For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ความถี่สูงยิ่ง.

ความถี่สูงยิ่ง

ความถี่สูงยิ่ง
ความถี่สูงยิ่ง (ITU)
ช่วงความถี่
300 MHz ถึง 3 GHz
ช่วงความยาวคลื่น
1 ม. ถึง 1 ดม.
ย่านความถี่ที่เกี่ยวข้อง
  • ย่านความถี่ B / C / D / E (เนโท)
  • ยูเอชเอฟ และ ย่านความถี่ L / S (IEEE)
ความถี่สูงยิ่ง (IEEE)
ช่วงความถี่
300 MHz ถึง 1 GHz
ช่วงความยาวคลื่น
1 ม. ถึง 3 ดม.
ย่านความถี่ที่เกี่ยวข้อง
  • ยูเอชเอฟ (ITU)
  • ย่านความถี่ B / C (เนโท)
สายอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบยากิ สำหรับสัญญาณภาพโทรทัศน์ในระบบยูเอชเอฟ

ความถี่สูงยิ่ง (อังกฤษ: Ultra high frequency: UHF) ย่อว่า ยูเอชเอฟ ซึ่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศกำหนดไว้สำหรับคลื่นวิทยุในช่วงระหว่าง 300 เมกะเฮิรตซ์ และ 3 กิกะเฮิรตซ์ หรือที่เรียกว่า ย่านเดซิเมตร (อังกฤษ: Decimetre band) เนื่องจากมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 1 เมตร ถึง 0.1 เมตร (1 เดซิเมตร) ส่วนคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่ายูเอชเอฟจะเป็นย่านความถี่สูงยิ่งยวด (อังกฤษ: Super-High Frequency; SHF) หรือไม่ก็ย่านความถี่สูงสุด (อังกฤษ: Extremedy High Frequency; EHF) หรือไม่ก็กลายเป็นคลื่นไมโครเวฟไป ส่วนคลื่นวิทยุที่มีความถี่ต่ำกว่ายูเอชเอฟจะเป็นย่านความถี่สูงมากหรือวีเอชเอฟ (อังกฤษ: Very-High Frequency; VHF) หรือไม่ก็ย่านความถี่ที่ต่ำกว่า ยูเอชเอฟมักส่งไปแบบคลื่นตรงเป็นหลัก ซึ่งมักจะโดนปิดกั้นด้วยเนินเขาและอาคารขนาดใหญ่แม้ว่าการส่งผ่านกำแพงอาคารจะมีความแข็งแรงเพียงพอสำหรับการรับสัญญาณในร่มก็ตาม ยูเอชเอฟใช้สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม ซึ่งรวมถึงจีพีเอส บริการวิทยุส่วนบุคคล รวมถึงไวไฟและบลูทูธ เครื่องส่งรับวิทยุ โทรศัพท์ไร้สาย และแอปพลิเคชันอื่น ๆ อีกมากมาย

สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) กำหนดแถบเรดาร์ของยูเอชเอฟให้อยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 300 เมกะเฮิรตซ์ถึง 1 กิกะเฮิรตซ์[1] และมีแถบเรดาร์อีก 2 วงทับซ้อนกับแถบยูเอชเอฟที่กำหนดโดย ITU คือแถบ L ระหว่าง 1 - 2 กิกะเฮิรตซ์ และแถบ S ระหว่าง 2 - 3 กิกะเฮิรตซ์

ยูเอชเอฟในการสื่อสาร

[แก้]

ย่านความถี่ 70 เซนติเมตร

[แก้]

ความถี่ย่าน 70 เซนติเมตร เป็นส่วนหนึ่งของแถบความถี่ UHF ซึ่งถูกจัดสรรให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น

ระบบทรังค์เรดิโอ

[แก้]

วิทยุสื่อสารระบบทรังค์ (Trunked Radio) คือระบบวิทยุสื่อสารที่มีหลักการทำงานคล้ายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีสถานีกลาง (System Control) คอยจัดช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสารกับลูกข่าย มีสถานีทวนสัญญาณเชื่อมโยงโครงข่ายให้ครอบคลุม และสามารถเลือกที่จะสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจงได้ รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบสื่อสารรูปแบบอื่นได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นระบบดิจิทัล ทำให้ข้อมูลในการมีความปลอดภัยสูง และเพิ่มคุณสมบัติในการรับส่งข้อมูลหลากหลายมากขึ้น นิยมใช้งานในหน่วยงานรัฐและเอกชน[2]

ในประเทศไทย กสทช. ได้กำหนดคลื่นความถี่ในช่วง UHF สำหรับในการใช้งานสื่อสารด้วยระบบทรังค์เรดิโอประกอบไปด้วย

ทรังค์เรดิโอ

[แก้]
  • ความถี่ย่าน 806 - 814 MHz และ 851 - 859 MHz ในลักษณะแบบเป็นคู่[3]
    • ความถี่ย่าน 806.00 - 814.00 MHz เป็นความถี่รับ
    • ความถี่ย่าน 851.00 - 859.00 MHz เป็นความถี่ส่ง

ดิจิทัลทรังค์เรดิโอ

[แก้]
  • ความถี่ย่าน 380 - 399.9 MHz ในลักษณะแบบเป็นคู่[4]
    • ความถี่ย่าน 380.00 - 389.99 MHz เป็นความถี่รับของสถานีแม่ข่าย
    • ความถี่ย่าน 390.00 - 399.99 MHz เป็นความถี่ส่งของสถานีแม่ข่าย
  • เตรียมพร้อมเพื่อรองรับการใช้งาน
    • ความถี่ย่าน 410.00 - 430.00 MHz[5]

ยูเอชเอฟในวิทยุโทรทัศน์

[แก้]

ยูเอชเอฟเริ่มนำมาใช้ในการส่งโทรทัศน์เป็นครั้งแรกที่สหรัฐในปี พ.ศ. 2491 เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้คู่ขนานกับระบบวีเอชเอฟของเครื่องส่งและเสาส่งสำหรับโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก และอาจจะเป็นคลื่นความถี่ที่ถูกบังคับสำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ซึ่งคาดว่าทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนผ่านให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558

ในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟมีช่วงเลขประจำช่องระหว่างช่อง 14 - 83 (470-890 MHz)

ส่วนในประเทศไทย มีช่องสัญญาณอยู่ที่ช่อง 21 - 69 แต่ในกรณีช่อง 21 - 25 และ 61 - 69 กรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบันถูกเปลี่ยนมาเป็นสำนักงาน กสทช.) ได้สงวนช่องสัญญาณไว้ดังกล่าว เพื่อใช้ในระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือแบบรวงผึ้ง จึงทำให้ประเทศไทย สามารถใช้ช่องสัญญาณเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ได้ตั้งแต่ช่องที่ 26 - 60 เท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา สำนักงาน กสทช. ได้ปรับเปลี่ยนการใช้งานระบบยูเอชเอฟสำหรับออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โดยให้ดำเนินการออกอากาศโดยปรับลดไปยังช่องความถี่ที่ต่ำลงกว่าเดิม คือช่องที่ 21 - 48 ทั้งนี้ เนื่องจากจะต้องนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไป ไปจัดสรรและมอบให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายต่าง ๆ เพื่อให้นำไปใช้และให้บริการเครือข่ายการสื่อสารระบบ 5 จี ซึ่งจะเริ่มทดลองและให้บริการจริงตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2563

ตัวอย่างการใช้ระบบยูเอชเอฟในประเทศไทย

[แก้]

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เริ่มดำเนินโครงการ สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีการเปิดประมูลรับสัมปทาน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2538 โดย กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น (แปรรูปเป็น บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เมื่อได้รับอนุมัติสัมปทานแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) เป็นผู้ได้รับอนุมัติสัมปทานดังกล่าว โดยใช้ชื่อสถานีว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟแห่งแรกของประเทศไทย ออกอากาศทางช่อง 26 และเปลี่ยนมาเป็นช่อง 29 ในภายหลัง โดยเริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

ราวปลายปี พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) ในขณะนั้น อนุมัติให้จัดสรรคลื่นความถี่ในระบบยูเอชเอฟแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อใช้ออกอากาศทดแทนคลื่นความถี่เดิม (วีเอชเอฟย่านความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3) เป็นจำนวน 5 ช่องสัญญาณ เพื่อแก้ปัญหาการส่งสัญญาณไม่ได้จากการถูกตึกสูงบดบัง โดยช่อง 3 ได้ทำการออกอากาศในระบบยูเอชเอฟทางช่อง 32 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เวลา 09:39 น. โดยได้ยุติการออกอากาศในระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำเป็นการถาวรในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 จากนั้นหลังจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเมื่อเวลา 00:01 น. ของวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ช่อง 3 ก็กลายเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องเดียวที่ออกอากาศในระบบยูเอชเอฟจนกระทั่งยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 00:01 น.

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "IEEE 521-2002 - IEEE Standard Letter Designations for Radar-Frequency Bands". Standards.ieee.org. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2017.((cite web)): CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""วิทยุสื่อสาร ระบบ ทรั้งค์แบบ ดิจิทัล" โทรคมนาคมที่มีอนาคตดีอีกระบบหนึ่ง". m.mgronline.com.((cite web)): CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. สำนักงาน กสชท. ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ทางบก ระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ ๘๐๖ - ๘๑๔ เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ ๘๕๑ - ๘๕๙ เมกะเฮิรตซ์ (MHz) (nbtc.go.th)
  4. สำนักงาน กสทช. ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ทางบก ระบบ Digital Trunked Radio ย่านความถี่ 380 - 399.9 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) (nbtc.go.th)
  5. สำนักงาน กสทช. ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ ย่านความถี่ 380 - 510 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)[ลิงก์เสีย] (nbtc.go.th)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ความถี่สูงยิ่ง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?