For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์.

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
สมศักดิ์ ใน พ.ศ. 2555
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 129 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าชัย ชิดชอบ
ถัดไปพรเพชร วิชิตชลชัย
(ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไปพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
ถัดไปวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
24 เมษายน พ.ศ. 2526 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(30 ปี 229 วัน)
เขตเลือกตั้งเขต 2 (2526)
เขต 3 (2529)
เขต 4 (2535,2538,2539,2550)
เขต 6 (2544,2548,2554)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551 - ปัจจุบัน)
พลังประชาชน (2550 - 2551)
ไทยรักไทย (2544 - 2549)
ความหวังใหม่ (2535 - 2538)
กิจสังคม (2529 - 2535) (2538 -​ 2544)​
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (เกิด: 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร[1] รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ประวัติ

[แก้]

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายสงวน และนางเพ่ง เกียรติสุรนนท์ นายสมศักดิ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจบปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการเมือง จากมหาวิทยาลัยอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกาปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ดำเนินคดีอาญาต่อเขา เนื่องจากไม่ตรวจทานร่างรัฐธรรมนูญ [2]

งานการเมือง

[แก้]

สมศักดิ์ เริ่มต้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคม นายสมศักดิ์ นับได้ว่าเป็นประธานรัฐสภาคนที่ 2 ที่เป็นชาวขอนแก่น ได้รับฉายาว่า "ขุนค้อน" ตั้งแต่ครั้งที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2540 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ได้นำค้อนขึ้นมาเคาะบัลลังก์ แบบเดียวกับที่ใช้ในศาลยุติธรรมในต่างประเทศ เพื่อระงับเหตุเมื่อเกิดการถกเถียงกันในสภา

การรับตำแหน่งรัฐมนตรี

[แก้]

เดิมสมศักดิ์เป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา แต่เมื่อนายสมศักดิ์เข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้เกิดความขัดแย้งกันในกลุ่ม นายสมศักดิ์จึงแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มใหม่คือกลุ่มขุนค้อน จนกระทั่งในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี นายสมัคร สุนทรเวช จัดรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้า มีมติเอกฉันท์ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง

ต่อมาในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 298 ต่อ 163 (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายสมชาย เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 18 กันยายน ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของประเทศไทย โดยนายสมศักดิ์ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[3] ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่ง จึงส่งผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลง

การรับตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

จากนั้นจึงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[4] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดขอนแก่น และได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554[5] ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2554 สื่อมวลชนประจำสภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งฉายานักการเมือง ประจำปี 2554 โดยที่นายสมศักดิ์ ได้รับฉายาว่า "ค้อนปลอม ตราดูไบ" อันเนื่องมาจากการให้สัมภาษณ์ยอมรับของนายสมศักดิ์ ว่าได้เดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่จะมีการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งคำพูดของนายสมศักดิ์ ยังถูกจัดว่าเป็นวาทะแห่งปี คือ "คำวินิจฉัยประธานถือเป็นที่สิ้นสุด จะผิดหรือถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง"[6]

ในวันที่ 30 พฤษภาคม และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ได้พยายามเสนอให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ การพยายามให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณากฎหมายนี้เป็นการเร่งด่วน ส่งผลให้ เขาเป็นประธานสภาคนแรก ที่ถูกทำร้ายร่างกายด้วยการขว้างสิ่งของระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่ตำรวจนำตัวเขาออกไปข้างนอกระหว่างการประชุม [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  2. มีมติให้ดำเนินคดีอาญา[ลิงก์เสีย]
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  4. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  5. สภาฯลงมติเลือก"สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์"นั่งปธ.ตามคาด "ปู"เผยรายชื่อครม.เสร็จแล้ว50%
  6. สื่อตั้งฉายา 'ปูดาวดับ' สภาฯเป็น 'กระดองปูแดง'
  7. 44 ปี รัฐสภา ประวัติศาสตร์-ภาพจำก่อนปิดฉาก ก.พ. 2562
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ถัดไป
ชัย ชิดชอบ
ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฏร

(3 สิงหาคม พ.ศ. 25549 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
พรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(24 กันยายน พ.ศ. 25512 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(2 สิงหาคม พ.ศ. 25519 กันยายน พ.ศ. 2551)
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?