For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ชินกาลมาลีปกรณ์.

ชินกาลมาลีปกรณ์

ชินกาลมาลีปกรณ์  
ผู้ประพันธ์พระรัตนปัญญาเถระ
ประเทศอาณาจักรล้านนา
ภาษาภาษาบาลี
ชุดพงศาวดารพม่า, พงศาวดารเชียงใหม่
ประเภทพงศาวดาร, ประวัติศาสตร์
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2071 (แต่งเสร็จ)
ค.ศ. 1788 (บันทึกแรกสุดในอักษรขอมไทย)
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
พ.ศ. 2511

ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลี ผู้แต่งคือพระรัตนปัญญาเถระ พระสังฆราชาในรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระติลกปนัดดาธิราชแห่งอาณาจักรล้านนา มีเนื้อหาเป็นพงศาวดารหรือประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา เนื้อหากว่าครึ่งเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าองค์ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่พระโคตมพุทธเจ้ายังทรงเป็นพระโพธิสัตว์จนถึงปัจจุบันชาติ เรื่องอัครสาวกนิพพาน พุทธปรินิพพาน พระบรมสารีริกธาตุ จนการสังคายนาในชมพูทวีปและในศรีลังกา ทั้งยังพูดถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย เชียงใหม่ ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา[1] สิ้นสุดเรื่องที่ประวัติราชวงศ์มังรายในสมัยของผู้แต่ง คือ สมัยพระเมืองแก้ว โดยมีบันทึกลงปีที่รจนาจบตรงกับปี พ.ศ. 2060 แต่มีการแต่งเพิ่มเติมต่อจนจบบริบูรณ์ในปี พ.ศ. 2071[2] เรียบเรียงเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง เรียกว่า "ปัชชพันธ์" มีการเรียบเรียงภาษาได้อย่างงดงาม มีการแปลงชื่อเฉพาะในสมัยนั้นเป็นภาษาบาลี เช่น ชื่อเมือง กษัตริย์ บุคคล สถานที่ และแม่น้ำ[3]

ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นวรรณกรรมบาลีที่ใช้อ้างอิงในฐานะเอกสารตำนานพงศาวดารบ่อยครั้งที่สุดเคียงคู่ไปกับ จามเทวีวงศ์ และ ตำนานมูลศาสนา[4]

ต้นฉบับ

ชินกาลมาลีปกรณ์ ได้รับการคัดลอกต่อ ๆ กันมาหลายฉบับ ต้นฉบับที่พบมี 11 ฉบับ จารด้วยตัวอักษรขอม 10 ฉบับ อักษรมอญ 1 ฉบับ[5]

  • ฉบับที่ 1 เป็นใบลานที่สันนิษฐานว่าเก่าแก่ที่สุด ทำขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า ใบลานเดิม มีผูก 1-2, 4-5 แต่ไม่มีผูก 3 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
  • ฉบับที่ 2 ใบลาน ฉบับครูเดิม เดิมทีอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
  • ฉบับที่ 3 ใบลาน ฉบับทองใหญ่ อยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรม
  • ฉบับที่ 4 ใบลาน ฉบับรองทรง เป็นฉบับที่คัดลอกสำเนาจาก ฉบับทองใหญ่ เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
  • ฉบับที่ 5–7 ใบลาน ฉบับล่องชาด, ฉบับรดน้ำดำโท (จารสมัยรัชกาลที่ 3) และ ฉบับทองน้อย (เหลือแต่ผูก 3) อยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรม
  • ฉบับที่ 8–10 เป็นใบลานฉบับซ้ำ มีหมายเลขกำกับไว้คือ ฉบับรดน้ำดำโท 2, ฉบับล่องชาด 2 และ ฉบับล่องชาด 3
  • ฉบับที่ 11 ฉบับภาษามอญ สันนิษฐานว่าสร้างปี 2321 สมัยกรุงธนบุรี มีครบผูก 1-6

การแปล

สำหรับการแปลเป็นภาษาไทยนั้น ครั้งแรก พระพิมลธรรมและคณะแปลจากคัมภีร์ใบลานอักษรขอมในสมัยรัชกาลที่ 1 ใช้ชื่อว่า ชินกาลมาลินี และรัชกาลที่ 5 ทรงให้พิมพ์เป็นครั้งแรกเพื่อแจกในงานพระศพของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช ภายหลัง แสง มนวิทูร ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ อดีตข้าราชการกรมศิลปากร แปลใหม่ และใช้ชื่อ ชินกาลมาลีปกรณ์[6] นอกจากนี้ N.A. Jayawickrama ยังแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2511[7] และยอร์ช เซเดส์ แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยตีพิมพ์คู่กับภาษาบาลีลงในวารสารวิชาการของฝรั่งเศสที่ชื่อ Bulletin de l’ Ecole Francaise d’ Extreme orient, tome xxv ตั้งแต่ฉบับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2468 รวม 6 ฉบับ อนึ่ง สมาคมบาลีปกรณ์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตีพิมพ์ฉบับภาษาบาลีด้วยตัวอักษรโรมัน และในประเทศศรีลังกา พระภิกษุชื่อ พุทธทัตตะ ได้แปลเป็นภาษาสิงหล พิมพ์คู่กับภาษาบาลีเมื่อ พ.ศ. 2498[8]

อ้างอิง

  1. เพ็ญสุภา สุขคตะ (10 มิถุนายน พ.ศ. 2559). "ปริศนาโบราณคดี : โคมปราสาท ของ "พระรัตนปัญญาเถระ" ผู้รจนา "ชินกาลมาลีปกรณ์"". มติชนสุดสัปดาห์. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล. "การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอม ในประเทศไทยและกัมพูชา".
  3. พระครูสุธีสุตสุนทร ดร., ดร.ฤทธิชัย แกมนาคและนางสุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. "การวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์" (PDF).
  4. "หนังสือ ... "ชินกาลมาลีนี" จัดพิมพ์ ... สำนักพิมพ์ศรีปัญญา ราคา 180 บาท". ข่าวสดรายวัน. 14 เมษายน พ.ศ. 2562. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. เพ็ญสุภา สุขคตะ (27 ธันวาคม พ.ศ. 2560). "เพ็ญสุภา สุขคตะ : "ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (11) ต้นฉบับชินกาลมาลีปกรณ์และจามเทวีวงส์ : จากล้านนาสู่อยุธยาและรัตนโกสินทร์ (จบ)". มติชนสุดสัปดาห์. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. เพ็ญสุภา สุขคตะ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2560). "เพ็ญสุภา สุขคตะ : "ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (11)". มติชนสุดสัปดาห์. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. Aung-Thwin, Michael A. (2005). The Mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  8. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ในเทศกาลต่างๆ ของล้านนา (PDF). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2019-06-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ชินกาลมาลีปกรณ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?