For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระมหากัจจายนะ.

พระมหากัจจายนะ

รูปปั้นของพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์

พระมหากัจจายนะ (บาลี: มหากจฺจายน, สันสกฤต: มหากาตฺยายน) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร ในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย"

พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ในแคว้นอวันตีจนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

ความเชื่อในนิกายมหายาน คัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตร บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ พระสุภูติ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

ความเข้าใจผิดในพุทธศาสนิกชนชาวไทย

[แก้]
วัดนวลนาราม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี

รูปเคารพของพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์ มักเป็นที่สับสนและเข้าใจผิดในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยว่าเป็นองค์เดียวกับพระสังกัจจายน์จีน ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นรูปเคารพของ พระปู้ไต้หลอฮั่น หรือ พระปู้ไต้ (จีน: 布袋; พินอิน: Bùdài) หรือพระโฮไท่ในญี่ปุ่น เป็น 1 ในพระอรหันต์ 18 องค์ และเป็น 1 ใน 7 องค์ของพระนำโชคที่ชาวญี่ปุ่นเคารพนับถือ

พระปู้ไต้ เดิมชื่อ ฉวีคู ถือกำเนิดที่เมืองหมิงโจว เขตเฟิงหัว ในมณฑลเจ้อเจียง ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.1450-1466) ท่านได้ศึกษาธรรมฝ่ายพุทธศาสนามหายาน ต่อมาจึงบวชเป็นพระภิกษุมีฉายาว่า ฉิ้วฉื่อ และชางทิงฉวี่ มักเห็นรูปของท่านนั่งพุงพลุ้ย ถือกระสอบ หรือ ย่าม ใบหน้ายิ้มแย้มอยู่เสมอ ซึ่งแสดงถึงความมีเมตตากรุณาต่อคนทั่วไปให้พวกเขาได้รับความสุข เท้าทั้งสองอยู่บนพื้น เพราะถือว่าท่านยังไม่ได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุด เป็นพระสงฆ์ที่มีอารมณ์ดีและนิสัยดีน่ารัก และได้ชื่อว่าเป็นพระสงฆ์ที่ต้อนรับแขก ท่านชอบแจกขนมให้แก่เด็กๆ

ก่อนมรณภาพ ท่านได้กล่าวบทสวดว่า

彌勒真彌勒,化身千百億,時時示時人,時人自不識
เมตไตรยะ เมตไตรยะที่แท้
จุติลงมาเกิดในโลกเป็นพันล้านองค์
มักปรากฏให้ปวงชนเห็นเสมอ
บางช่วงเวลาคนเหล่านั้นมิได้ระลึกถึงเลย

— ปู้ไต้หลอฮั่น

ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนานิกายเซ็น ลัทธิเต๋า และชินโต ว่า ท่านเป็นปางหนึ่งของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ลงมากำเนิด และถือว่าท่านเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ 18 องค์ ในสมัยพุทธกาล คือ พระอังกิตา หรือ กาลิโก เดิมเป็นชาวอินเดีย ชอบจับงูมีพิษเอาไปปล่อยเพื่อไม่ต้องการให้คนที่สัญจรไปมาเหยียบถูกงูพิษกัด ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า เป็น โพธิ ทั้งพระปู้ไต้ และ อังกิตาเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ใบหน้ายิ้มแย้มตลอดเวลาและถือย่ามหรือถุงสะพายหลัง

ส่วนพระสังกัจจายน์หรือพระมหากัจจายนะในประเทศไทย รูปจะต่างกันตรงที่ศีรษะมีผมม้วนเป็นก้นหอยคล้ายพระพุทธเจ้า และครองจีวรแบบเถรวาท แต่ก็ยังอ้วนท้วนเหมือนเดิม ส่วนของจีนศีรษะล้าน ครองจีวรแบบจีน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  • Chandra, Lokesh (2002). Dictionary of Buddhist Iconography. Aditya Prakashan. pp. 1652–1653. ISBN 8177420496.
  • Keown, Damien (2003). A Dictionary of Buddhism. Oxford University Press. p. 140. ISBN 0198605609.
  • หน้า 3, พระพุทธรูปหัวร่อ โดย กิเลน ประลองเชิง. "ชักธงรบ". ไทยรัฐปีที่ 69 ฉบับที่ 21933: วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา
  1. ประวัติโดยย่อ พระปู้ไต้หล่อฮั่น
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระมหากัจจายนะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?