For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บาร์ลามและโยซาฟัต.

บาร์ลามและโยซาฟัต

บาร์ลาม (ซ้าย) และโยซาฟัต (ขวา)

บาร์ลามและโยซาฟัต[1] (ละติน: Barlamus et Iosaphatus) เป็นตำนานมรณสักขีและนักบุญในศาสนาคริสต์ เรื่องราวมีที่มาจากพุทธประวัติของพระโคตมพุทธเจ้า[2] โดยเนื้อหาเป็นเรื่องราวของกษัตริย์อินเดียนามพระเจ้าอาเบนเนอร์ (Abenner) หรืออาเวเนียร์ (Avenier) ที่ข่มเหงรังแกโบสถ์คริสต์ในอาณาจักรของตน ทว่าเมื่อพระองค์มีพระราชโอรสคือเจ้าชายโยซาฟัต (Josaphat) โหรหลวงกราบทูลว่าพระราชโอรสพระองค์นี้จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ เมื่อทรงทราบความเช่นนั้นพระองค์จึงจองจำเจ้าชายโยซาฟัตแต่ในรั้วในวังมิให้ออกไปพบเห็นสิ่งใด แต่ครั้นโยซาฟัตได้พบกับนักบุญบาร์ลาม (Barlaam) ซึ่งเป็นนักพรต เจ้าชายจึงค้นพบสัจธรรมแล้วเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และหลังเจ้าชายตกระกำลำบากมานาน องค์กษัตริย์ทรงยอมรับความเชื่อแล้วสละราชสมบัติแก่เจ้าชายโยซาฟัตเพื่อออกบำเพ็ญพรตในทะเลทราย ในท้ายที่สุดโยซาฟัตสละราชสมบัติแก่เหล่าอำมาตย์แล้วออกเดินทางไปกับนักบุญบาร์ลามซึ่งเป็นพระอาจารย์อย่างสันโดษ[3]

เรื่องราวนี้ตกทอดมาจากพระคัมภีร์ศาสนาพุทธนิกายมหายานฉบับภาษาสันสกฤตช่วงศตวรรษที่ 2-4 สู่ฉบับลัทธิมาณีกี ก่อนตกทอดสู่กีตาบบีเลาฮัร วายูดาซัฟ (Kitab Bilawhar wa-Yudasaf) ซึ่งเป็นเอกสารภาษาอาหรับในแบกแดดเมื่อศตวรรษที่ 8 สุดท้ายจึงถ่ายทอดสู่แวดวงผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และแพร่หลายสู่ยุโรป โดยชื่อ "โยซาฟัต" มาจากคำสันสกฤตว่า "โพธิสตฺตฺว"[4][5][6]

มีการเฉลิมฉลองนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัตในวันที่ 26 สิงหาคมของทุกปีตามปฏิทินอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[7] และมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปีตามปฏิทินโรมัน[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต". สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาตรรกศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-06. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Levine, Nathan H. "Barlaam and Josaphat"". Encyclopedia of Buddhism Online. Brill. doi:10.1163/2467-9666. สืบค้นเมื่อ 27 April 2022.
  3. The Golden Legend: The Story of Barlaam and Josaphat เก็บถาวร 16 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. 4.0 4.1 Macdonnel, Arthur Anthony (1900). " Sanskrit Literature and the West.". A History of Sanskrit Literature. New York: D. Appleton and Co. p. 420.
  5. Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). "Barlaam and Josaphat" . สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
  6. Kevin Trainor (ed), "Buddhism" (Duncan Baird Publishers, 2001), p. 24
  7. Great Synaxaristes (กรีก): Ὁ Ὅσιος Ἰωάσαφ γιὸς τοῦ βασιλιὰ τῆς Ἰνδίας Ἄβενιρ. 26 Αυγούστου. ΜΕΓΑΣ ΣΥΝΑΞΑΡΙΣΤΗΣ.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บาร์ลามและโยซาฟัต
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?