For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มะหาด.

มะหาด

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

มะหาด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: กุหลาบ
Rosales
วงศ์: วงศ์ขนุน
Moraceae
สกุล: สกุลขนุน
Artocarpus
Buch.-Ham.
สปีชีส์: Artocarpus lacucha
ชื่อทวินาม
Artocarpus lacucha
Buch.-Ham.
ชื่อพ้อง
  • Artocarpus ficifolius W.T.Wang
  • Artocarpus lakoocha Roxb.
  • Artocarpus yunnanensis H.H.Hu
  • Saccus lakoocha (Roxb.) Kuntze

มะหาด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus lacucha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป

ชื่อ

[แก้]

ในแต่ละภูมิภาค มะหาดจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันกล่าวคือ ภาคเหนือเรียก "หาดหนุน" ในจังหวัดเชียงใหม่เรียก "ปวกหาด" ภาคกลางเรียก "หาด" ทางภาคใต้เรียก "มะหาด" ในจังหวัดตรังเรียก "มะหาดใบใหญ่" และตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก "กาแย , ตะแป , ตะแปง"[1]

ลักษณะ

[แก้]

มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก ผลเป็นผลรวมมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5-5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลย่อยมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี[1]

ผลมะหาดสุก แสดงให้เห็นเนื้อในผลที่เป็นยวง
ลักษณะของใบ

การปลูกดูแลบำรุงรักษา

[แก้]

การปลูกต้นมะหาดก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงไปต้องฆ่าเชื้อโรคในดินและเพิ่มสารอาหารในดินก่อนเริ่มปลูก โดยขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร แล้วตากดินไว้นาน 1–2 สัปดาห์ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้วรองก้นหลุม นำต้นกล้าลงปลูกกลบดินให้แน่นระยะเริ่มปลูกควรรดน้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตกและต้นกล้ายังตั้งตัวไม่ได้ ควรใช้ไม้หลักปักยึดกับลำต้นกันโยกและทำที่บังแสงแดดด้วย นอกจากนี้เมื่อต้นโตขึ้นควรกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นเป็นบางครั้ง

ประโยชน์

[แก้]

ต้นมะหาดที่สามารถนำมาใช้ผลประโยชน์ได้นั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 ปี[2]

  • แก่น - ใช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้วนำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า "ปวกหาด" ใช้ผงประมาณ 3-4 กรัมหรือ 1-2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก, ท้องอืด, ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน
  • ราก - ใช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน

ทางนิเวศน์

[แก้]
  • ต้นไม้ - ให้ความร่มรื่น ให้ร่มเงา ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน

ทางเนื้อไม้

[แก้]

ด้านสารสกัด

[แก้]
  • สารสกัด - ลดอาการผมร่วง กระตุ้นการงอกของเส้นผม แก้โรคเริม ช่วยทำให้โรคผิวหนังค่อย ๆ หายไป ลดความคล้ำของเม็ดสีผิว

ด้านเบ็ดเตล็ด

[แก้]

ต้นไม้ประจำจังหวัด

[แก้]

เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด และเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นมะหาดในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "มะหาด". otop.dss.go.th.
  2. 2.0 2.1 "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". www.rspg.or.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มะหาด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?