For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สมเด็จพระไชยราชาธิราช.

สมเด็จพระไชยราชาธิราช

สมเด็จพระไชยราชาธิราช
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2077 - 2089 (13 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระรัษฎาธิราช
ถัดไปสมเด็จพระยอดฟ้า
พระมหาอุปราชพระเทียรราชา
พระมหาอุปราชแห่งอยุธยา
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2072 - 2077 (5 ปี)
รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
สมเด็จพระรัษฎาธิราช
ก่อนหน้าพระอาทิตยวงศ์
ถัดไปพระเทียรราชา
พระราชสมภพราว พ.ศ. 2042
สวรรคตพ.ศ. 2089 (47 พรรษา)
คู่อภิเษกพระมเหสีจิตรวดี
แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 13 แห่งอาณาจักรอยุธยา รัชสมัยของพระองค์โดดเด่นสำหรับการหลั่งไหลเข้ามาของ พ่อค้าและทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสและเทคโนโลยี การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระไชยราชาธิราชพระราชสมภพราว พ.ศ. 2042 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ที่ประสูติแต่พระสนม[1] ในปี พ.ศ. 2077 ขณะพระชนมายุราว 35 พรรษา ได้ปราบดาภิเษกโดยการสำเร็จโทษสมเด็จพระรัษฎาธิราช แล้วขึ้นครองราชย์

ในเอกสารของโปรตุเกส กล่าวกันว่าในปี ค.ศ. 1544 มีความเป็นไปได้ที่พระองค์อาจเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยมีนามทางศาสนาว่า ดง จูอาว (โปรตุเกส: Dom João)[2][3] ซึ่งนอกจากนี้ก็ไม่มีเอกสารอื่นใดที่ยืนยันเกี่ยวกับการเปลี่ยนศาสนาในครั้งนี้อีก

พระมเหสี พระราชโอรสธิดา

[แก้]

คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชมีพระมเหสี 2 พระองค์คือ[4]

  1. พระมเหสีจิตรวดี
  2. แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ (จากราชวงศ์อู่ทอง)

สมเด็จพระไชยราชาธิราชมีพระราชโอรสที่ปรากฏในพงศาวดาร 2 พระองค์ ประสูติแต่นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์[5] คือ

  1. สมเด็จพระยอดฟ้า ได้ครองราชย์หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตไม่ถึง 2 ปี ก็ถูกขุนวรวงศาธิราชสำเร็จโทษ
  2. พระศรีศิลป์ ยังถูกเลี้ยงไว้หลังจากสำเร็จโทษสมเด็จพระยอดฟ้า ต่อมาเมื่อขุนนางฝ่ายพระไชยราชาได้สังหารขุนวรวงศาและท้าวศรีสุดาจันทร์ที่คลองสระบัว พระศรีศิลป์ได้อยู่ในเหตุการณ์แต่รอดชีวิตกลับมาได้ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ พระศรีศิลป์ได้กบฏต่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจนต้องปืนสิ้นพระชนม์

การสวรรคต

[แก้]

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า หลังทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จยกทัพหลวงกลับมายังกรุงศรีอยุธยา แล้วสวรรคตระหว่างทาง[6]

อย่างไรก็ดี บันทึกของพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในอาณาจักรอยุธยาในสมัยนั้นชื่อ เฟอร์ดินันท์ เมนเดซ ปินโต กลับระบุว่าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ซึ่งลักลอบมีความสัมพันธ์กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) พราหมณ์ผู้คุมหอพระ ได้ลอบปลงพระชนม์พระองค์ด้วยยาพิษในปี พ.ศ. 2089 ซึ่งเป็นข้อมูลหลักในบทภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท

พระราชกรณียกิจ

[แก้]

ราชการสงคราม

[แก้]

สงครามเชียงกราน

[แก้]

ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามไทยกับพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2081 เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งกรุงหงสาวดีได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกราน กลับคืนมาได้

เมื่อพระองค์ยกทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่กองอาสาชาวโปรตุเกส พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตำบลบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านโปรตุเกส และทรงอนุญาตให้สร้างโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้มีบาทหลวงเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา

สงครามกับล้านนา

[แก้]

เกิดการผลัดแผ่นดินขึ้นที่เชียงใหม่ พระเมืองเกษเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ โดยแสนคล้าวขุนนางผู้ทุริยศ บรรดาเจ้าเมืองลำปาง เมืองเชียงราย และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองนครเชียงใหม่ได้ แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งพระนางจิรประภาเทวี พระมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า ขึ้นครองนครเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงพิจารณาเห็นว่าล้านช้างอาจแผ่อำนาจเข้ามาปกครองล้านนา[7] จึงทรงแต่งทัพไปตีเชียงใหม่ในกลางปี พ.ศ. 2088 แต่ไม่สำเร็จ ในปลายปีต่อมาจึงยกทัพไปอีกครั้ง ตีได้เมืองลำพูน เมื่อถึงเชียงใหม่พระมหาเทวีได้ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระองค์ได้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศพระเมืองเกษเกล้าร่วมกับพระมหาเทวี ณ วัดโลกโมฬี แล้วเสด็จฯ กลับอยุธยา ต่อมาสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตระหว่างทาง[5] พระนางจิรประภาจึงหันไปพึ่งล้านช้างโดยถวายราชสมบัติแด่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ปกครองนครเชียงใหม่สืบต่อไป

การคมนาคม

[แก้]

ในรัชสมัยของพระองค์ได้โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดบางกอก เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำไปถึง กรุงศรีอยุธยามีความคดเคี้ยวหลายแห่ง ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเรือ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า แผ่นดินระหว่างคลองบางกอกใหญ่ และคลองบางกอกน้อยแคบ สามารถเดินถึงกันได้ ผลจากการขุดคลองลัดบางกอกทำให้สายน้ำเปลี่ยนทางเดินจนคลองลัดบางกอกกลายเป็นลำน้ำเจ้าพระยา จึงโปรดเกล้าให้ขุดคลองลัด ณ บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าราชวรดิษฐ์ในปัจจุบัน

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้แก่

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 92
  2. Manuel de Faria e Sousa, Asia Portuguesa, Porto : Livraria Civilizaçao, 1945, Vol. 3, pp. 127
  3. ปรีดี พิศภูมิวิถี. กระดานทองสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 13
  4. คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 492-494
  5. 5.0 5.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 66-7
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 63
  7. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 93
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์อธิบายประกอบ สำนักงานพิมพ์โอเดียนสโตร์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2510
  • ไทยรบพม่า เล่ม 1 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักงานพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2546
  • พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สำนักงานพิมพ์คลังวิทยา จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2510

ดูเพิ่ม

[แก้]

เว็บไซต์

[แก้]

หนังสือและบทความ

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ถัดไป
สมเด็จพระรัษฎาธิราช
(พ.ศ. 2076 - 2077)

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

(พ.ศ. 2077 -2089)
สมเด็จพระยอดฟ้า
(พ.ศ. 2089 - 2091)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?