For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ.

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (40 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาวีระยุทธ ดิษยะศริน
พระมารดาสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (ประสูติ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับวีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ หรือพระนามลำลองว่าพระองค์ติ๊ด ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระองค์และพระเชษฐภคินีมีฐานันดรศักดิ์เป็น "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า" ตั้งแต่ประสูติ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[1] ซึ่งพระยศดังกล่าวเทียบเท่าตำแหน่ง "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[2]

วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ได้มีการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ณ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตามโบราณราชประเพณี[3]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2530[4] หลังการหย่าร้างของพระบิดาและพระมารดา พระองค์และพระเชษฐภคินีได้ประทับอยู่กับพระบิดา ณ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงเข้าศึกษาที่สถาบันศิลปะวอชิงตัน (The Art Institute of Washington) จนสำเร็จการศึกษา[5] ต่อมาทรงย้ายไปศึกษาต่อด้านแฟชันดีไซน์ในสถาบันศิลปะแคลิฟอร์เนีย (The Art Institute of California)[6] ด้วยสนพระทัยด้านกราฟิกดีไซน์และแอนิเมชั่น และประทับอยู่ลำพังพระองค์ในอพาร์ตเมนต์ใกล้สถาบันดังกล่าว[7]

ครั้นเวลาต่อมาพระองค์ทูลพระมารดาผ่านทางโทรศัพท์ว่าจะเสด็จกลับประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่าทรงเหงาและรู้สึกไม่ดี[5] ทรงโอนหน่วยกิตจากสถาบันเดิมเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล[7] และทรงสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553 ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[8]

พระกรณียกิจ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงปฏิบัติพระกรณียกิจขณะประทับอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยทรงเป็นประธานทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา[9]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ โปรดให้ผู้แทนพระองค์นำทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 100,000 บาท เพื่อร่วมสมทบกองทุนกำลังใจในพระดำริของ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554[10]

ทั้งนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณมักประกอบพระกรณียกิจเกี่ยวกับศิลปะ, พระพุทธศาสนา และโครงการเกษตรตัวอย่างในพระดำริที่จังหวัดสุรินทร์ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมาปรับใช้ในโครงการเกษตรส่วนพระองค์[11]

ความสนพระทัย

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงสนพระทัยด้านกราฟิกดีไซน์และแอนิเมชั่นเป็นทุนเดิม[7] โปรดการออกแบบโบรชัวร์และโปสเตอร์[5] ผลงานศิลปนิพนธ์หลังสำเร็จการศึกษานิเทศศิลป์คือ "โครงการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตรโครงการสวนจิตรลดา" ที่ปรับเปลี่ยนและออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าโครงการจิตรลดา ภายใต้แนวคิด "ชีวิตที่กลมกลืน (Living Harmony)" ผลงานของพระองค์ถูกจัดในนิทรรศการมีเดียอาตส์เอ็กซีบีเชิน (Media Arts Exhibition : MAX 2011) ร่วมกับผลงานของบัณฑิตท่านอื่นที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรจิตรกรรมและศิลปกรรมในปีนั้น[7][12] ซึ่งผลงานของพระองค์ได้รับคำชื่นชมจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ว่าทำได้ดีและมีลักษณะเฉพาะ[6]

พระองค์ใช้ความสามารถดังกล่าวมาช่วยเหลือการกุศล เช่น ในปี พ.ศ. 2555 ทรงออกแบบเสื้อฝีพระหัตถ์ "ทุ่งภูเขาทอง" เพื่อสมทบทุนบูรณะอุโบสถวัดภูเขาทอง[13] และในปี พ.ศ. 2556 ทรงร่วมกับถวัลย์ ดัชนี ออกแบบลายสำหรับเสื้อและถุงผ้า "ช้างนพสุบรรณ" เพื่อนำทุนไปบูรณะวัดวัง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เสียหายจากอุทกภัยปี พ.ศ. 2554[14][15]

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียม12

พระอิสริยยศ

  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 : พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ปริญญากิตติมศักดิ์

ปี ปริญญากิตติมศักดิ์ สถาบัน อ้างอิง
2560 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน [19]
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ [20]
2561 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [21]

สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม

ศาสนสถาน
ศาสนวัตถุ
การเกษตร
อื่น ๆ

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ของพระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (135 ก): 1–2. 23 กันยายน 2525.
  2. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2555, หน้า 41
  3. "พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (72 ง ฉบับพิเศษ): 34–35. 6 มิถุนายน 2527.
  4. "เจ้านาย". โรงเรียนจิตรลดา. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระราชนัดดา อุทิศองค์เพื่อแผ่นดินไทย". ไทยรัฐออนไลน์. 9 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "องค์ติ๊ด ทรงเป็นบัณฑิตมหิดลอินเตอร์ อาจารย์ชื่นชมความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นศิลปินสูง". ไทยรัฐออนไลน์. 6 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ""พระองค์ติ๊ด" ทรงแปลงโฉม แบรนด์ "จิตรลดา"". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 4 กันยายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-11. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานปริญญา ม. มหิดล". ครอบครัวข่าวสาม. 4 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. ข่าวสารนิเทศ จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิธีบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
  10. กระทรวงยุติธรรม - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ประทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสมทบทุนกองทุนกำลังใจในพระดำริ[ลิงก์เสีย]
  11. Sriploi (18 พฤศจิกายน 2559). "งดงามหมดจด "พระองค์ติ๊ด" เจ้าหญิงผู้นอบน้อม พระราชนัดดาผู้สานต่อความพอเพียง". แพรว. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ชีวิตที่กลมกลืน ผลงานศิลปนิพนธ์ใน "พระองค์ติ๊ด"". มติชนออนไลน์. 6 สิงหาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "องค์ติ๊ด ทรงออกแบบลายเสื้อ หาทุนบูรณะอุโบสถ วัดภูเขาทอง". มติชนออนไลน์. 16 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "เสื้อยืดการกุศลฝีมือ "องค์ติ๊ด"". ไทยรัฐออนไลน์. 15 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. ""องค์ติ๊ด" ทรงออกแบบเสื้อยืด-กระเป๋า นำรายได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวัง". เดลินิวส์. 16 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  16. 16.0 16.1 16.2 "ประกาศเฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 12. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. ((cite journal)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (2 ข): 1. 26 มกราคม 2554.
  18. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16 ข): 1. 14 ธันวาคม 2551.
  19. "พิธีพระราชทานปริญญาบัตรฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล". ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี. 22 พฤศจิกายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "ประชุมเตรียมงาน ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ถวายปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค กลุ่มวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2559". คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "มทส. ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์) แด่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ". มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 30 กันยายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-14. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. ชัยรัตน์ อินทเชตุ (12 ธันวาคม 2558). "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ดังนี้". สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงยกช่อฟ้าวิหารเฉลิมพระเกียรติฯ วัดโนนสว่าง จังหวัดอุดรธานี". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 3 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2559. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  24. "องค์อทิตยาทร ส่งเสริมเกษตรกรในโครงการพระดำริ อวดผลผลิตในงาน"มหัศจรรย์ฟาร์มเกษตรสุรินทร์". ไทยรัฐออนไลน์. 7 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงบำเพ็ญพระกุศลที่โครงการพิเศษจังหวัดสุรินทร์ อ่างเก็บน้ำอำปึล จังหวัดสุรินทร์ เป็นการส่วนพระองค์". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 6 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  26. "ชวนเที่ยว ซแรย์ อทิตยา นาของพระองค์ติ๊ด ต้นทางแห่งความพอเพียง". แพรว. 16 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงยกช่อฟ้าอุโบสถวัดธรรมโพธิ์ศรี และทรงเปิดสะพาน ศรีมหาอทิตยาทร สะพานข้ามแม่น้ำปราจีนบุรี". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 10 พฤษภาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณเสด็จทรงเปิดอาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล". มหาวิทยาลัยมหิดล. 26 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  29. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณเสด็จทรงเปิดอาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล". วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. 8 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 วิจิตรา ดิษยะศริน, คุณหญิง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน ต.จ., จ.ม., บ.ช. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : บริษัทสตาร์บูมอินเตอร์พริ้นท์, 2561, หน้า 79
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?