For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เตช บุนนาค.

เตช บุนนาค

เตช บุนนาค
เลขาธิการสภากาชาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
(3 ปี 128 วัน)
ก่อนหน้าแผน วรรณเมธี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 4 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 40 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้านพดล ปัทมะ
ถัดไปสาโรจน์ ชวนะวิรัช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเพ็ญศรี บุนนาค

เตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย กรรมการสภาลูกเสือไทย กรรมการมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ อุปนายกกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย[1] อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา ในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน[2] ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551[3] หลังการลาออกของนายนพดล ปัทมะ เนื่องจากขณะนั้นนายเตช เป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ รับราชการอยู่ที่สำนักราชเลขาธิการ นายสมัคร สุนทรเวชจึงได้ไปขอพระราชทานนายเตชจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้มาดำรงตำแหน่งแทน[4][5] ในต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 มีรายงานว่านายเตชได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าต้องไปดูแลภรรยาที่ป่วย[6]

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [7]

ประวัติ

[แก้]

เตช บุนนาค หรือ ดร.เตช บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486[8] เป็นบุตรของนายตุล บุนนาค อดีตกรมวังผู้ใหญ่ สำนักพระราชวัง กับนางจันทร์แจ่ม บุนนาค (สกุลเดิม อินทุโสภณ) มีน้องชายชื่อ นายติ๋ว บุนนาค เป็นหลานปู่ของพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ) กับคุณหญิง สน (สกุลเดิม แสง-ชูโต)[9][10] จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย แล้วได้เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่วิทยาลัยมาลเวิร์น ประเทศอังกฤษ[11] ระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมและระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยคิงส์ (King’s College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ ที่วิทยาลัยเซ็นต์แอนโทนีส์ (St Antony’s College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

การทำงาน

[แก้]

ดร.เตช บุนนาค เริ่มรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ในตำแหน่งเลขานุการโท กรมสารนิเทศ และกรมการเมือง ต่อจากนั้นก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย เป็นรองเลขาธิการสำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ และรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

นอกจากนี้แล้วยังได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน, นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส, กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส, กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับตำแหน่งสูงสุดในกระทรวงการต่างประเทศ คือ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นจึงได้โอนมารับตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ระดับ 11 จนเกษียณอายุราชการ

ในปี พ.ศ. 2551 หลังการลาออกของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเตช บุนนาคได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแทน แต่อย่างไรก็ตามนายเตช บุนนาคก็ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากทำงานได้เพียงเดือนเศษเท่านั้น และไม่ได้รับโปรดเกล้าฯให้กลับเข้าไปรับราชการที่สำนักราชเลขาธิการอีก

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งสำคัญทางวิชาการหลายสาขา อาทิเช่น

  • ประธานคณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
  • ประธานคณะกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา
  • ประธานคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา
  • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะมนตรีสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง
  • เลขาธิการสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ
  • ที่ปรึกษาสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร[12]

ในปี 2564 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย แทน แผน วรรณเมธี[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]
  • เตชเคยสมรสกับนางเจน แบรมลี่ ชาวอังกฤษ มีบุตรีชื่อ จารุ บุนนาค[9] ปัจจุบันสมรสกับเพ็ญศรี (สกุลเดิม อมาตยกุล) มีบุตรีชื่อ ดร. ยาใจ บุนนาค นักการฑูตชำนาญการ กรมสารนิเทศ[9]

สาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/D/105/078.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายเตช บุนนาค)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง, 8 สิงหาคม 2551
  5. กรุงเทพธุรกิจ, เปิดใจ'เตช'รมต.พระราชทาน ก่อนลาออก เก็บถาวร 2021-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 4 กันยายน 2551
  6. Reuters, Reports say Thai foreign minister quits เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 กันยายน 2551
  7. เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ![ลิงก์เสีย]
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
  9. 9.0 9.1 9.2 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-07-28.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-07-28.
  11. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
  13. โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 'เตช บุนนาค' เป็นเลขาฯสภากาชาดไทย มีผล 1 พ.ค.64
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓๔๕, ๒๖ เมษายน ๒๕๓๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๑ ง หน้า ๓๘๒๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๓๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๔๙๗๐, ๓๐ เมษายน ๒๕๓๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๓, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๓
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๙, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
  25. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2558, วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เตช บุนนาค
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?