For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มะเกลือ.

มะเกลือ

มะเกลือ
ต้นมะเกลือในประเทศเวียดนาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
Ericales
วงศ์: วงศ์มะพลับ
Ebenaceae
สกุล: สกุลมะพลับ
Diospyros
Griff.[1]
สปีชีส์: Diospyros mollis
ชื่อทวินาม
Diospyros mollis
Griff.[1]

มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง สมัยก่อนนิยมใช้ยางผลมะเกลือไปย้อมผ้า ผลที่เปลือกเป็นสีดำ เมื่อรับประทานทำให้หน้ามืด ตาลายตาพร่ามัว อาเจียน ท้องเดินและตาบอดได้[2]

มะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี [3] ในภาคเหนือเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า มะเกีย มะเกือ หรือ ผีผา [4][5] ทางใต้เรียกว่า เกลือ [5] แถบเขมร-ตราดเรียก มักเกลือ [5]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

มะเกลือไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. เปลือกต้นมีสีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบเป็นใบเดียวรูปรี ปลายใบแหลม ผลกลมผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด [5]

การปลูก

[แก้]

มะเกลือเป็นไม้ที่ปลูกโดยการใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีกับดินแทบทุกชนิดเหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน ต้นมะเกลือนี้หากถ้าโดนแดดจัดจะทำให้ผลดกมากแต่ใบไม่ค่อยงาม วิธีการปลูกให้เพาะกล้าเสียก่อนเช่นเดียวกันกับต้นไม้อื่น ๆ แล้วนำเอาไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้[6]

สรรพคุณ

[แก้]

สรรพคุณจากส่วนต่าง ๆ มีดังนี้

  • ผล มะเกลือดิบมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานาน ผลมะเกลือมีรสเมาเบื่อ ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัยโดยมากใช้กับเด็ก วิธีการคือ เอาลูกสดใหม่ไม่ช้ำ ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำกะทิมะพร้าวดื่มทันที ห้ามเก็บไว้ จะเกิดพิษ ขับพยาธิไส้ เดือน พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้าย จำนวนลูกเอาเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 25 ลูก เอาดีเกลือ ฝรั่ง 10 กรัม ละลายน้ำสุก 1 แก้ว ดื่มตามหลัง 30 นาที[7]อย่าปล่อยให้เป็นสีดำ เพราะอาจเป็นพิษ ปัจจุบัน มีการสกัดสารที่มีฤทธิ์ขับพยาธิจากผลมะเกลือแล้วผลิตเป็นยาเม็ดสำเร็จรูปใช้รับประทาน
  • เมล็ด รสเมามัน ขับพยาธิในท้อง
  • เปลือกต้น รสฝาดเมา เป็นยาช่วยบูด แก้กระหาย ขับพยาธิ แก้พิษ ตานซาง
  • ทั้งต้น รสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย
  • แก่น รสฝาดเค็มขมเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง
  • ราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำข้าวกิน แก้อาเจียน แกเป็นลม หน้ามืด แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ[7]

วิธีการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ

[แก้]

วิธีแรก คือนำผลดิบมาตำให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำสีเหลืองมาใช้ย้อมผ้า ผ้านั้นจะมีสีเหลือง แต่เมื่อตากให้แห้งจะมีสีเขียวจะต้องย้อมและตากแห้งอย่างนี้ซ้ำ ๆ กัน 5 - 6 ครั้ง ผ้าจะเปลี่ยนสีจนกระทั่งกลายเป็นสีดำตามต้องการ อีกวิธีหนึ่ง คือ นำผลสุกสีดำมาบดละเอียด กรองแต่น้ำสีดำมาย้อมผ้า โดยย้อมแล้วตาก แล้วนำกลับมาย้อมซ้ำอีกประมาณ 3 ครั้ง ถ้าจะให้ผ้ามีสีดำสนิทและเป็นมันเงาด้วย ให้นำผ้าไปหมักในดินโคลน 1 – 2 คืน หรืออย่างน้อย 5 ชั่วโมงแล้วจากนั้นจึงนำมาซักให้สะอาด การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก ปัจจุบันจึงมีการเปลี่ยนไปใช้สีสังเคราะห์แทน เพราะสะดวกและใช้เวลาไม่มาก แต่ปัญหาที่พบ คือ สีสังเคราะห์ ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ย้อม ซึ่งอาการ คือ ผิวหนังเป็นผื่นอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย ตาอักเสบ จึงมีการนำมะเกลือมาใช้ย้อมผ้ากันเช่นเดิม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Diospyros mollis". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 8 February 2023.
  2. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
  3. "มะเกลือ"
  4. "มะเกลือ"
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ""พืชสมุนไพร มะเกลือ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  6. ""การปลูกมะเกลือ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-20. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  7. 7.0 7.1 ""สรรพคุณของมะเกลือ"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Diospyros mollis ที่วิกิสปีชีส์

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มะเกลือ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?