For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กโนม.

กโนม

The GNOME Project
นักพัฒนาThe GNOME Project
รุ่นเสถียร
3.32.1[1]  (10 เมษายน 2019; 5 ปีก่อน (2019-04-10))
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการ
ประเภทDesktop environment
สัญญาอนุญาตGPL และ LGPL
เว็บไซต์gnome.org

โครงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง)

มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น

GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME

ประวัติ

[แก้]

โครงการ GNOME เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 โดย Miguel de Icaza และ Federico Mena เพื่อเป็นทางเลือกของระบบเดสก์ท็อป KDE เนื่องจากว่าโครงการ KDE ในขณะนั้นได้พัฒนาบน widget toolkit ชื่อ Qt ซึ่งขณะนั้นไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์เสรี[2]

GNOME เลือกใช้ widget toolkit ชื่อ GTK+ ซึ่งใช้สัญญาอนุญาตแบบ GNU Lesser Public License (LGPL) ดังนั้น GNOME จึงมีสัญญาอนุญาตใช้งาน 2 แบบคือ LGPL สำหรับไลบรารีต่างๆ และ GPL สำหรับระดับแอปพลิเคชัน

เดิมที GNOME ย่อมาจาก 'ภูติแคระ' ซึ่ง Elliot Lee ผู้คิดชื่อนี้ต้องการให้ GNOME มีลักษณะเป็นเฟรมเวิร์คแบบ distributed object เช่นเดียวกับ OLE[3] ของไมโครซอฟท์ ปัจจุบันโครงสร้างของ GNOME ไม่ได้ใช้แนวคิดนี้แล้ว ชื่อเต็มของโครงการจึงถูกเลิกใช้ไป สมาชิกบางคนของโครงการได้เปลี่ยนวิธีเขียนชื่อจาก GNOME มาเป็น Gnome แทน[4]

โครงสร้าง

[แก้]

GNOME ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก [5] ได้แก่

  • GNOME desktop environment - ระบบเดสก์ท็อปที่มุ่งเน้นผู้ใช้ทั่วไป
  • GNOME development platform - เฟรมเวิร์คในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้งานบนระบบเดสก์ท็อป

เป้าหมายของโครงการ GNOME คือสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้อย่างเสรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ สนับสนุนการใช้งานของผู้ด้อยความสามารถ และสนับสนุนภาษาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ทางด้านการจัดการโครงการนั้น มีการตั้งมูลนิธิ GNOME ขึ้นมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1998 เพื่อทำงานบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ ทางมูลนิธิจะเปิดรับสมัครคณะกรรมการใหม่เป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน

นักพัฒนาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ GNOME จะจัดงานประชุมขึ้นปีละครั้งชื่อว่า GUADEC เพื่อพูดคุยหาทิศทางการพัฒนา GNOME ในอนาคต [6]

แพลตฟอร์ม

[แก้]

จากเดิมที่ตั้งใจให้ทำงานได้กับ GNU ปัจจุบัน GNOME สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ได้เกือบทุกชนิด และถูกนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนา Java Desktop System ซึ่งเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ตัวใหม่ของระบบปฏิบัติการโซลาริสแทนระบบ Common Desktop Environment นอกจากนี้ GNOME ยังถูกเลือกให้เป็นระบบเดสก์ท็อปหลักของลินุกซ์หลายยี่ห้อ เช่น Fedora และ Ubuntu รายชื่อของลินุกซ์ที่ใช้ GNOME สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของ GNOME[7]

GNOME ยังมีในแบบ LiveCD ซึ่งนำไปใช้บนคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องติดตั้ง มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้หน้าใหม่ได้สัมผัสกับ GNOME และทำความคุ้นเคยก่อนติดตั้งใช้งานจริง[8]

ส่วนประกอบทั้งหมดของ GNOME สามารถทำงานได้บน Cygwin ซึ่งช่วยให้โปรแกรมของ GNOME ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้

แอปพลิเคชัน

[แก้]

โปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาใช้กับโครงการ GNOME

รวมเป็นส่วนหนึ่งของ GNOME

[แก้]

โปรแกรมกลุ่มนี้จะออกพร้อมกับ GNOME desktop

  • Cheese - โปรแกรมจับภาพจากกล้องวิดีโอ
  • Ekiga – โปรแกรมโทรศัพท์และประชุมทางไกลบน voice over IP
  • Epiphanyโปรแกรมค้นดูเว็บ
  • Evince – โปรแกรมดูเอกสาร PDF และ PostScript
  • Evolution – โปรแกรมอีเมลและกรุ๊ปแวร์
  • Eye of GNOME – โปรแกรมดูรูปอย่างง่าย
  • File Roller – โปรแกรมบีบอัดข้อมูล
  • geditโปรแกรมแก้ไขข้อความ
  • gnome-dictionary – พจนานุกรมที่ใช้โพรโทคอล DICT
  • gnome-panel – พาเนลในการเรียกและแสดงโปรแกรมอื่นๆ
  • GNOME Terminal – ตัวจำลองเทอร์มินัล
  • Metacity – window manager
  • Nautilus – โปรแกรมจัดการแฟ้ม (file manager)
  • Sound Juicer – เครื่องมือดึงเพลงจากซีดี
  • Tomboy – โปรแกรมโน้ตย่อ
  • Totem – ตัวเล่นมัลติมีเดีย

ไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของ GNOME

[แก้]

โปรแกรมเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานของ GNOME และมักจะถูกใช้คู่กับ GNOME เช่นกัน

  • AbiWord – เวิร์ดโพรเซสเซอร์
  • Banshee – โปรแกรมจัดการและเล่นเพลง
  • F-Spot – โปรแกรมจัดการภาพถ่าย
  • Gaim – an instant messaging client.
  • The GIMP – โปรแกรมตกแต่งภาพ
  • GnomeBaker – โปรแกรมเขียนซีดี/ดีวีดี
  • Gnumeric – สเปรดชีต
  • GnuCash – โปรแกรมทำรายรับรายจ่าย
  • Inkscape – โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์
  • Rhythmbox – โปรแกรมจัดการและเล่นเพลงแบบเดียวกับ iTunes

อ้างอิง

[แก้]
  1. Catanzaro, Michael (2019-04-10). "GNOME 3.32.1 released!". GNOME Mail Services (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  2. Richard Stallman (2000-09-05). "Stallman on Qt, the GPL, KDE, and GNOME". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ 2005-09-09.
  3. Pennington, Havoc (1999). "GTK+ / Gnome Application Development". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2006-09-08.
  4. "Desktop Development mailing list". สืบค้นเมื่อ 2006-05-07.
  5. "About GNOME". สืบค้นเมื่อ 2005-09-08.
  6. "About GUADEC".
  7. "Distributions that ship GNOME as their Default Desktop". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2007-02-18.
  8. "The official GNOME LiveCD".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กโนม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?