For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์.

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ชื่ออื่นChulabhorn Royal Academy
ชื่อย่อCRA
คติพจน์เป็นเลิศ เพื่อทุกชีวิต
ประเภทสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2559 (8 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (องค์ประธาน)[1][2][3]
รักษาการเลขาธิการราชวิทยาลัยศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ที่ตั้ง
สี██ สีส้ม
เว็บไซต์www.cra.ac.th

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (อังกฤษ: Chulabhorn Royal Academy) เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี[4] (มิใช่สถาบันอุดมศึกษา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในส่วนงาน) และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษาและผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม[5]

ประวัติ

[แก้]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล โดยสมเด็จเจ้าฟ้าๆ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานนาม "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ตาม พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระรับหลักการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 และได้ลงมติในวาระ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ด้วยคะแนน 151–0 เสียงโดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาคในการผลิตและพัฒนาบุคลากรชั้นสูง ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข และให้บริการทางการแพทย์เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำงานประสานกับองค์การระหว่างประเทศ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเริ่มรับนักศึกษาของราชวิทยาลัยรุ่นแรกในปีการศึกษา 2560[6]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในปี 2565

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้แยกสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกจากราชวิทยาลัยและยังให้อยู่ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ตามเดิม จึงได้ตัดกรรมการสภาราชวิทยาลัยที่มาจากสัดส่วนของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกด้วย อีกทั้งกำหนดให้อาจมีตำแหน่ง ประธานราชวิทยาลัย เพื่อให้สภาราชวิทยาลัยขอรับคำแนะนำและคำปรึกษาในกิจการทั้งปวงตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย และประธานราชวิทยาลัยจะแต่งตั้ง รองประธานราชวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ตามที่มอบหมายก็ได้[7]

กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

[แก้]

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยได้แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 7 คน[8] ดังนี้

  1. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสุพรรณ
  2. ศาสตราจารย์ ไผทชิต เอกจริยกร
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม
  4. รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม
  5. เลอสรร ธนสุกาญจน์
  6. วุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์
  7. บุษยา มาทแล็ง

ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยได้แต่งตั้ง จรัมพร โชติกเสถียร เป็นกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

หน่วยงาน

[แก้]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกอบไปด้วยส่วนงานดังต่อไปนี้[7][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี). เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๘๓ ง พิเศษ หน้า ๕. 1 สิงหาคม 2561.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี). เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๑๘ ง พิเศษ หน้า ๙. 28 กันยายน 2559.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี). เล่ม ๑๓๘ ตอน ๑๑๔ ง พิเศษ หน้า ๖๒. 27 พฤษภาคม 2564.
  4. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รับรางวัลชูเกียรติ “องค์กรคุณธรรมต้นแบบ” ประจำปี 2565 ในสังกัดสำนักนายกฯ
  5. ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 เมษายน 2559. เล่ม ๑๓๓ ตอน ๗ หน้า ๑. 18 มกราคม 2559.
  6. ""ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" สถาบันใหม่ วิจัย-ผลิตแพทย์". มติชน. 18 มกราคม 2559.
  7. 7.0 7.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๓๑ ก หน้า ๒๔–๓๐. 27 ธันวาคม 2560.
  8. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (จำนวน ๗ ราย). เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๗ ง พิเศษ หน้า ๒. 24 มกราคม 2560.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๙. เล่ม ๑๓๓ ตอน ๑๘๗ ง พิเศษ หน้า ๒๔. 24 สิงหาคม 2559.


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?