For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ทอมัส อไควนัส.

ทอมัส อไควนัส

ทอมัส อไควนัส
เกิดประมาณ ค.ศ. 1225 ใน อิตาลี
เสียชีวิต7 มีนาคม, ค.ศ. 1274 ใน อิตาลี
ยุคปรัชญาสมัยกลาง
แนวทางนักปรัชญาตะวันตก
สำนักอัสสมาจารย์นิยม ลัทธิทอมัส
ความสนใจหลัก
อภิปรัชญา (รวมทั้ง เทววิทยา) ตรรกศาสตร์ จิต ญาณวิทยา จริยศาสตร์ ปรัชญาการเมือง
แนวคิดเด่น
Five Proofs for God's Existence, Principle of double effect
เป็นอิทธิพลต่อ

นักบุญทอมัส อไควนัส[1] (อังกฤษ: Thomas Aquinas (/əˈkwnəs/, ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส

จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา

งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น

วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว

กฎสังคม 4 ประการ

[แก้]

อไควนัส ศึกษาปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลกำหนดเอกภาพของสังคมและทำให้เกิดการพัฒนาการของมนุษย์ พระเจ้าและธรรมชาติมีความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สิ่งเหล่านี้รวมตัวกันด้วยกฎ 4 ประการคือ

  1. กฎจักรวาล (Eternal Law) หมายถึง กฎของพระเจ้าที่ควบคุมจักรวาล
  2. กฎธรรมชาติ (Natural Law) หมายถึง กฎของสิ่งมีชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของพระเป็นเจ้า
  3. กฎสังคมมนุษย์ (Human Law) เป็นกฎของสาธารณชน เป็นขบวนการสถาบันสังคม
  4. กฎพระเจ้า (Divine Law) เป็นกฎที่กำหนดแรงจูงใจภายในของมนุษย์

กฎทั้งสี่มีความสัมพันธ์กันเหมือนกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การกระทำของมนุษย์จะถูกควบคุมจากจิตหรือสติปัญญา และวิญญาณหรือความสำนึกทางศีลธรรม ต้องมีการตรวจสอบความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ และการต่อต้านของมนุษย์ในสังคม ประการสุดท้ายผู้ที่มีหน้าที่ตราตัวบทกฎหมายต้องประยุกต์กฎหมายทุกชนิดให้สมาชิกในสังคมทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด มีผู้สรุปความคิดของอควีนาสไว้ว่าในหนังสือ "Summa Theologica" ที่เขียนราวปี พ.ศ. 1739 พูดถึงลัทธิกฎธรรมชาติของนักปรัชญากลุ่มลัทธิสโตอิก (ถือหลักธรรมเพื่อกำจัดตัณหา) นำไปผสมกับการสอนใน ศาสนาคริสต์ว่าด้วยกฎของพระเจ้า รวมทั้งรับแนวความคิดของอาริสโตเติลเกี่ยวกับบรรทัดฐานหรือกฎของมนุษย์ และจุดกำเนิดของหลักกฎหมายโรมันด้วย ทำให้มนุษย์มีความสามารถและมีสติปัญญาอย่างสูงสุด ประการสุดท้ายก็คือ ทำให้เกิดระบบลัทธิรัฐธรรมนูญ

อไควนัสเป็นนักปราชญ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดคนหนึ่ง พยายามประสานหลักเหตุผลที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้ากับความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า โดยแสดงออกมาในรูปของอำนาจเหนือธรรมชาติที่แท้จริง ปรัชญาเป็นผลิตผลของเทววิทยาและเหตุผลเป็นรากฐานของความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อเทียบกันยุคในประวัติศาสตร์ไทย ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างก่อนสมัยสุโขทัยเล็กน้อย และเสียชีวิตในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เมื่ออายุได้เพียง 49 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 210, 584
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ทอมัส อไควนัส
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?