For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กนู.

กนู

เครื่องหมายการค้าของกนู

โครงการ กนู (อังกฤษ: GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ

คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) [1] เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เลย

พ.ศ. 2549 เคอร์เนลทางการของกนู คือ Hurd ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ผู้ใช้ระบบกนูส่วนใหญ่เลือกโดยใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล อย่างไรก็ตาม ระบบเหล่านั้นมักจะถูกเรียกว่า ลินุกซ์ ซึ่งถ้าจะให้ถูกต้องแล้ว ควรจะเรียกว่า ระบบกนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux systems) เพราะใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล ส่วนซอฟต์แวร์ส่วนอื่น ๆ มาจากโครงการกนู

โปรแกรมหลายตัวในโครงการ ก็ถูกปรับให้ทำงานในระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ได้ เช่น ไมโครซอฟท์วินโดวส์ บีเอสดี แมคโอเอส เป็นต้น

สัญญาอนุญาต GPL, LGPL และ GFDL ที่ใช้ในโครงการอื่น ๆ มากมาย ก็ริเริ่มจากกนู

ประวัติ

[แก้]

กนูประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2526 ทางกลุ่มข่าว net.unix-wizards[2] และ net.usoft การพัฒนาซอฟต์แวร์เริ่มต้นเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2527 เมื่อ สตอลแมน ลาออกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยอ้างลิขสิทธิ์ในตัวซอฟต์แวร์และแทรกแซงการเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี สำหรับชื่อ"กนู" นั้น สตอลแมน ได้แนวความคิดจากการเล่นคำแบบต่าง ๆ และจากเพลง The Gnu ของวง Flanders and Swann

เป้าหมายของโครงการก็คือสร้างระบบปฏิบัติการเสรีทั้งระบบ ที่ผู้ใช้สามารถศึกษาซอร์สโคด แก้ไขการทำงานของซอฟต์แวร์ และเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่แก้ไขต่อไปยังคนอื่นได้โดยเสรี เหมือนกับที่เคยเป็นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 แนวความคิดนี้นำออกตีพิมพ์เป็นบทความ GNU Manifesto ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ทางวารสาร Dr. Dobb's Journal of Software Tools

ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ต้องเริ่มต้นเขียนจากศูนย์ แต่ซอฟต์แวร์เสรีที่มีอยู่แล้วก็นำมาใช้ด้วย ตัวอย่าง เช่น ระบบเรียงพิมพ์ TeX และระบบ X Window System คนที่เขียนกนูส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร ซึ่งบางส่วนเขียนในเวลาว่าง บางส่วนว่าจ้างโดยบริษัท สถานศึกษา หรือ องค์กรไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 สตอลแมน จัดตั้ง Free Software Foundation (FSF) FSF จ้างโปรแกรมเมอร์จำนวนหนึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์ทำจำเป็นสำหรับกนู ในช่วงสูงสุดเคยมีพนักงาน 15 คน FSF ยังเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์กนูบางตัว ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาต GPL บางส่วนใช้ LGPL หรือสัญญาอนุญาตอื่น ๆ

เนื่องจากในขณะนั้น ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมมากตัวหนึ่ง กนูจึงออกแบบให้คล้ายกับยูนิกซ์มาก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถย้ายไประบบกนูได้สะดวก ยูนิกซ์ยังมีโครงสร้างแบบโมดูล จึงสามารถพัฒนาโครงการกนูแยกกันเป็นส่วน ๆ ได้

เมื่อกนูเริ่มมีบทบาท ธุรกิจหลายรายหันมาสนับสนุนการพัฒนา หรือขายซอฟต์แวร์และบริการทางเทคนิก บริษัทที่มีชื่อและประสบความสำเร็จที่สุดก็คือ Cygnus Software ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Red Hat

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-16. สืบค้นเมื่อ 2007-04-22.
  2. http://groups.google.com/group/net.unix-wizards/browse_thread/thread/f2dc1f44f33bf6ed

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กนู
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?