For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งในประเทศไทยที่ปกครองแบบพิเศษจะประกอบด้วย สภา ผู้ว่าราชการ หรือนายก ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยจะมีอยู่สองเขตการปกครองที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา[1]

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

[แก้]

1. กรุงเทพมหานคร เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 50 เขต มีสำนักงานใหญ่ซึ่งมี 2 แห่ง เรียกว่า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 เสาชิงช้า ถนนดินสอ เขตพระนคร และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง โครงสร้างการบริหารประกอบด้วย[2]

  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บริหารสูงสุดของกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกันตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 มาตรา 13 พ.ศ. 2562 [3]
  • สภากรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

2. เมืองพัทยา เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกแล้วใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แทน โครงสร้างการบริหารประกอบด้วย[4]

  • นายกเมืองพัทยา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีแต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกันตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มาตรา 15 พ.ศ. 2562 [5]
  • สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คนมาจากการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา โดยมีปลัดเมืองพัทยาทำหน้าที่เลขานุการสภาเมืองพัทยา มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ลำดับ

ที่

ชื่อเมือง ชื่อเทศบาล/

องค์กรปกครองท้องถิ่น

ตรา/สัญลักษณ์ จังหวัด เนื้อที่

เฉพาะพื้นดิน (ตร.กม.)

จำนวนประชากร

เมื่อสิ้นปี 2558 (คน)[6]

ความหนาแน่น

(คน/ตร.กม)

วันที่ได้รับการจัดตั้ง
 1  กรุงเทพมหานคร  กรุงเทพมหานคร[# 1] link=https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Seal_of_Bangkok_Metro_Authority.png[ลิงก์เสีย] 1,568.74  5,696,409  3,631.20   14 ธันวาคม พ.ศ. 2515[7]
2  พัทยา  เมืองพัทยา[# 2] link=https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Pattaya-Logo.png[ลิงก์เสีย]  ชลบุรี 53.44  115,840  2,167.66   29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521[8] 

หมายเหตุ

[แก้]
  1. กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดเช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ถือว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตเมืองทำนองเดียวกับเทศบาล กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นฝ่ายบริหาร มีสภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและมีสภาเขตเป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
  2. เมืองพัทยาเป็นเทศบาลพิเศษซึ่งเดิมมีรูปแบบ "สภา-ผู้จัดการนคร" อันแตกต่างจากเทศบาลทั่วไปที่ใช้รูปแบบ "นายกเทศมนตรี-สภา" แต่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้หันมาใช้รูปแบบ "นายกเทศมนตรี-สภา" เหมือนเทศบาลนครแห่งอื่น ๆ แต่ยังเรียกนายกเทศมนตรีว่า "นายกเมืองพัทยา" และสภาว่า "สภาเมืองพัทยา" เหมือนเดิม
กรุงเทพมหานคร

ดูเพิ่ม

[แก้]
เมืองพัทยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  2. กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดเช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ถือว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตเมืองทำนองเดียวกับเทศบาล กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นฝ่ายบริหาร มีสภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและมีสภาเขตเป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
  3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
  6. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2559.
  7. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  8. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (พิเศษ 120): 1–44. 30 ตุลาคม 2521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2017-09-10.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?