For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จามเทวีวงศ์.

จามเทวีวงศ์

จามเทวีวงศ์  
ผู้ประพันธ์พระโพธิรังสี
ประเทศอาณาจักรล้านนา
ภาษาภาษาบาลี
ประเภทบันทึกเหตุการณ์

จามเทวีวงศ์ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา เอกสารประวัติศาสตร์ประเภทบันทึกเหตุการณ์ภาษาบาลี เป็นเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์ผสมกับเรื่องเล่าเชิงศาสนาพุทธ แต่งขึ้นโดยพระโพธิรังสีมหาเถระ สันนิษฐานว่ารจนาราว พ.ศ. 1950 ถึง 2060 มีเรื่องเล่าช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่การก่อตั้งแคว้นหริภุญชัย เรื่องราวการกำเนิดเมืองลำพูน ลำปาง และเขลางค์นคร และความเป็นไปบางส่วนของแคว้นสำคัญในภาคกลาง มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางจามเทวีโดยระบุวันเวลาตามบริบทในอดีตทำนองจดหมายเหตุ เช่น พระนางเสด็จจากละโว้มายังเมืองหริภุญไชยเมื่อใด ระหว่างทางได้แวะที่ใดบ้าง ครองราชย์ยาวนานเท่าใด เสด็จสวรรคตเมื่อใด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ และมีหลักฐานทางโบราณคดีประกอบชัดเจน เช่น ระบุว่า วัดพระธาตุดอยคำ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระนางจามเทวี (พ.ศ. 1230) โดยโอรสทั้งสอง ได้แก่ มหันตยศ และอนันตยศ

ภาษาบาลีในจามเทวีวงศ์ยังไม่ประณีตเท่าภาษาบาลีในชินกาลมาลีปกรณ์ คือ วางโครงสร้างแบบภาษาไทย ประธาน กริยา กรรม และวางคำวิเศษณ์กับคำคุณศัพท์ ไว้หลังคำนามกับคำกริยา ตามแบบไวยากรณ์ไทย ซึ่งโครงสร้างภาษาบาลีต้องเป็นแบบประธาน กรรม กริยา และพบว่ามีคำศัพท์หลายคำที่ถูกเปลี่ยนจากภาษาไทยไปเป็นภาษาบาลีแบบดื้อ ๆ โดยไม่ได้แปลคำนั้นไปเป็นศัพท์ภาษาบาลีเสียก่อน[1]

กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครให้พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เปรียญ ร่วมกับพระญาณวิจิตร (สิทธิ โลจนานนท์) เปรียญ ช่วยกันแปลเป็นภาษาไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกปี พ.ศ. 2463[2]

จามเทวีวงศ์เป็นหนึ่งในคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงในเอกสารตำนานพงศาวดารบ่อยครั้งที่สุด ได้รับการแปลเป็นหลายภาษา ทั้งตะวันตกและตะวันออก[3]

นอกจากนั้นในฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า The Legend of Queen Cama[4] และ The Chamadevivongs[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เพ็ญสุภา สุขคตะ. ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (11)". มติชนสุดสัปดาห์.
  2. "คัมภีร์ภาษาบาลีในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ตามรอยตำนาน "พระนางจามเทวี" ผ่านพัฒนาการสื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. Swearer
  5. Harza

บรรณานุกรม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จามเทวีวงศ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?