For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สถาบันนิติวิทยาศาสตร์.

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
Central Institute of Forensic Science
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (21 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 8-9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี503.3388 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ [2], ผู้อำนวยการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวีร์ ไวยวุฒิ, รองผู้อำนวยการฯ[3]
  • จุฑารัตน์ จินตกานนท์, ว่าที่รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงยุติธรรม
ลูกสังกัดหน่วยงาน
เว็บไซต์https://www.cifs.go.th http://www.cifs.moj.go.th

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: Central Institute of Forensic Science) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีบทบาทหน้าที่ในด้านนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการตรวจพิสูจน์หลักฐานด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์เพื่อประกอบการดำเนินคดี รวมถึงการกำกับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

ประวัติ

[แก้]

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีฐานะเทียบเท่ากรมของกระทรวงยุติธรรม เริ่มให้บริการนิติเวชบริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2545

การจัดตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 75 ที่บัญญัติให้รัฐดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาลด้วย โดยคณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง เร่งรัดการจัดโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมให้มีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการจัดตั้งสถาบันแห่งนี้ขึ้น

แนวคิดของการจัดตั้ง

[แก้]

งานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการยุติธรรมที่ต้องมีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ หากมีระบบการตรวจเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ จะทำให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ ผู้กระทำผิดก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย สังคมจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคดีอาชญากรรมต่าง ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น การรับฟังพยานบุคคลไม่อาจทำให้นำคนผิดมาลงโทษได้เต็มที่ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะมีหลักการและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากกว่าพยานบุคคล

แต่ที่ผ่านมา งานบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาส งานบางงานในกรุงเทพมหานคร ประชาชนยังได้รับการบริการไม่ทั่วถึงทุกคดี และไม่สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับงานบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์กระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงานเช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงกลาโหม เป็นต้น โดยเฉพาะในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ประสานงานโดยตรงและกำหนดมาตรฐานกลางที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของงานด้านนิติวิทยาศาสตร์

ดังนั้น การจัดตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงช่วยให้งานนิติวิทยาศาสตร์ของไทยมีประสิทธิภาพเข้าสู่ความเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม

หลักการดำเนินงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

[แก้]
  1. ระบบการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นระบบที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เฉพาะทาง โดยเฉพาะเป็นองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันหลักที่ทำงานด้านนี้จึงควรเป็นสถาบันที่มีความเป็นอิสระ เพื่อให้มีความเป็นกลาง มีความโปร่งใส มีการตรวจสอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
  2. การตรวจทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ควรมีหน่วยงานกลางเป็นหน่วยประสานเรื่องการดำเนินการ รวมทั้งงบประมาณให้กับหน่วยงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการบริการ อีกทั้งจะเป็นแรงจูงใจสำหรับการปฏิบัติงาน เนื่องจากบุคลากรทางด้านนี้จะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากภาครัฐผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานได้ดี
  3. ควรมีการกำหนดมาตรฐานกลางของการดำเนินงานการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ทุกสาขา และมีการควบคุมดูแลให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐานโดยการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการและบุคลากรที่ปฏบัติงานด้านนี้ ทั้งนี้ประชาชนจะเชื่อมั่นศรัทธาในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ และจะทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้าสู่มาตรฐานสากลได้มากยิ่งขึ้น
  4. การกำหนดนโยบาย การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลาง การตรวจสอบ รวมถึงด้านจริยธรรม ของผู้ปฏิบัติงาน ควรให้มีคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ สนับสนุนแต่งตั้งแต่ในระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี ควรผลักดันให้เป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
  5. กำหนดให้สถาบันใหม่นี้ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งเป็นที่พึ่งเวลาประชาชนมีปัญหาข้อร้องเรียน ซึ่งในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานกลางใดยอมดำเนินการให้
  6. โครงสร้างการบริการ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง รวดเร็ว และมีความโปร่งใส
  7. มีการปลูกฝังจริยธรรมในการปฏิบัติงาน


ภารกิจหลัก

[แก้]
  1. พัฒนาระบบการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ให้มีมาตรฐาน
    สถาบันจะทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ในระดับต่างๆ จากทุกหน่วยงาน ที่ให้การบริการงานนิติวิทยาศาสตร์และดำเนินการให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลาการ โดยคณะกรรมการจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานกลางในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ซึ่ง ประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ดีขึ้น
  2. ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ ให้การบริการทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีการบริการอย่างทั่วถึง
    สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะทำหน้าที่ เพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้บริการงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ในการจัดสรรอัตรากำลัง เครื่องมือ และงบประมาณในการดำเนินการเพื่อให้งานด้านการตรวจพิสูจน์ ได้รับการพัฒนาและสนับสนุน อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและผู้เสียหายในคดีต่างๆ
  3. การให้บริการตามกฎกระทรวง
    ส่วนของนิติเวชบริการของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2545 โดยเริ่มทำการชันสูตรในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และนครนายก ในการชันสูตรศพทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ใช้สถานที่ห้องตรวจศพของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นการชั่วคราว ส่วนห้องปฏิบัติการอื่น ๆ อยู่ที่ตึกอาคารสุขประพฤติ ถนนเลียบคลองประปา ประชาชื่น กทม.

นอกจากนี้ยังมีภารกิจรับเรื่องราวร้องทุกข์ ในการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ทุก ๆ สาขาซึ่งขณะนี้ทางสถาบันเปิดให้การบริการตรวจพิสูจน์เอกสารและการปลอมแปลง เช่น การตรวจพิสูจน์ลายมือเขียน ลายมือชื่อ ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารต่างๆ ให้กับศาลทั่วประเทศ หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม รัฐวิสาหกิจหรือเอกชนที่ร้องขอ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน อันจะทำให้เกิด ความโปร่งใสและมีการตรวจสอบได้

ภารกิจอื่น

[แก้]

นอกเหนือจากภารกิจดังกล่าวมาข้างต้น ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยังมีหน้าที่ร่วมสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มประสานให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาโท ร่วมกับมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ของสก็อตแลนด์ ซึ่งเป็นหลักสูตรชั้นนำของโลก ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพมานานแล้ว ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งก็กำลังเริ่มพัฒนาหลักสูตรทางด้านนี้ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนัก 4 กอง[4][5] คือ

  1. สำนักงานเลขานุการกรม
  2. กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
  3. กองมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์
  4. กองนิติวิทยาศาสตร์บริการ
  5. กองพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

หนังสือและบทความ

[แก้]
  • Lim, Samson. Siam’s New Detectives: Visualizing Crime and Conspiracy in Modern Thailand. Honolulu, HI: University of Hawai’i Press, 2016.
  • Pearson, Quentin (Trais). “‘DNA Evidence Cannot Lie’: Forensic Science, Truth Regimes, and Civic Epistemology in Thai History.” in Ian Burney and Christopher Halim (eds.), Global Forensic Cultures: Making Fact and Justice in the Modern Era. pp. 235-254. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press, 2019.
  • Pearson, Trais. Sovereign Necropolis: The Politics of Death in Semi-Colonial Siam. Ithaca, NY and London: Cornell University Press, 2020.

เว็บไซต์

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?