For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่ง
พระมหามงกุฎโอ๊ค
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติ 5 ลำดับชั้น
วันสถาปนา29 ธันวาคม พ.ศ. 2384
ประเทศลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
ผู้สมควรได้รับเจ้าหน้าที่รัฐบาล รองเจ้าหน้าที่รัฐบาล สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการพลเรือน ผู้แทนเลือกตั้ง บุคคลากรราชการส่วนท้องถิ่น บุคคลสำคัญในแวดวงเศรษฐศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกีฬา และอาสาสมัคร รวมไปถึงชาวต่างประเทศในบางกรณี
มอบเพื่อเชิดชูเกียรติพลเมืองชาวลักเซมเบิร์กผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างโดนเด่นในกิจการพลเรือนและกิจการทหาร เช่นเดียวกับศิลปินพิเศษผู้รังสรรค์ผลงานได้อย่างโดนเด่น
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 แห่งลักเซมเบิร์ก
ประธานแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟแห่งนัสเซา
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณแแห่งแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏโอ๊ก (ลักเซมเบิร์ก: Eechelaafkrounenuerden; ฝรั่งเศส: Ordre de la couronne de Chêne; เยอรมัน: Eichenlaubkronenorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของลักเซมเบิร์ก

ประวัติ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กสถาปนาโดยแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 แห่งลักเซมเบิร์ก (และพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์) ในปี พ.ศ. 2384 ซึ่งในขณะนั้นเองแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์กและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ต่างก็อยู่ในสถานะรัฐร่วมประมุขด้วยกันทั้งคู่ หมายความว่าทั้งสองชาติมีประมุขแห่งรัฐพระองค์เดียวกัน ทั้ง ๆ ที่เป็นรัฐอธิปไตยแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้แม้ในทางกฎหมายแล้วเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะมีสถานะเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติของลักเซมเบิร์ก แต่ทั้งแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 และแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 3 มักจะทรงใช้เครื่องราช ฯ นี้ในฐานะเครื่องราช ฯ ประจำราชวงศ์นัสเซา พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวดัตช์อยู่บ่อยครั้ง โดยที่รัฐบาลดัตช์ไม่มีอำนาจควบคุมแต่อย่างใด

แกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 พระราชทานเครื่องราช ฯ นี้ให้แก่บุคคลทั่วไปจำนวนน้อยมาก เพียงไม่เกิน 30 ราย ในทางกลับกันแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 3 ทรงชื่นชอบการพระราชทานเครื่องราช ฯ นี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถพระราชทานให้แก่บุคคลไดก็ได้ตามพระประสงค์ ซึ่งในวันขึ้นครองราชย์ของพระองค์เพียงวันเดียว ได้พระราชทานเครื่องราชย์ ฯ นี้ให้แก่บุคคลมากถึง 300 ราย และในปีถัดมาก็ได้ทรงสถาปนารางวัลคู่กับเครื่องราช ฯ นี้อีกนับร้อยรางวัล จึงปรากฏว่ามีผู้ถือครองเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จำนวนมาก มากเสียจนทำให้เกิดความเข้าใจเป็นวงกว้าง (ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง) ว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กเป็นเครื่องราชย์ ฯ ของเนเธอร์แลนด์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 มีการงดพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในฐานะพระราชสันตติวงศ์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา (ในขณะนั้น) ทั้งนี้เนื่องจากลักเซมเบิร์กบังคับใช้สนธิสัญญา แอร์นอยเทอร์แอร์บเฟไรน์ (เยอรมัน: Erneuter Erbverein) อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการสืบราชสมบัติลักเซมเบิร์กที่อ้างอิงตามกฏซาลลิคระหว่างราชวงศ์นัสเซาสองสาย (คือราชวงศ์นัสเซาสาย ออเรนจ์-นัสเซา และสาย นัสเซา-ไวล์บูร์ก ซึ่งปัจจุบันคือสาย ลักเซมเบิร์ก-นัสเซา) ซึ่งได้ห้ามมิให้สตรีเพศขึ้นสืบราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กจนกว่าจะปรากฏรัชทายาทที่เป็นเพศชายจากราชวงศ์นัสเซา (ทั้งสองสาย) ราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กจึงตกเป็นสิทธิ์ของพระญาติฝ่ายเยอรมันของพระราชินีนาถวิลเฮลมินา (พระปิตุลาฝ่ายพระราชมารดา) ซึ่งก็คือ ดยุกอดอล์ฟแห่งนัสเซา ผู้ขึ้นครองราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กด้วยพระชนมายุ 73 พรรษา ส่งผลให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กมีฐานะเป็นเครื่องราช ฯ ของลักเซมเบิร์กโดยสมบูรณ์ เนเธอร์แลนด์จึงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาขึ้นมาทดแทน

นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของแกรนด์ดยุกอดอล์ฟ ทำเนียบการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กก็เปลี่ยนไปให้แก่ประชาชนชาวลักเซมเบิร์กเท่านั้น แม้ว่าในบางโอกาสจะพระราชทานให้แก่ชาวต่างชาติบ้างก็ตาม หลัก ๆ คือเชื้อพระวงศ์ต่างชาติ และชาวต่างชาติคนสำคัญผู้มีบรรพบุรุษเป็นชาวลักเซมเบิร์ก

อนึ่ง แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กคือองค์ประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้

ลำดับชั้น

[แก้]

จุดกำเนิด

[แก้]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การแบ่งชั้น

[แก้]

ปัจจุบันเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แบ่งออกเป็น 5 ลำดับชั้น ดังนี้

  1. ชั้นมหากางเขน (Grand-Croix) - ประดับดาราไว้บนสายสะพายบริเวณไหล่ขวา และแถบโลหะบริเวณหน้าอกซ้าย
  2. ชั้นมหาเจ้าพนักงาน (Grand-Officier) - ประดับดาราไว้บนสร้อยคอ และแถบโลหะบริเวณหน้าอกซ้าย
  3. ชั้นนายกอง (Commandeur) - ประดับดาราไว้บนสร้อยคอ
  4. ชั้นเจ้าพนักงาน (Officier) - ประดับดาราไว้บนริบบิ้นหน้าอก และเครื่องประดับกลีบกุหลาบบนหน้าอกซ้าย
  5. ชั้นอัศวิน (Chevalier) - ประดับดาราไว้บนริบบิ้นหน้าอกบริเวณหน้าอกซ้าย

บวกรวมกับเหรียญเชิดชูเกียรติทองเคลือบ เงิน และทองแดง โดยจะสวมใส่ไว้บนริบบิ้นบริเวณหน้าอกซ้าย

แพรแถบย่อ

ชั้นมหากางเขน

ชั้นมหาเจ้าพนักงาน

ชั้นนายกอง


ชั้นเจ้าพนักงาน

ชั้นอัศวิน

เหรียญทองเคลือบ (อดีตใช้ทองคำ)

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง
-

เครื่องหมาย

[แก้]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

กลุ่มตัวอย่างบุคคล

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?