For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ออเรนจ์-นัสเซา
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติ 6 ลำดับชั้น
วันสถาปนา4 เมษายน พ.ศ. 2435
ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ผู้สมควรได้รับบุคคลทุกชนชั้น
มอบเพื่อประกาศเกียรติคุณความดีพิเศษยิ่งต่อสังคม
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาสมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งเนเธอร์แลนด์
ประธานพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์
สถิติการมอบ
ทั้งหมดประมาณ 3,500 คน
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สุวรรณราชสีห์แห่งราชวงศ์นัสเซา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา (ดัตช์: Orde van Oranje-Nassau) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนเธอร์แลนด์ สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2435 โดยสมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งเนเธอร์แลนด์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์

พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์จะทรงเป็นองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชน ทั้งชาวดัตช์และชาวต่างประเทศ

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊คขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ประชาชนชาวดัตช์เป็นการทั่วไป แม้ว่าจะไม่ใช่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทางการของเนเธอร์แลนด์ก็ตาม ต่อมาหลังจากพระเจ้าวิลเลิมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จสวรรคต ได้มีการทำสนธิสัญญาแยกลักเซมเบิร์กไปอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์อื่น (ราชวงศ์สาขาของราชวงศ์นัสเซา) ส่งผลให้เนเธอแลนด์ไม่สามารถใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊คได้อีกต่อไป จึงมีความต้องการเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชุดที่สามมาทดแทน นอกเหนือไปจากเครื่องราชอิสริยาภณ์การทหารวิลเลิม (Military William Order) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชสีห์เนเธอร์แลนด์ (Order of the Netherlands Lion) ที่มีอยู่เดิม เอาไว้สำหรับการพระราชทานเชิดชูเป็นเกียรติยศแก่บรรดาทูตานุทูตต่างประเทศและประชาชนชั้นล่าง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาแก่สมาชิกกองทัพเนเธอร๋แลนด์และสมาชิกกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ช่วยปลดปล่อยเนเธอร์แลนด์ให้ได้รับอิสรภาพจากการยึดครองของนาซีเยอรมนี รวมไปถึงบุคคลที่ช่วยปลดปล่อยอาณานิคมของดัตช์ในอดีตบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับเสรีภาพด้วยเช่นกัน ในสมัยปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซายังคงเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของเนเธอร์แลนด์ที่ใช้เชิดชูเกียรติยศแก่ทั้งทหารและพลเรือนบ่อยครั้งที่สุดเป็นอับสองรองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมักจะพระราชทานต่อเนื่องทุก ๆ ปีในโอกาศวันเฉลิมพระชนมพรรษาอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ (ตรงกับวันที่ 27 เมษายนในรัชกาลปัจจุบัน) ซึ่งได้มีการพระราชทานแก่บุคคลทั่วไปแล้วประมาณ 3,500 คน นอกจากนี้ยังใช้พระราชทานเชิดชูเกียรติแก่เจ้าชาย รัฐมนตรี ผู้ทรงเกียรติ และทูตานุทูตจากต่างประเทศอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติของเนเธอร์แลนด์ หลังจากที่เป็นที่ถกเถียงมากว่า 30 ปี โดยมีการผ่านกฎหมายให้ระบบพระราชทานมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ลดทอนการพิจารณาที่ยึดโยงกับยศฐาบรรดาศักดิ์และสถานภาพทางสังคมลง ตามหลักการแล้วชาวดัตช์ทุกคนในสังคมมีสิทธิ์ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ แต่ในทางปฏิบัติจะพระราชทานแก่ชาวดัตช์ที่มีคุณความดีส่วนบุคคลหรือคุณความดีพิเศษยิ่งต่อสังคมเท่านั้น ก่อนหน้านี้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาประกอบได้ด้วย 5 ลำดับชั้น บวกกับเหรียญเชิดชูเกียรติ 3 ลำดับชั้น (ทอง เงิน และทองแดง) ทั้งนี้เหรียญเชิดชูเกียรติมีไว้พระราชทานร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่านั้น ไม่ได้แปลว่าผู้รับเหรียญจะมีสถานะเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการยกเลิกเหรียญเชิดชูเกียรตินี้ไป และถูกแทนที่ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ 6 คือชั้นสมาชิก ซึ่งจำกัดไว้พระราชทานแก่ประชาชนชาวดัตช์เท่านั้น

ลำดับชั้น

ซ้าย : ดาราและสายสะพายของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน (ส่วนพลเรือน)
ขวา : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นเจ้าพนักงาน (ส่วนพลเรือน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาแบ่งแยกเป็นสองส่วนคือ ส่วนพลเรือน ซึ่งสังเกตได้จากพวงใบกระวานบนเหรียญตรา และ ส่วนทหาร ซึ่งสังเกตได้จากดาบไขว้ทั้งบนเหรียญตราและดารา ทั้งนี้สมเด็จพระราชาธิบดีหรือสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ทรงเป็นประธานสูงสุดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2539

นอกจากจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซายังถูกแบ่งออกเป็น 6 ลำดับชั้น ดังนี้

  1. ชั้นอัศวินมหากางเขน (Ridder Grootkruis) - ประดับดาราไว้บนสายสะพายบริเวณไหล่ขวา และดารา 8 แฉกไว้บนหน้าอกซ้าย
  2. ชั้นนายทัพ (Grootofficier) - สำหรับผู้ชายประดับดาราไว้บนสร้อยคอ สำหรับผู้หญิงประดับดาราไว้บนปมริบบิ้นเสมือนเป็นโบ พร้อมกับดารา 4 แฉกไว้บนหน้าอกซ้าย
  3. ชั้นนายกอง (Commandeur) - สำหรับผู้ชายประดับดาราไว้บนสร้อยคอ สำหรับผู้หญิงประดับดาราไว้บนปมริบบิ้น เสมือนเป็นโบไว้บนหน้าอกซ้าย
  4. ชั้นเจ้าพนักงาน (Officier) - ประดับดาราบนริบบิ้นพร้อมกับเครื่องประดับกลีบกุหลาบไว้บนหน้าอกซ้าย
  5. ชั้นอัศวิน (Ridder) - ประดับดาราบนริบบิ้นไว้บนหน้าอกซ้าย
  6. ชั้นสมาชิก (Lid) - ประดับดาราขนาดเล็กบนริบบิ้นไว้บนหน้าอกซ้าย
แพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาตั้งแต่ พ.ศ. 2539

ชั้นอัศวินมหากางเขน

ชั้นนายทัพ

ชั้นนายกอง

ชั้นเจ้าพนักงาน

ชั้นอัศวิน

ชั้นสมาชิก
  • สำหรับชั้นอัศวินและชั้นสมาชิก ดาราทำมาจากโลหะเงิน ส่วนชั้นอื่น ๆ ดาราทำจากโลหะเงินชุบทอง
  • สำหรับชั้นอัศวินมหากางเขน ชั้นนายทัพ และชั้นนายกอง ดารามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 มิลลิเมตร
  • สำหรับชั้นเจ้าพนักงานและชั้นอัศวิน ดารามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 46 มิลลิเมตร
  • สำหรับชั้นสมาชิก ดารามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 มิลลิเมตร

ก่อน พ.ศ. 2539

ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาถูกแบ่งไว้เพียง 5 ชั้น แต่มีเหรียญเชิดชูเกียรติประกอบไว้สามชั้นคือทอง เงิน และทองแดง ซึ่งเหรียญเหล่านี้ใช้งานร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้รับเหรียญคือสมาชิกผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปัจจุบันเหรียญเชิดชูเกียรติพ้นสมัยพระราชทานไปแล้ว และถูกแทนที่ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ 6 หรือชั้นสมาชิก อนึ่ง ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญเชิดชูเกียรติจะประดับเหรียญไว้บนริบบิ้นบนหน้าอกซ้าย

แพรแถบย่อ

ชั้นอัศวินมหากางเขน

ชั้นนายทัพ

ชั้นนายกอง

ชั้นเจ้าพนักงาน

ชั้นอัศวิน

เหรียญทอง

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?