For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ราชวงศ์จักรี.

ราชวงศ์จักรี

การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งานดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี
ราชวงศ์จักรี
พระราชอิสริยยศพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1]
(พ.ศ. 2325–2399)
พระเจ้ากรุงสยาม
(พ.ศ. 2399–2492)
พระมหากษัตริย์ไทย
(พ.ศ. 2492–ปัจจุบัน)
ปกครองไทย ราชอาณาจักรไทย
เชื้อชาติไทย จีน มอญ
ภายหลังเพิ่มเปอร์เซีย
สาขา84 ราชสกุล
42 บวรราชสกุล
จำนวนพระมหากษัตริย์10 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ช่วงระยะเวลาพ.ศ. 2325–ปัจจุบัน
สถาปนา6 เมษายน พ.ศ. 2325

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ถัดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ซึ่งปกครองราชอาณาจักรที่สืบทอดกรุงศรีอยุธยามาจนเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขุนนางซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหนายก (จักรี) ในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ยึดอำนาจการปกครองและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน (ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325[2] แล้วย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน[3]

เอกสารหลายฉบับ ทั้งของไทยและของต่างชาติ อ้างถึงความวุ่นวายทางการเมืองในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า เป็นผลมาจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระจริยวัตรผิดแผกไป จนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งอยู่ขณะนำทัพไปเขมร ต้องเดินทางกลับมาระงับเหตุ แล้วปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ก่อนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี[4] จากนั้น ราชวงศ์จักรีได้ปราบปรามเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ "เอาบุตรชายน้อย ๆ ของเจ้าตากสิน...ใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น" โดยทรงอ้างถึงคำโบราณว่า "ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก"[5] และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงประหารหม่อมเหม็น พระราชโอรสของพระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ. 2352 ในเหตุการณ์ที่อ้างว่า มีนกกาคาบหนังสือแจ้งเหตุกบฏมาทิ้งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[6][7]

ในด้านเชื้อสายของราชวงศ์จักรีนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มีพระราชหัตถเลขาว่า ต้นตระกูลของราชวงศ์จักรีมิใช่ไทยแท้ แต่เป็นมอญผสมจีนที่สืบทอดกันมาจนถึงสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก[8] และมีผู้เสนอทฤษฎีว่า ราชวงศ์จักรีอาจสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจทำให้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติย้อนไปถึงราชวงศ์พระร่วงที่สืบสายกันในกรุงสุโขทัย[9]

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นทรงราชย์นั้น ถือกันว่า เป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรี[10] เรียกกันว่า วันจักรี[11] และมีการกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 เป็นอย่างน้อย[12]

ราชวงศ์จักรีใช้สัญลักษณ์เป็นรูปตรีศูลในวงจักรสุทรรศน์ ซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์ เทวดาในศาสนาฮินดู[13] ด้วยเหตุผลว่า คำว่า "จักร" และ ตรี" สอดคล้องกับชื่อ "จักรี" ของราชวงศ์[9]

พระบรมวงศานุวงศ์

พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบราชสมบัติภายในราชสกุลมหิดล ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[14] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเชษฐาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระอนุชาคือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน และภายหลังได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน

รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์

รายพระนามพระอนุวงศ์

พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า

พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์

รายพระนาม

พระมหากษัตริย์ไทย

ลำดับ พระบรมฉายาลักษณ์และพระปรมาภิไธย ครองราชย์ ระยะเวลา
รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352 27 ปี 154 วัน
รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 14 ปี 317 วัน
รัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394 26 ปี 255 วัน
รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 17 ปี 182 วัน
รัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 42 ปี 22 วัน
รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 15 ปี 34 วัน
รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478
(สละราชสมบัติ)
9 ปี 96 วัน
รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
2 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 11 ปี 99 วัน
รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 70 ปี 126 วัน
รัชกาลที่ 10
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน 7 ปี 293 วัน

พระบรมราชินี

ลำดับ พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย ราชาภิเษกสมรส ดำรงตำแหน่ง
รัชกาลที่ 1
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ราว พ.ศ. 2303 6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352
(พระราชสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 2
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ราว พ.ศ. 2344 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
(พระราชสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 4
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
1 เมษายน พ.ศ. 2394 ราว พ.ศ. 2396 - 9 กันยายน พ.ศ. 2404
(สวรรคต)
รัชกาลที่ 5
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
(พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
พ.ศ. 2421 พ.ศ. 2440 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(พระราชสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 6
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี
(พระวรราชชายา)
พ.ศ. 2464 พ.ศ. 2465 - 15 กันยายน พ.ศ. 2468
(ลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา)[16]
รัชกาลที่ 7
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
สิงหาคม พ.ศ. 2461 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478
(พระราชสวามีสละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 9
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
(พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
28 เมษายน พ.ศ. 2493 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(พระราชสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 10
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

รัชสมัย พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย ดำรงตำแหน่ง
รัชกาลที่ 1
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พ.ศ. 2325 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346
(สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352
(สืบราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2)
รัชกาลที่ 2
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พ.ศ. 2352 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360
(สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 3
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พ.ศ. 2367 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375
(สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 - 7 มกราคม พ.ศ. 2408
(สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 5
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พ.ศ. 2411 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428
(ทิวงคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

รัชสมัย พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย ดำรงตำแหน่ง
รัชกาลที่ 1
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
พ.ศ. 2328 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349
(ทิวงคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)

สยามมกุฎราชกุมาร

รัชสมัย พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย ดำรงตำแหน่ง
รัชกาลที่ 5
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
14 มกราคม พ.ศ. 2429 - 4 มกราคม พ.ศ. 2437
(สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ)
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
20 มกราคม พ.ศ. 2437 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(สืบราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6)
รัชกาลที่ 9
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(สืบราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10)

แผนผัง

 
 
 
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
Monarch(1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(2279-2325-2352)
 
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีสุลาลัย
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(2310-2352-2367)
 
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2330-2367-2394)
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2347-2394-2411)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2351-2394-2408)
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2396-2411-2453)
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกMonarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2424-2453-2468)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2436-2468-2478-2484)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
(2468-2478-2489)
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
(2470-2489-2559)
 
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 
 
 
 
 
 
Monarch(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2495-2559–)

การเงิน

ในปี 2560 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ราชวงศ์จักรีเป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมีทรัพย์สินที่ประเมินไว้ระหว่าง 30,000–60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวรอยเตอส์ประเมินว่าเฉพาะหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถืออยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รวมกันมีมูลค่า 3.06 แสนล้านบาท[17]

อ้างอิง

  1. มุกหอม วงษ์เทศ (2560-07-06). ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ไทยที่เรียกประเทศสยามว่า ‘กรุงศรีอยุธยา’ และเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ‘พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา’ มาจนตลอดรัชกาลที่ 3 เพิ่งมาเรียกชื่อ ‘สยาม’ ในทางราชการตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ปฐมพงษ์ สุขเล็ก (2559-10-06). "รัชกาลที่ 1 ทรงรออะไรถึง 2 ปี ถึงขุดหีบศพพระเจ้าตากฯ มาเผา?". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2559-04-21). "21 เมษายน 'วันสถาปนากรุงเทพมหานคร'". วอยซ์ทีวี. กรุงเทพฯ: วอยซ์ทีวี. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ปรามินทร์ เครือทอง (2563-04-06). "คำให้การ วันประหาร "พระเจ้าตาก" ฉากสุดท้ายกรุงธนบุรี". ศิลปวัฒนธรรม. Bangkok: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ปรามินทร์ เครือทอง (2563-10-15). "วังหน้า "พระยาเสือ" เมื่อต้องโค่นพระเจ้าตาก". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. โรม บุนนาค (2563-04-13). ""เจ้าฟ้าเหม็น" โอรสพระเจ้าตากสิน หลานรักพระเจ้าตา ร.๑! เปลี่ยนชื่อหลายครั้งพ้องกับคนถูกประหารทุกชื่อ!". ผู้จัดการออนไลน์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ "เจ้าฟ้าเหม็น" โอรสพระเจ้าตาก!". คมชัดลึก. กรุงเทพฯ: คมชัดลึก. 2561-09-13. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต ต้นราชวงศ์จักรี "เจ้า" หรือ "สามัญชน"?". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. 2563-05-29. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 Matichon Academy (ม.ป.ป.). "บรรพบุรุษ 'ราชวงศ์จักรี' มาจาก 'โกษาปาน' และ 'สมเด็จพระนเรศ'". Matichon Academy. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. จำเป็น เรืองหิรัญ (2563-09-30). "วันจักรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. พัทลุง: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  11. "วันจักรี 6 เมษายน ประวัติวันจักรี วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์". สนุก. กรุงเทพฯ: เทนเซนต์ (ประเทศไทย). ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. "ประกาศกำหนดวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ประจำปี ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2468" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ก): 336–337. 2468-02-08. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ณัฏฐภัทร จันทวิช (ม.ป.ป.). "เกร็ดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". กรุงเทพธุรกิจ. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ เก็บถาวร 2009-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖, ตอน ๐ ก, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 112 ก ฉบับพิเศษ, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ว่าด้วยการที่จะออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2468, หน้า 159
  17. โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับใหม่

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ราชวงศ์จักรี ถัดไป
ราชวงศ์ธนบุรี
(ปกครองกรุงธนบุรี)

ราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทย
(พ.ศ. 2325–ปัจจุบัน)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ราชวงศ์จักรี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?