For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วิธีใช้:หน้าคำบรรยายไฟล์.

วิธีใช้:หน้าคำบรรยายไฟล์

เมื่อมีการอัปโหลดไฟล์อย่างภาพ วิดีทัศน์หรือคลิปเสียงสู่วิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์ จะมีการสร้างหน้าคำบรรยายไฟล์ (หรือหน้าไฟล์) ที่มากับไฟล์ดังกล่าว จุดประสงค์ของหน้าดังกล่าวมีเพื่อให้สารสนเทศเกี่ยวกับไฟล์ ตัวอย่างเช่น ผู้ประพันธ์ วันที่สร้างสรรค์ ผู้อัปโหลดไฟล์ การดัดแปรไฟล์ใด ๆ คำบรรยายขยายความหัวเรื่องหรือบริบทของไฟล์ ที่ที่ใช้ไฟล์ และใบอนุญาตหรือสารสนเทศลิขสิทธิ์ ในกรณีของภาพ หน้าคำบรรยายไฟล์ยังมีฉบับความละเอียดสูงกว่าของภาพนั้นด้วย (ถ้ามี)

ในการดูหน้าคำบรรยายไฟล์สำหรับภาพหรือวิดีทัศน์ คลิกที่ภาพ สำหรับไฟล์เสียง คลิกไอคอนสารสนเทศ ใกล้กับลิงก์คลิปเสียง

หน้าคำบรรยายไฟล์ประกอบด้วยห้าส่วน ดังนี้

  • เนื้อหาไฟล์นั้นเอง
  • ส่วนแก้ไขได้: ซึ่งควรมีคำบรรยายไฟล์ ร่วมกับแหล่งที่มาและสารสนเทศลิขสิทธิ์ เมื่อแก้ไข ส่วนนี้รองรับภาษามาร์กอัพวิกิ และควรใส่ตัวแปรเสริมตาม แม่แบบ:Information
  • ประวัติไฟล์: หากมีการอัปโหลดไฟล์รุ่นใหม่ชื่อเดียวกัน ไฟล์ที่มีอยู่เดิมจะถูกแทนที่ และเข้าถึงได้ผ่านประวัติไฟล์ ดู วิธีใช้:ประวัติหน้า
  • การใช้ไฟล์: รายชื่อหน้าที่ฝังไฟล์นี้
  • รายการหน้าเว็บที่ฝังตัวไฟล์ดังกล่าว (รวมทั้งหน้าที่ปรากฏโดยเป็นส่วนหนึ่งของแม่แบบ) หากไฟล์หนึ่งเก็บไว้บนคอมมอนส์และใช้ในวิกิอื่นของวิกิมีเดีย จะมีส่วน "การใช้ไฟล์ทั่วโลก" ด้วย
  • ข้อมูลเมตา (เฉพาะภาพ): สารสนเทศเทคนิคเกี่ยวกับไฟล์และอุปกรณ์ที่ใช้สร้าง (รุ่นกล้อง ฯลฯ)

สิ่งมีประโยชน์ที่ควรใส่ในส่วนแก้ไขได้

[แก้]

ส่วนแก้ไขได้ของหน้าใช้เพื่อบรรยายไฟล์และให้สารสนเทศเพิ่มเติม เดิมทีส่วนนี้มีความย่อการอัปโหลดอัตโนมัติเมื่อมีการอัปโหลดครั้งแรก สิ่งมีประโยชน์ที่ควรใส่ในหน้าไฟล์ มีดังนี้

คำบรรยายไฟล์

[แก้]

เช่น: "ภาพปลาทองในตู้ขนาดเล็ก" ทั้งนี้ ไม่ควรเป็นข้อความทางเลือก (ดู วิกิพีเดีย:ข้อความทางเลือกสำหรับภาพ) แต่เป็นคำบรรยาย นับว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่มีการเข้าถึงภาพดังกล่าวโดยตรง และเป็นสิ่งทดแทนป้ายระบุ longdesc ชั่วคราว

หากคุณดาวน์โหลดไฟล์จากที่อื่น คุณควรใส่รายละเอียดของแหล่งที่มา ผู้ประพันธ์ ฯลฯ ดูที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา

บทสรุปไฟล์

[แก้]

เป็นที่ที่คุณเขียนสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ ว่าสร้างขึ้นอย่างไร ที่ใด เมื่อใด อย่างไร และใครสร้าง ตลอดจนภาพนั้นคืออะไรและเกี่ยวกับอะไร ตัวอย่าง: "ภาพถ่ายที่ฉันถ่ายใต้น้ำด้วยกล้อง ___ เป็นภาพปลา ____" หรือ "ภาพประกอบต้นฉบับของรถยนต์จากอนาคตและล้อโค้งงอ"

บทสรุปภาพ

[แก้]

บทความส่วนใหญ่ที่ใช้ภาพจะมีคำบรรยายภาพ แต่บทสรุปภาพอาจสั้นว่าคำบรรยายเต็มของภาพ และอาจสัมพันธ์กับข้อความของบทความมากกว่า

พึงระลึกว่าทุกคนที่เห็นภาพนี้ในบทความและคลิกภาพเพื่อดูสารสนเทศเพิ่มเติม (หรือเพื่อขยายภาพ) จะเข้ามายังหน้าคำบรรยายไฟล์

หากคุณผลิตภาพขึ้นมาเอง จะมีบางคำถามที่คุณเท่านั้นที่จะตอบได้ เนื่องจากคุณอาจไม่อยู่ตอบคำถามบางคำถามในภายหลัง คุณจึงควรใส่สารสนเทศต่อไปนี้ในหน้าคำบรรยายเมื่อคุณอัปโหลดภาพ เพื่อช่วยให้ผู้เขียนอื่นหาที่ใช้ภาพได้ดีขึ้น และจะให้สารสนเทศแก่ผู้อ่านมากกว่า

สำหรับภาพถ่าย

  • ถ่ายภาพที่ใด
  • ถ่ายเมื่อใด
  • ชื่อของบุคคลและวัตถุสำคัญทั้งหมดที่เห็นได้ในภาพถ่ายมีอะไรบ้าง
  • เกิดอะไรขึ้นในภาพ
  • ใครเป็นช่างภาพ

สำหรับภาพสังเคราะห์

  • ควรอธิบายแผนภาพและการทำเครื่องหมายอย่างสมบูรณ์ที่สุด
  • หากจำเป็น ควรเพิ่มคำบรรยายสัญลักษณ์

สารสนเทศเทคนิคสำหรับภาพถ่าย

  • หากใช้กล้องฟิล์ม ให้ระบุหมายเลขรุ่นข้อมูล สารสนเทศเลนส์และการตั้งค่าการรับแสง
  • มีการดัดแปลงหลังการผลิตอะไรบ้าง (การปรับสี ความคมชัด ฯลฯ)

สารสนเทศเทคนิคสำหรับภาพสังเคราะห์

  • ใช้ซอฟต์แวร์ใดในการสร้างหรือแก้ไขภาพ
  • ใช้ภาพที่มีอยู่แล้วใด (ภาพ ภาพถ่ายเสรี ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสิ่งรับเข้า

สารสนเทศลิขสิทธิ์

[แก้]

ทุกไฟล์จะต้องระบุสารสนเทศลิขสิทธิ์ ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์ แหล่งที่มาของไฟล์ และสัญญาอนุญาต ทุกไฟล์จะต้องมีสัญญาอนุญาตเสรีหรือเหมาะสำหรับ "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" (ตัวอย่างเช่น ภาพความละเอียดต่ำหรือเฉพาะบางส่วนของเพลง) คุณควรเลือกป้ายระบุที่เหมาะสมที่สุดจาก วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ไฟล์ กรุณาทราบว่าผู้ทรงลิขสิทธิ์ (ผู้สร้างสรรค์ไฟล์คนแรก นายจ้างหรือผู้ออกแบบอย่างเป็นทางการ) ไม่ใช่ผู้อัปโหลด เป็นผู้ตัดสินสัญญาอนุญาตสำหรับภาพนั้น ๆ และ "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" ซึ่งไฟล์ไม่เสรีมีบทนิยามที่จำเพาะ โปรดอ่าน วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์, วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ และ วิกิพีเดีย:เนื้อหาไม่เสรี สำหรับสารสนเทศเกี่ยวกับว่าภาพใดที่เหมาะสมต่อการอัปโหลด หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับภาพหนึ่งภาพใด ถามได้ที่ วิกิพีเดีย:แผนกช่วยเหลือ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง (ภายใน)

[แก้]

ตัวอย่าง:

รุ่นอื่น

[แก้]

ถ้ามีรุ่นอื่น (โดยเฉพาะรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า) ของไฟล์เดียวกัน จะมีลิงก์ไปยังรุ่นนั้น

  • [[สื่อ:Goldfish-in-tank2.jpg|อีกมุมกล้องหนึ่ง]] ([[:ภาพ:Goldfish-in-tank2.jpg|ข้อมูล]])
  • [[สื่อ:Goldfish-in-tank-textfree.jpg|รุ่นไม่มีข้อความ]] ([[:ภาพ:Goldfish-in-tank-textfree.jpg|ข้อมูล]])

รุ่นไม่มีข้อความมีประโยชน์สำหรับการใช้ในโครงการภาษาอื่น

ประเด็นอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์

[แก้]

ไฟล์ที่มีอยู่บนวิกิพีเดียสามารถเก็บไว้ในวิกิพีเดียหรือในวิกิมีเดียคอมมอนส์ หากไฟล์หนึ่งเก็บไว้บนคอมมอนส์ จะปรากฏข้อความต่อไปนี้ในหน้าคำบรรยายไฟล์

Wikimedia Commons logo รูปภาพหรือไฟล์เสียงนี้ ต้นฉบับอยู่ที่ คอมมอนส์ รายละเอียดด้านล่าง เป็นข้อความที่แสดงผลจาก ไฟล์ต้นฉบับในคอมมอนส์
คอมมอนส์เป็นเว็บไซต์ในโครงการสำหรับเก็บรวบรวมสื่อเสรี ที่ คุณสามารถช่วยได้

การแก้ไขหน้าคำบรรยายไฟล์ควรกระทำบนคอมมอนส์ ยกเว้นบางกรณี เช่น เพื่อระบุว่าไฟล์นั้นผ่านสถานะคัดสรรในวิกิพีเดีย ในการแก้ไขหน้าคำบรรยายบนคอมมอนส์ให้คลิกลิงก์ "หน้าคำบรรยายที่นี่" ทุกคนสามารถแก้ไขคอมมอนส์ได้ เหมือนกับวิกิพีเดีย ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องสมัครบัญชี

การแสดงตัวอย่าง

[แก้]

เมื่อแก้ไข ฟังก์ชันแสดงตัวอย่างจะแสดงเฉพาะส่วนที่แก้ไขได้ของหน้าไฟล์ จะไม่แสดงตัวไฟล์ ประวัติไฟล์และลิงก์ไฟล์

การแก้ไขไฟล์

[แก้]

ไม่สามารถแก้ไขไฟล์ทั้งบนวิกิพีเดียหรือคอมมอนส์ จะต้องดาวน์โหลด ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม (เช่น กิมป์หรือโฟโตชอปสำหรับภาพ) เพื่อดัดแปลง เมื่อเสร็จสิ้นการเปลี่ยนแปลงแล้ว ให้อัปโหลดไฟล์นั้นมายังวิกิพีเดียหรือคอมมอนส์ อาจใช้ชื่อไฟล์เดิมได้ โดยจะเขียนทับไฟล์ที่มีอยู่เดิม

การประสานงานระหว่างภาษา

[แก้]

บนวิกิพีเดีย กรุณาเลี่ยงการใส่คำบรรยายเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาไทย ให้ใช้ลิงก์วิกิสนเทศไปยังหน้าคำบรรยายไฟล์ในวิกิภาษาที่เหมาะสม

บนคอมมอนส์ อาจเพิ่มคำแปลในหน้าคำบรรยายไฟล์ก็ได้

การอัปโหลดภาพต้นฉบับ

[แก้]

หากคุณสร้างภาพด้วยตัวเอง และคุณมีต้นฉบับคุณภาพสูงกว่าในรูปแบบอย่าง .XCF, .PSD หรือ .AI คุณอาจพิจารณาอัปโหลดไฟล์ต้นฉบับนั้นเพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถดัดแปลงได้ง่ายหากมีควมจำเป็น ลิงก์ไฟล์ต้นฉบับจากหน้าคำบรรยาไฟล์ หากไฟล์ต้นฉบับมีขนาดใหญ่เกินจนอัปโหลดไม่ได้ ลองบีบไฟล์โดยใช้โปรแกรมอย่างวินซิปหรือจีซิป

วิกิพีเดียรองรับการแสดงผลภาพเอสวีจี ฉะนั้นโดยทั่วไปเป็นการดีที่สุดในการอัปโหลดสำเนาเอสวีจีแทนที่แรสเตอร์การเรนเดอร์ภาพนั้น

การจัดหมวดหมู่ไฟล์

[แก้]

ไฟล์สามารถอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับหน้าอื่น แต่มีการปฏิบัติแยกกัน ในหน้าหมวดหมู่ ไฟล์ไม่อยู่ในยอดบทความในหมวดหมู่ และแสดงผลในอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีภาพขนาดย่อและชื่อ หมวดหมู่ไฟล์ปกติเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่ทั่วไปเกี่ยวกับหัวเรื่องเดียวกัน และเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่ไฟล์ขนาดใหญ่กว่า

สำหรับการจัดหมวดหมู่ไฟล์ใหม่ ไม่จำเป็นต้องแก้ไขหน้าไฟล์ใหม่ สามารถใส่ป้ายระบุหมวดหมู่ในความย่อการอัพโหลดได้ หลายภาพจัดอยู่ในหมวดหมู่:ภาพแบ่งตามประเภท คุณอาจลองค้นตามลำดับชั้นของหมวดหมู่เพื่อหาที่ที่เหมาะสม

ตำแหน่งหน้าไฟล์

[แก้]

ในวิกิพีเดียภาษาไทย หน้าไฟล์สำหรับไฟล์สื่อชื่อ F อยู่ที่ <http:// th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:F> และสามารถเข้าถึงได้โดยใช้มาร์กอัพวิกิ [[ :ไฟล์:F]] ชื่อไฟล์สื่อสามารถดูจากยูอาร์แอลได้ โดยเป็นส่วนสุดท้ายหรือรองสุดท้ายของยูอาร์แอลเสมอ เช่น ภาพธง อาจมียูอาร์แอลต่อไปนี้

<http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c3/Flag_of_France.svg/18px-Flag_of_France.svg.png>

ส่วนรองสุดท้ายของยูอาร์แอลนี้คือ "Flag_of_France.svg" ดังนั้นหน้าไฟล์ที่เกี่ยวข้องคือ File:Flag_of_France.svg

ยูอาร์แอลของภาพมักตัดสินโดยการเลือกให้เบราว์เซอร์แสดงคุณสมบัติของภาพ และไฟล์สื่ออื่น อย่างไรก็ดี บางทีคุณอาจจำเป็นต้องดูเอชทีเอ็มแอลของหน้าเว็บที่มีไฟล์สื่อเพื่อกำหนดยูอาร์แอลของไฟล์ ตัวอย่างเช่นในเบราว์เซอร์มาตรฐาน สกินวิกิพีเดียภาษาไทยโดยปริยายจะแสดงผลที่ภาพลูกโลกจิ๊กซอว์ซ้ายบน ซึ่งพาคุณไปยังหน้าหลักเมื่อคุณคลิก ดูเอชทีเอ็มแอลของหน้านี้เพื่อดูรหัสต่อไปนี้

<a style = "background-image: url (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/b/bc/Wiki.png);" href = "/wiki/Main_Page" title = "ชมหน้าหลัก"></a>

เอชทีเอ็มแอลนี้มียูอาร์แอลซึ่งส่วนสุดท้ายเป็น "Wiki.png" ฉะนั้นหน้าไฟล์ที่สัมพันธ์จึงเป็น ไฟล์:Wiki.png

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วิธีใช้:หน้าคำบรรยายไฟล์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?