For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หอไตร.

หอไตร

หอไตรภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

หอไตร หมายถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นหอสูงสำหรับเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมทางพุทธศาสนา เรียกว่าหอพระไตร ก็มี หอพระธรรม ก็มี หากเป็นหอไตรที่สร้างในเขตพระราชฐานจะเรียกว่า หอพระมณเฑียรธรรม

หอไตรใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานที่จารึกคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าพระไตรปิฎก หรือจารึกความรู้เรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องตำรายาโบราณ วรรณคดีโบราณ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นของสูง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ และหาได้ยาก และนิยมสร้างไว้กลางสระน้ำในวัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มดปลวกและแมลงสาบขึ้นไปกัดแทะทำลายคัมภีร์เหล่านั้น ส่วนใหญ่นิยมสร้างเพื่อมุ่งบุญกุศลเป็นสำคัญ ด้วยถือคติว่าสร้างไว้เก็บรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ จึงนิยมสร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีรูปทรงพิเศษแปลกตาด้วยฝีมือที่สุดยอดในยุคสมัยนั้น ๆ

ประวัติ

[แก้]

มูลเหตุและหลักฐานการสร้างที่เก็บพระไตรปิฎก

[แก้]
Pitakataik ในพุกาม

มูลเหตุการสร้างหอไตรมาจากการสังคายนาเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัย โดยในครั้งแรก ๆ ยังไม่มีการเขียนเป็นตัวหนังสือเช่นในครั้งแรกสุดซึ่งทำกันครั้งแรกหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 7 วัน เมื่อมีการสังคายนาเป็นครั้งที่ 2 ที่กรุงเวสาลี แคว้นมคธ ก็ยังไม่ปรากฏจดลงเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับการสังคายครั้งที่ 3 มีการจารึกพระธรรมภาษามคธลงบนศิลา การจารึกบนศิลาก็เพื่อให้คนอ่านจึงไม่จำเป็นต้องสร้างที่เก็บพระธรรม จนล่วงมา พ.ศ. 433 ซึ่งถือเป็นการสังคายครั้งที่ 2 ในลังกา มีการเขียนพุทธวจนะลงในใบลาน แต่ก็ยังไม่พบการเก็บรักษาพระไตรปิฏกให้คงทนถาวร[1]

การสร้างที่เก็บพระไตรปิฎกปรากฏครั้งแรกในอินเดียในการสังคายนาครั้งต่อมาซึ่งเป็นการสังคายนาในนิกายมหายาน พระเจ้ากนิษกะประสงค์ให้จารึกพระธรรมลงในแผ่นทองแดงแล้วบรรจุในหีบอย่างดี นำไปเก็บรักษาไว้ในปราสาท ได้สร้างที่เก็บคัมภีร์ไว้โดยเฉพาะ จึงอาจกล่าวได้ว่ามีการสร้างหอไตรขึ้นอย่างน้อยในสมัยพระเจ้ากนิษกะ แต่จะเรียกชื่ออย่างไรก็ไม่อาจทราบ อาจเป็นสถูปหรือเจดีย์ ในโบราณสถานของเขมรที่สร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนา มีการสร้างอาคารที่เรียกว่า หอสมุดหรือบรรณาถาร (Bibliothegue) เช่นที่พิมาย ในพม่าในสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อ (พ.ศ. 1557–1620) มีการสร้างหอไตรที่เรียกว่า Pitakataik

สยาม

[แก้]

ในประเทศไทยในสมัยสุโขทัย สถานที่ที่เหมาะสมในการเก็บพระไตรปิฎกคือพระราชมณเฑียรในพระราชวัง ส่วนที่วัดต่าง ๆ คงมีการสร้างอาคารเก็บไว้ทุกวัด แต่อาจสร้างด้วยวัสดุไม่คงทนจึงสูญหายไม่หลงเหลือถึงปัจจุบัน ในสมัยอยุธยามีธรรมเนียมการสร้างที่เก็บพระไตรปิฎกในพระราชวังเช่นเดียวกัน เรียกว่า หอพระมณเฑียรธรรม

การสร้างหอไตรปรากฏหลักฐานในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อครั้งสร้างวัดวรเชษฐาราม ตามพงศาวดารระบุว่า

สร้างพระวรเชษฐารามรามมหาวิหารอันรจนาพระพุทธิปฏิมามหาเจดีย์ บรรจุพระสารีริกธาตุสำเร็จ กุฎีสถานปราการสมด้วยอรัญวาสี แล้วก็สร้างพระไตรปิฎกธรรมจบบริบูรณ์ทั้งพระบาลีอรรถกถาฏีกาคันถีวีวรณ์ทั้งปวง จึงแต่งหอพระสัทธรรมเสร็จ ก็นิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสีผู้ทรงศีลาทิคุณอันวิเศษมาอยู่ครองพระวรเชษฐารามนั้นแล้ว ก็แต่งขุนหมื่นข้าหลวงไว้สำหรับอารามนั้น แล้วจำหน่ายพระราชทรัพย์ไว้ให้แต่งจตุปัจจัยไทยทาน ถวายแก่พระสงฆ์เป็นนิจกาล แล้วให้แต่งฉทานศาลา แล้วประสาทพระราชทรัพย์ให้แต่งโภชนาหารจังหันถวายแก่ภิกษุสงฆ์ เป็นนิตยภัตรรับมิได้ขาด

[2] ในสมัยรัตนโกสินทร์ยังคงสืบทอดการสร้างหอพระมณเฑียรธรรม การสร้างหอไตรก็สืบต่อจากโบราณ

ล้านนา

[แก้]

ปรากฏร่องรอยการสร้างสถานที่เก็บคัมภีร์มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 สมัยหริภุญไชย เมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์มังรายปกครองล้านนาจึงปรากฏหลักฐานการสร้างหอไตรครั้งแรกในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984–2030) คือ หอไตรวัดสวนดอก พ.ศ. 2011 และหอไตรวัดเจ็ดยอด พ.ศ. 2020[3]

ลักษณะ

[แก้]

หอไตรมีทั้งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งหรือที่เก็บพระไตรปิฎกสําหรับเคารพบูชาและหอไตรที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเช่นเป็นที่สำหรับพระสงฆ์ได้นั่งอ่านหรือคัดลอกพระธรรมคำสอนเพิ่มขึ้นด้วย

หอไตรมักสร้างในเขตสังฆาวาสเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหอไตรประเภทที่สร้างขึ้นเพื่อนั่งศึกษาและคัดลอกพระไตรปิฎก แต่บางวัดก็สร้างในเขตพุทธาวาส ซึ่งอาจเป็นเพราะมีความมุ่งหมายเชิงสัญลักษณ์มากกว่าประโยชน์ใช้สอย โดยเฉพาะวัดในแถบล้านนา หรือสร้างในรอยต่อระหว่างเขตพุทธาวาสกับสังฆาวาส เช่น วัดพระสิงห์ วัดพระธาตุหริภุญชัย และวัดเชียงมั่น เป็นต้น

ส่วนตำแหน่งผังของหอไตรไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว อาจวางไว้หน้าวัด ข้างเจดีย์ ข้างศาลาการเปรียญ ฯลฯ จำนวนการสร้างหอไตรอาจขึ้นอยู่กับจำนวนพระราชาคณะของวัดนั้นด้วย เช่นหากมีพระราชาคณะ 2 รูป ก็สร้างหอไตร 2 หอ เช่น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดชัยชนะสงคราม

หอไตรมีการสร้างในหลายรูปแบบด้วยวัสดุต่าง ๆ ทั้งเครื่องไม้ เครื่องก่อ และแบบผสม หากเป็นหอไตรเครื่องไม้ มักจะสร้างไว้กลางสระน้ำเพื่อป้องกันแมลงต่าง ๆ เช่นมด ปลวง ขึ้นไปกัดกินพระธรรมซึ่งเป็นกระดาษหรือใบลานใบข่อย สะพานที่พาดจากฝั่งก็ทำแบบชักเก็บได้ ส่วนหอไตรชนิดเครื่องก่อสามารถสร้างบนบกได้ หอไตรแบบผสมเครื่องไม้เครื่องก่อจะทำเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นเครื่องก่อ ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ การป้องกันแมลงทําได้ง่ายเช่นกันจึงสร้างไว้บนบก[4]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บุบผา เจริญทรัพย์. "หอไตร" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  2. "วัดวรเชษฐาราม".
  3. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ธนิกานต์ วรธรรมานน์, สถาพร จันทร์เทศ,. "ไม่เห็นคุณค่าก็กลายเป็นถังขยะ: บทวิเคราะห์คุณค่าหอไตรล้านนา".((cite web)): CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "หอไตร" (PDF).
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หอไตร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?