For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย.

ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย (อังกฤษ: Communism in Thailand) ประเทศสยามเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 7 โดยแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญาให้ "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" เป็นความผิด ปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ค่อยรุนแรงขึ้นเป็นลำดับและหมดไปแล้วในปัจจุบัน หลังการยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2543

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 104 โดย พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พ.ศ. 2470 ให้เพิ่ม "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" เป็นความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดยการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499

"สมุดปกเหลือง" พ.ศ. 2476-2489

[แก้]
สมุดปกเหลืองและสมุดปกขาว

เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2476 สมัยรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะราษฎร ได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจที่มีการปฏิรูปที่ดินและรัฐสวัสดิการแก่ประชาชน หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" มีผู้วิจารณ์อย่างกว้างขวางและกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เกิดความแตกแยกในสภา รัฐบาลจึงกำหนดให้ปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และยังได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 จนปรีดีต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2476[1] ภายหลังรัฐประหารโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2476 จึงได้เชิญปรีดีกลับมา ตั้งกรรมการสอบสวน และให้ปรีดีพ้นผิด แล้วได้มีการปรับแก้กฎหมายคอมมิวนิสต์ฉบับนี้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 ปรีดีปฏิเสธเสมอว่าตนเองไม่ใช่คอมมิวนิสต์แต่เป็น "radical socialist" (นักสังคมนิยมสุดขั้ว) ปรีดีชี้แจงไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่เป็น สังคมนิยมผสมทุนนิยม[2]

ได้ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ไปในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2489[3]

กฎหมายคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495

[แก้]

ภายใต้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการออกกฎหมายคอมมิวนิสต์ฉบับใหม่ มีบทลงโทษที่รุนแรงกว่าเดิม และมีนิยามที่กว้างขวางมากขึ้น ได้มีการแก้ไขเรื่อยมาตลอดยุคเผด็จการทหาร ให้อำนาจในการจับกุม ปราบปราม กักขังโดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาได้นานกว่าปรกติ การใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐนอกจากจะเป็นไปในทางปราบปรามคอมมิวนิสต์แล้ว ก็ยังเป็นเครื่องมือในการควบคุมกดขี่ประชาชนได้ตามอำเภอใจ และปิดกั้นไม่ให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพโดยเฉพาะในการเขียนและแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน (รู้จักกันในนาม กฎหมายปราบประชาธิปไตย)[4]

วันเสียงปืนแตก

[แก้]
ปรีดีเข้าพบเหมา เจ๋อตง ผู้นำจีน ในปี 2508

วันเสียงปืนแตก คือ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508[5] ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับรัฐบาลไทยมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลยื่นข้อเสนอและเจรจา เลิกต่อสู้กันด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน[6][7][8]

ยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟู พ.ศ. 2516

[แก้]
การสัมภาษณ์สื่อมวลชนโดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การถอนกำลังทหารสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2519

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นยุคสั้น ๆ ที่ประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทย ได้มีผลงานของนักคิดนักเขียนต่างๆ ออกมาอย่างเสรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ เข้าพบประธานเหมา เจ๋อตุง ในปี พ.ศ. 2518 เป็นสัญลักษณ์ของการเปิดสัมพันธไมตรีกับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์อีกครั้ง และขบวนการนักศึกษายังได้กดดันให้รัฐบาลไทยมีคำสั่งให้สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหลังสงครามเวียดนาม[9]

นโยบายขวาจัด พ.ศ. 2519

[แก้]
นายกรัฐมนตรีธานินทร์กับเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ชาร์ลส์ เอส. ไวท์เฮาส์ ในปี พ.ศ. 2519

ภายใต้รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้มีการดำเนินนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาด แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันกระทำเป็นคอมมิวนิสต์ กำหนดเขตแทรกซึมของคอมมิวนิสต์และกำหนดมาตรการรุนแรงในการปราบปราม แก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพิ่มโทษข้อหาหมิ่นประมาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และตั้งศาลพิเศษดำเนินคดีกับนักศึกษาและประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการใช้อำนาจตาม คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ปิดสื่อ หนังสื่อพิมพ์ โดย สมัคร สุนทรเวช เป็นผู้พิจารณาการอนุญาตสิ่งพิมพ์[10][11]

ด้วยนโยบายขวาจัดนี้จึงทำให้นักศึกษาและปัญญาชนหลบหนีเข้าป่าเพราะเกรงกลัวการจับกุม โดยไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย[12]

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523

[แก้]
พลเอกเปรม ขณะปฏิบัติภารกิจเยือนต่างประเทศเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เนื่องจากสงครามประชาชนยืดเยื้อนานหลายปี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งดั่งกล่าวเมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2523[13] ใจความสำคัญคือใช้การเมืองนำการทหาร มุ่งเน้นขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และ "ปฏิบัติต่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หรือผู้หลงผิดที่เข้ามอบตัว หรือที่จับได้อย่างเพื่อนประชาชนร่วมชาติ ชี้แจงเพื่อให้ได้เข้าใจถึงนโยบายของรัฐบาลในปัญหานี้อย่างถ่องแท้ช่วยเหลือให้ใช้ชีวิตใหม่ร่วมกันต่อไปในสังคมอย่างเหมาะสม"

คำสั่งนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญจากนโยบายขวาจัดของรัฐบาลก่อนหน้ามาสู่การประนีประนอม อย่างไรก็ตามการปฏิบัติให้เป็นผลนั้นกินระยะเวลาหลายปี[14]

การยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์ พุทธศักราช 2543

[แก้]

สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย รัฐสภาได้เห็นชอบให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2543 เป็นผลให้การกระทำเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ไม่เป็นความผิดในประเทศไทยอีกต่อไป และหน่วยงานภาครัฐไม่ต้องมีคณะกรรมการเฝ้าระวังและหมดอำนาจพิเศษในการจับกุมปราบปรามผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์[15]

สรุปความผิดและบทลงโทษตามกฎหมายคอมมิวนิสต์

[แก้]
ข้อหา โทษจำคุก โทษปรับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
(ก) เลิกล้มการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(ข) เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศ อันทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของเอกชนตกเป็นของรัฐโดยมิได้ชดใช้ค่าตอบแทนอันเป็นธรรม

มีบทบังคับอื่นๆ ครอบคลุมถึงการควบคุมผู้ต้องหาไว้เป็นเวลานานโดยไม่ส่งฟ้อง การชันสูตรพลิกศพผู้ต้องสงสัยอย่างไม่โปร่งใส และการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน

10 ปีขึ้นไป จนถึงตลอดชีวิต ไม่มี
พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 มาตรา 4

(มีการแก้ไขต่อมาถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522)

พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2505

(มีการแก้ไขต่อมาอีก 3 ฉบับแล้วจึงถูกยกเลิกไปโดยการนำไปรวมกับพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512)

(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2543)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จากลูกชาวนาสู่ผู้อภิวัฒน์ 2475 ผู้นำเสรีไทยแต่สุดท้ายเป็นคนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-02-07. สืบค้นเมื่อ 2002-02-07.
  2. ย้อนรอย ‘เค้าโครงเศรษฐกิจ’ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกที่ไม่ได้ใช้ของปรีดี พนมยงค์ ประชาไท สืบค้นเมื่อ 20–07–2020
  3. พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2489
  4. พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๕ และอื่น ๆ. (ม.ป.ป.). เชียงใหม่: วัฒนาการพิมพ์.
  5. "7 สิงหา วันเสียงปืนแตก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  6. "วันเสียงปืนแตก ยุทธศาสตร์การรบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-23. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  7. ปฏิบัติการก่อนวันเสียงปืนแตกของ พคท.
  8. 7 สิงหา วันมหาประชาหาญ
  9. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.((cite web)): CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Interview with Samak Sundaravej (recovered 8:06 PM 2/22/2008)
  11. Bryce Beemer, Forgetting and Remembering "Hok Tulaa", the October 6 Massacre
  12. ย้อนประวัติพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในการเปิดตัวครั้งแรกหลังสงบนิ่งกว่า 30 ปี บีบีซีไทย สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2018
  13. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-01. สืบค้นเมื่อ 2009-05-01.
  14. Bunbongkarn, Suchit (2004). "The Military and Democracy in Thailand". ใน R.J. May & Viberto Selochan (บ.ก.). The Military and Democracy in Asia and the Pacific. ANU E Press. pp. 52–54. ISBN 1920942017. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  15. พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๕๙๕. พ.ศ. ๒๕๔๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 51 ก 2 มิถุนายน 2543 หน้า 1-2
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?