For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พญาสัตบรรณ.

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ
พญาสัตบรรณ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: ดอกหรีดเขา
Gentianales
วงศ์: วงศ์ตีนเป็ด
Apocynaceae
สกุล: Alstonia
Alstonia
(L.) R.Br.
สปีชีส์: Alstonia scholaris
ชื่อทวินาม
Alstonia scholaris
(L.) R.Br.
ข้อมูลรายการจาก GBIF[2]
ชื่อพ้อง[3]
  • Echites scholaris L.

พญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12–20 เมตร อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย [4] และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร

ลักษณะ

[แก้]

เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5–7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10–12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็ก ๆ ติดอยู่กับขุยนั้น[5]


การกระจายตัว

[แก้]

พญาสัตบรรณเป้นพืชที่พบในภูมิภาค ดังนี้:[3]

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[แก้]

สัตบรรณ ถือเป็นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาครผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูกเป็นปฐมฤกษ์ ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตาม โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือได้ว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นต้นไม้ประจำเขตพญาไท ในกรุงเทพมหานครอีกด้วย[7]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่น ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายทั่วไป นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สาคัญ[4] ในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน

พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[8] สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lakhey, P. & Pathak, J. (2021). "Alstonia scholaris". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T32295A2812825. สืบค้นเมื่อ 11 November 2022.
  2. GBIF.org (07 June 2018) GBIF Occurrence Download https://doi.org/10.15468/dl.eokqvq Alstonia scholaris (L.) R.Br.
  3. 3.0 3.1 "Alstonia scholaris". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2012-03-30.
  4. 4.0 4.1 ประไพรัตน์ สีพลไกร (มกราคม–มีนาคม 2012). "สารอินโดลอัลคาลอยด์และฤทธิ์ทางชีวภาพของต้นพญาสัตบรรณ" (PDF). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14 (1): 54–65. eISSN 2697-4142. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 มีนาคม 2016.
  5. "23. การปลูกไม้เพื่อขุดขาย เป็นไม้ประดับเช่น ต้นคูณ,สัตตบรรณ,อื่น ๆ". kasetonline.net. กรมวิชาการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2007.
  6. Simon Gardner, Pindar Sidisunthorn and Lai Ee May, 2011. Heritage Trees of Penang. Penang: Areca Books. ISBN 978-967-57190-6-6
  7. "ต้นไม้ประจำเขต". สำนักงานเขตพญาไท. 31 สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2016.
  8. ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี (2553). ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 3–5 ก.พ. 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 412–421. ISBN 978-616-7262-31-4.
  9. ศานิต สวัสดิกาญจน์ (2554). ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1–4 ก.พ. 2554. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 419–428. ISBN 978-616-7522-01-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alstonia scholaris ที่วิกิสปีชีส์

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พญาสัตบรรณ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?