For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มรณสักขี.

มรณสักขี

คริสตชนมรณสักขีแห่งญี่ปุ่น ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 17

มรณสักขี[1] (อังกฤษ: Martyr) ตามรากศัพท์ภาษากรีก: μάρτυς, mártys แปลว่า "ผู้เห็นเหตุการณ์" หรือ "พยาน" แต่ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป หมายถึง บุคคลที่ต้องเผชิญการข่มเหง เบียดเบียน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต เนื่องจากยึดมั่นในความเชื่อ ศาสนา หรืออุดมการณ์ของตนเอง โดยปฏิเสธที่จะละทิ้งหรือสนับสนุนสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามบังคับ[2]

ในความทรงจำของชุมชน บุคคลเหล่านี้จะถูกยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษ ผู้กล้าหาญ ที่ยอมพลีชีพเพื่อต่อสู้กับอำนาจกดขี่ การเสียสละของพวกเขาอาจส่งผลให้ถูกทรมานหรือประหารชีวิต สถานะ "มรณสักขี" จึงถือเป็นเกียรติยศที่ได้รับการยกย่องหลังจากเสียชีวิต โดยขึ้นอยู่กับการยกย่องเชิดชูของสังคม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้เสียชีวิตเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง มรณสักขีเป็นตัวแทนของการแบ่งแยกเส้นแบ่งทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นโดยความทรงจำร่วม แต่เดิมคำนี้ใช้เฉพาะกับผู้ที่ยอมพลีชีพเพื่อศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบันความหมายได้ขยายกว้างไปถึงผู้เสียชีวิตเพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองด้วย

มรณสักขี มักได้รับการยกย่อง นับถือ หรือสถาปนาเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ในทางศาสนา พวกเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้นำที่ยอดเยี่ยมและวีรบุรุษผู้กล้าหาญ มรณสักขีมีบทบาทสำคัญในศาสนาต่าง ๆ เช่นเดียวกัน บุคคลสำคัญทางโลกอย่าง โสกราตีส ก็ถือเป็นตัวอย่างของมรณสักขีเช่นกัน

ความหมาย

[แก้]

ความหมายดั้งเดิมของคำว่า มรณสักขี อังกฤษ: Martyr แปลว่า พยาน ถูกใช้ทั้งในทางโลกและในพันธสัญญาใหม่ ของคัมภีร์ไบเบิล[3] การเป็นพยานไม่ได้หมายถึงการเสียชีวิต แม้ว่าจากบันทึกของนักเขียนโบราณ (เช่น โยเซพุส) และพันธสัญญาใหม่ เราทราบว่าพยานมักเสียชีวิตเพื่อคำให้การของตน

ต่อมาในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก คำนี้มีความหมายเพิ่มเติม หมายถึง บุคคลที่ศรัทธาอันแรงกล้า ต้องการเป็นพยานยืนยันความเชื่อทางศาสนาของตนเอง และยอมรับความทุกข์ทรมานหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตเพื่อสิ่งนั้น ความหมายในยุคหลังนี้เองที่ถูกยืมมาใช้ในภาษาอังกฤษ คำว่า การเป็นมรณสักขี (martyrdom) หมายถึง การเสียชีวิตของมรณสักขี หรือคุณค่าที่สังคมยกย่องให้กับการเสียสละนั้น

ศาสนาคริสต์ยุคแรก เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า "มรณสักขี" ในความหมายใหม่ โดยมองว่าพระเยซูคือมรณสักขีองค์แรกและยิ่งใหญ่ที่สุด เนื่องจากการถูกตรึงกางเขน[4][5][6] พวกเขามองว่าพระเยซูเป็นต้นแบบของมรณสักขี[7]

คำว่า "มรณสักขี" ถูกใช้ในภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายถึงผู้คนหลากหลายประเภท อย่างไรก็ตาม ตารางต่อไปนี้แสดงเค้าโครงทั่วไปขอองค์ประกอบทั่วไปที่พบจากการเป็นมรณสักขี

องค์ประกอบทั่วไปที่พบจากการเป็นมรณสักขี[8]
1. วีรบุรุษ บุคคลที่มีชื่อเสียง ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่น่านับถือ
2. ฝ่ายตรงข้าม กลุ่มคนที่ต่อต้านอุดมการณ์นั้น
3. อันตรายที่คาดการณ์ได้ วีรบุรุษตระหนักถึงอันตรายจากฝ่ายตรงข้ามที่จะทำร้ายตนเอง เนื่องจากความยึดมั่นในอุดมการณ์
4. ความกล้าหาญและความมุ่งมั่น แม้ทราบถึงอันตราย วีรบุรุษก็ยังคงเดินหน้าต่อไปด้วยความมุ่งมั่นในอุดมการณ์
5. ความตาย ฝ่ายตรงข้ามสังหารวีรบุรุษ เนื่องจากความยึดมั่นในอุดมการณ์
6. การตอบสนองของสังคม การเสียชีวิตของวีรบุรุษได้รับการเชิดชู สังคมอาจยกย่องวีรบุรุษอย่างชัดเจนว่าเป็นมรณสักขี บุคคลอื่น ๆ อาจได้รับแรงบันดาลใจให้เดินตามอุดมการณ์เดียวกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ศัพท์คาทอลิก" (PDF). ศูนย์คริสตศาสนธรรม มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 2018-08-15.
  2. "martyr". Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-05. สืบค้นเมื่อ 2018-08-15.
  3. See e.g. Alison A. Trites, The New Testament Concept of Witness, ISBN 978-0-521-60934-0.
  4. Frances M. Young, The Use of Sacrificial Ideas in Greek Christian Writers from the New Testament to John Chrysostom (Eugene, OR: Wipf & Stock, 2004), pp. 107.
  5. Eusebius wrote of the early Christians: "They were so eager to imitate Christ ... they gladly yielded the title of martyr to Christ, the true Martyr and Firstborn from the dead." Eusebius, Church History 5.1.2.
  6. Scholars believe that Revelation was written during the period when the word for witness was gaining its meaning of martyr. Revelation describes several Christian reh with the term martyr (Rev 17:6, 12:11, 2:10–13), and describes Jesus in the same way ("Jesus Christ, the faithful witness/martyr" in Rev 1:5, and see also Rev 3:14).
  7. A. J. Wallace and R. D. Rusk, Moral Transformation: The Original Christian Paradigm of Salvation (New Zealand: Bridgehead, 2011), pp. 217–229.
  8. From A. J. Wallace and R. D. Rusk, Moral Transformation: The Original Christian Paradigm of Salvation (New Zealand: Bridgehead, 2011), pp. 218.

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มรณสักขี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?