 13 เมือง ได้แก่ เมืองพิพัฒ เมืองปัตะบรูณ เมืองพิมูล เมืองขุนกัน เมืองอุตรดิฐ เมืองทุ่งยั้ง เมืองลับแล เมืองด่านนางพูล เมืองฝาง เมืองตรอน เมืองน้ำปาด เมืองเชียงคาน เมืองแมด
  • เมืองสวรรคโลก (เมืองโท) มีเมืองขึ้น 6 เมือง ได้แก่ เมืองวิเศษไชยสัตย์ เมืองยม เมืองบังขัง เมืองด้ง เมืองพิรามรง เมืองศรีพนมมาศ
  • เมืองศุโขไทย (เมืองโท) มีเมืองขึ้น 6 เมือง ได้แก่ เมืองศรีสำโรง เมืองกงไกรลาศ เมืองนครนาคง เมืองราชธานี เมืองคีรีมาศ เมืองกงพราน
  • เมืองพิจิตร (เมืองตรี) มีเมืองขึ้น 1 เมือง ได้แก่ เมืองภูมิ

ทำเนียบสมุหเทศาภิบาลมลฑล

[แก้]

ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2437–2476[11]

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) หมายเหตุ
1 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (เชย กัลยาณมิตร) 2437–2445
2 พระยาภักดีณรงค์ 2445–2446
3 พระศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพ เนติโพธิ์) 2446–2449
4 พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) 2449
5 พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม เทพานนท์)[12] 2449
6 พระยาอุไทยมนตรี (พร จารุจินดา) 2449–2465
7 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (ทองสุก ดิษยบุตร) 2465–2468
8 พระยาเพชร์ปาณี (ดั่ง รักตประจิต) 2468–2471
9 พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) 2471–2476
การปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จอกไปตรวจราชการเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (21): 259. 19 สิงหาคม 2443.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งศาลยุติธรรม ในมณฑลพิศณุโลกย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 14 (50): 817. 13 มีนาคม 2440.
  3. "แจ้งความมณฑลพิศณุโลกย์ รายพระนามและนามผู้บริจาคทรัพย์ปฏิสังขรณ์พระอาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (27): 330. 13 มีนาคม 2440.
  4. "แจ้งความกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องซ่อมทำฝายร่องเดื่อ ตำบลนาแซง ท้องที่อำเภอหล่มศักดิ์ มณฑลพิศณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 326. 29 เมษายน 2460.
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ รวมขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ หน้า ๔๔๓ วันที่ ๒ ตุลาคม ๑๒๓. 2 ตุลาคม พ.ศ. 2447. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งมณฑลเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ หน้า ๑๒๐๓ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๑๒๖. 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "ประกาศเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์เข้าเปนเมืองในมณฑลพิศณุโลก แลแยกมณฑลพายัพเปนมณฑลมหาราษฎร์ แลมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเปนผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กันยายน พ.ศ. 2458. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0ก): 51–53. 28 พฤษภาคม 1916.
  9. "ประกาศ เรื่องยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "รายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ที่ 47, 973" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17: 1–42. 11 พฤศจิกายน 1900.
  11. หวน พินธุพันธ์. "รายนามข้าหลวงเทศาภิบาลและสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก," ใน พิษณุโลกของเรา. พิษณุโลก : วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก, 2514. 195 หน้า. หน้า 28–32.
  12. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก : พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติ ครบ ๑๐๐ ปี. วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2506. 107 หน้า. น. 17.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มณฑลพิษณุโลก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?