For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โทรทัศน์.

โทรทัศน์

เครื่องรับโทรทัศน์ Braun HF 1 จากเยอรมนี สมัย พ.ศ. 2501

โทรทัศน์ หรือ ทีวี เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี)

เครื่องรับโทรทัศน์ขาวดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1925 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น โลจี เบร์ด ชาวสกอตแลนด์[1]

ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

[แก้]
  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง

ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

คลื่นความถี่ส่ง

[แก้]

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

[แก้]

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

[แก้]

ประเภทอื่น

[แก้]

ประเภทของโทรทัศน์

[แก้]

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัดให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่งอาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขนาด 35 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์

ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ
โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p)
โทรทัศน์ความละเอียดกึ่งสูง (ภาพกว้าง) 1024 × 576 16 : 9 EDTV (576i)
โทรทัศน์ความละเอียดสูง (ภาพกว้าง) 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080i)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก (ภาพกว้าง) 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440i)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่ง (4k) (ภาพกว้าง) 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด (8k) (ภาพกว้าง) 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p)
  • โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ จะใช้ส่งเฉพาะในโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก จะไม่มีการใช้ โดยในอนาคตจะข้ามไปใช้โทรทัศน์ 4k แทนและมักเป็นความละเอียดสำหรับสื่อบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
  • โทรทัศน์ 4k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2012 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล
  • โทรทัศน์ 8k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

การจัดเวลาออกอากาศ

[แก้]

ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขตหลัก กับอีก 4 เขตย่อยและจะนับทางซ้ายสุดของประเทศเป็นเขตที่ 1 ตามมาด้วยจนถึงด้านขวาสุดเป็นเขตที่ 4 โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่ 2 เขตตรงกลาง คือ เขตที่ 2 และ 3 ของประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ชมจะต้องบวกลบเวลากันเอาเอง ซึ่งรายการได้ฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะแจ้งเวลาดังนี้

8/7 Central หมายถึง 16:00 (4 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 1 ของประเทศ (Hawaii Time)
8/7 Central หมายถึง 17:00 (5 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 2 ของประเทศ (Alaska Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 18:00 (6 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 1 ของประเทศ (Pacific Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 19:00 (7 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 2 ของประเทศ (Mountain Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 20:00 (8 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 3 ของประเทศ (Central Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 21:00 (9 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 4 ของประเทศ (Eastern Time)
8/7 Central หมายถึง 22:00 (10 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 3 ของประเทศ (Atlantic Time)
8/7 Central หมายถึง 22:30 (10:30 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 4 ของประเทศ (Newfoundland Time)
8/7 Central หมายถึง 23:00 (11 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 5 ของประเทศ (Saint Pierre & Miquelon Time & Western Greenland Time)

เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 8/7 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 18:00 (6 pm) นาฬิกา (เขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่ซึ่งผนวกเวลาในส่วนของ Atlantic Time กับ Newfoundland Time เข้าไปไว้กับ Eastern Time และไม่นับรวม Hawaii Time กับ Alaska Time ที่จะห่างออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้บางเขตไม่เหมาะสมและตรงกับในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นอีกครึ่งประเทศทางด้านซ้าย 2 ส่วนโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทางด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการตารางโดย Affiliate หรือสถานีย่อยเพื่อความเหมาะสม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "World Analogue Television Standards and Waveforms - section - Timeline". Histrorical television data 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-20. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Albert Abramson, The History of Television, 1942 to 2000, Jefferson, NC, and London, McFarland, 2003, ISBN 0-7864-1220-8.
  • Pierre Bourdieu, On Television, The New Press, 2001.
  • Tim Brooks and Earle March, The Complete Guide to Prime Time Network and Cable TV Shows, 8th ed., Ballantine, 2002.
  • Jacques Derrida and Bernard Stiegler, Echographies of Television, Polity Press, 2002.
  • David E. Fisher and Marshall J. Fisher, Tube: the Invention of Television, Counterpoint, Washington, DC, 1996, ISBN 1-887178-17-1.
  • Steven Johnson, Everything Bad is Good for You: How Today's Popular Culture Is Actually Making Us Smarter, New York, Riverhead (Penguin), 2005, 2006, ISBN 1-59448-194-6.
  • Jerry Mander, Four Arguments for the Elimination of Television, Perennial, 1978.
  • Jerry Mander, In the Absence of the Sacred, Sierra Club Books, 1992, ISBN 0-87156-509-9.
  • Neil Postman, Amusing Ourselves to Death: Public Discourse in the Age of Show Business, New York, Penguin US, 1985, ISBN 0-670-80454-1.
  • Evan I. Schwartz, The Last Lone Inventor: A Tale of Genius, Deceit, and the Birth of Television, New York, Harper Paperbacks, 2003, ISBN 0-06-093559-6.
  • Beretta E. Smith-Shomade, Shaded Lives: African-American Women and Television, Rutgers University Press, 2002.
  • Alan Taylor, We, the Media: Pedagogic Intrusions into US Mainstream Film and Television News Broadcasting Rhetoric, Peter Lang, 2005, ISBN 3-631-51852-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โทรทัศน์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?